สี่มิติของการเติบโตของเศรษฐกิจอย่างยั่งยืน

ครอบครัวที่เข็มแข็งไปได้ดีมีความสุขจะมีลักษณะคล้ายกัน คือ มีความสามารถในการหารายได้ นำมาสู่ความเป็นอยู่ของคนในครอบครัวที่ดีขึ้นต่อเนื่อง ประโยชน์จากรายได้มีการจัดสรรให้สมาชิกในครอบครัวทุกคนมีความเป็นอยู่ที่ดีไม่ขาดเเคลน ภายในครอบครัวก็สมานฉันท์อยู่กันด้วยความรักความเข้าใจช่วยเหลือซึ่งกันและกัน นอกจากนี้ครอบครัวก็พักอาศัยอยู่ในพื่นที่ปลอดภัย ไม่มีมลภาวะ ล้อมรอบด้วยธรรมชาติและอากาศบริสุทธ์ ทําให้ชีวิตน่าอยู่ คนในครอบครัวมีชีวิตที่มีคุณภาพ นี่คือลักษณะของครอบครัวที่เติบโตด้วยความสุขและยั่งยืน

เศรษฐกิจของประเทศก็เช่นกัน เศรษฐกิจที่เติบโตอย่างยั่งยื่นแลุะคนในประเทศมีความสุข มีชีวิตที่มีคุณภาพ ก็ต้องมีลักษณะคล้ายครอบครัวที่ยั่งยืนเช่นกัน คือ มีความสามารถในการหารายได้ มีการแบ่งปันหรือมีการกระจายรายได้ที่ดี ไม่เหลื่อมลํ้ามาก ประชาชนในประเทศมีความสมานฉันท์ไม่แตกแยก และประเทศปลอดจากมลพิษและภัยทางธรรมชาติที่จะทําให้ประเทศไม่น่าอยู่หรืออยู่ไม่ได้ นี่คือสี่มิติของการเติบโตที่ยั่งยืนที่ทุกประเทศแสวงหา เพื่อให้มาตรฐานความเป็นอยู่ของคนในประเทศดีขึ้น ซึ่งก็คือเป้าของการบริหารประเทศและนโยบายเศรษฐกิจ

ดังนั้นถ้าเราอยากเห็นเศรษฐกิจประเทศเรามีการเติบโตที่ต่อเนื่องและยั่งยืน ต้องการเห็นมาตรฐานความเป็นอยู่ของคนในประเทศดีขึ้นและมีคุณภาพ เราก็ต้องทําให้สี่มิตินี้เกิดขึ้นซึ่งสามารถทําได้ เพียงแต่นโยบายเศรษฐกิจต้องให้ความสําคัญกับมิติเหล่านี้อย่างจริงจัง เข้าใจความท้าทายและข้อจํากัดที่มีในบริบทของสังคมไทย และร่วมกันผลักดันเพื่อให้ทั้งสี่มิตินี้เกิดขึ้น นี่คือประเด็นที่จะเขียนวันนี้

ในมิติความสามารถในการหารายได้ ในระดับประเทศ สิ่งที่สําคัญสุดคือความสามารถในการเเข่งขัน ที่ประเทศสามารถผลิตสินค้าต่างๆได้อย่างมีคุณภาพ เป็นที่ต้องการของคนในประเทศและตลาดโลก และสามารถพัฒนาคุณภาพสินค้าให้ดีต่อเนื่องเพื่อสร้างรายได้ให้กับประเทศ ซึ่งปัจจัยตัดสินสําคัญคือคุณภาพของคนในประเทศ และระบบที่จะต่อยอดคุณภาพของคนไปสู่นวัตกรรมและการใช้เทคโนโลยี่ที่จะสร้างและเพิ่มความสามารถในการแข่งขันให้กับประเทศ

ในแง่นโยบาย ทั้งหมดนี้หมายถึง ประเทศมีระบบการศึกษาที่มีคุณภาพ มีภาวะแวดล้อมทางธุรกิจที่เอื้อและสร้างแรงจูงใจให้เกิดการสร้างสรรที่ต่อยอดความรู้จากการศึกษาไปสู่การพัฒนาทักษะแรงงานสมัยใหม่ให้กับภาคการผลิต ต่อยอดไปสู่การวิจัยและนวัตกรรมที่จะเพิ่มความสามารถในการผลิตและการแข่งขันให้กับประเทศ สําหรับประเทศเรา สิ่งที่ต้องตระหนักคือ ความสามารถในการแข่งขันของประเทศได้ลดลงต่อเนื่อง แม้ประเทศมีศักยภาพที่จะทําให้ความสามารถในการแข่งขันสูงขึ้นก็ตาม นี่คือความท้าทาย

มิติที่สองคือการกระจายรายได้ เศรษฐกิจแม้มีความสามารถในการหารายได้แต่จะเติบโตอย่างยั่งยืนไม่ได้ ถ้าความเหลื่อมลํ้าในประเทศมีมาก เพราะความเหลื่อมลํ้าจะสร้างแรงเสียดทานให้สังคมมีความเสี่ยง ที่ผ่านมาแนวคิดทางเศรษฐศาสตร์เชื่อว่า การกระจายรายได้จะดีขึ้นพร้อมการเติบโตของเศรษฐกิจ เพราะกลไกการแข่งขันในระบบเศรษฐกิจจะให้โอกาสคนในประเทศได้ประโยชน์จากการเติบโต ทำให้ชนชั้นกลางในประเทศขยายตัวและความยากจนลดลง นอกจากนี้ระบบภาษีในอัตราก้าวหน้าก็จะช่วยลดความเหลื่อมลํ้า แต่ข้อเท็จจริงคือ ความเหลื่อมลํ้าแย่ลงพร้อมการเติบโตของเศรษฐกิจ ซึ่งประเทศเรามีความเหลื่อมลํ้าเป็นอันดับต้นๆของโลก แสดงว่ากลไกการแข่งขันที่พูดถึงไม่ทํางาน ขณะที่การกระจายรายได้ก็ถูกทําให้แย่ลงมากขึ้นจากการใช้อํานาจที่ไม่ถูกต้อง เช่นการทุจริตคอร์รับชั่น

การลดความเหลื่อมลํ้าจึงสําคัญต่อความยั่งยืนของเศรษฐกิจ ล่าสุดจีนก็ให้ความสําคัญเรื่องนี้โดยมุ่งลดพฤติกรรมฟุ้งเฟื้อของคนรํ่ารวยเพื่อลดแรงเสียดทานในสังคม กรณีของเราก็ต้องลดความเหลื่อมลํ้าเช่นกันโดยมาตรการที่จะทําให้การสร้างโอกาสที่มากับการเติบโตของเศรษฐกิจเกิดขึ้นจริงจัง คือ เศรษฐกิจมีการแข่งขัน กลไกตลาดมีความเสรีไม่ถูกแทรกแซงโดยภาครัฐ ประชาชนมีโอกาสเข้าถึงการศึกษาที่มีคุณภาพ งานที่ดี บริการสาธารณสุข เข้าถึงสินเชื่อ และระบบยุติธรรมที่เท่าเทียม สิ่งเหล่านี้สําคัญต่อการสร้างโอกาสทางเศรษฐกิจ และที่ต้องทํามากขึ้นคือระบบภาษี ให้ภาษีมีบทบาทที่จะช่วยลดความเหลื่อมลํ้าได้จริงจัง

มิติที่สามคือความสมานฉันท์ในสังคม เพราะเศรษฐกิจจะเติบโตอย่างยั่งยืนไม่ได้ในสังคมที่แตกแยกวุ่นวายและมีความไม่แน่นอนสูง ซึ่งสาเหตุสําคัญของความไม่สมานฉันท์ก็คือความเหลื่อมลํ้าที่มีมาก ไม่เฉพาะในรายได้ แต่ในโอกาสและในการได้รับการคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพตามกฏหมายในฐานะประชาชน ในทางเศรษฐศาสตร์ ความเหลื่อมลํ้าที่มีมากนําไปสู่แรงเสียดทานและความไม่ไว้วางใจระหว่างคนในสังคม เกิดเป็นความเปราะบางและความไม่แน่นอน กระทบความเชื่อมั่นการลงทุนและการเติบโตของเศรษฐกิจ และถ้าเศรษฐกิจไม่โต การจ้างงานมีน้อย ความเหลื่อมลํ้าก็จะยิ่งมากขึ้น

ปฏิเสธไม่ได้ว่า ความสมานฉันท์ขณะนี้เป็นความท้าทายสําคัญของบ้านเรา ซึ่งต้องแก้ทั้งในประเด็นการทําให้การกระจายรายได้ดีขึ้นเพื่อลดความเหลื่อมลํ้า แก้เรื่องธรรมาภิบาลทั้งในภาครัฐและเอกชนเพื่อลดการใช้อํานาจที่ไม่เป็นธรรม และสนับสนุนให้มีการแลกเปลี่ยนความเห็นมากขึ้นระหว่างคนต่างรุ่นเพื่อให้เกิดการพูดคุยหารือด้วยเหตุและผล ในเรื่องนี้อยากให้ตระหนักว่าความแตกต่างของความคิดระหว่างคนต่างวัยนั้นเป็นปัญหาทั่วโลก ความท้าทายในแต่ละสังคมคือทําอย่างไรที่จะใช้ความแตกต่างนี้ให้เป็นประโยชน์ต่ออนาคตและความยั่งยืนของประเทศ

มิติที่สี่คือ ความยั่งยืนในแง่ผลกระทบที่การเปลี่ยนแปลงทางธรรมชาติจะมีผลรุนแรงต่อความคงอยู่ของเศรษฐกิจและชีวิตของคนในประเทศ ลองนึกภาพถ้าประเทศไทยอากาศร้อนมากเหมือนอยู่กลางทะเลทรายทุกวัน ไม่มีนํ้าใช้ ปลูกอะไรไม่ได้ อะไรจะเกิดขึ้นกับเศรษฐกิจและชีวิตความเป็นอยู่ของคนทั้งประเทศ นี่คือความสําคัญของปัญหาโลกร้อนที่ล่าสุดประเมินกันว่า ถ้าไม่ทําอะไร ถ้าทั่วโลกยังใช้ทรัพยากรธรรมชาติอย่างสิ้นเปลือง อุณหภูมิเฉลี่ยทั่วโลกจะเพิ่มขึ้นในระดับที่จะเป็นภัยต่อมนุษย์ชาติในอีกยี่สิบปีข้างหน้า ซึ่งไม่นานเลย ทําให้ภาวะโลกร้อนเป็นความเป็นความตายที่คนทั้งโลกต้องเร่งแก้ไข

ในเรื่องนี้ สิ่งที่ประเทศเราทําได้คือการเป็นส่วนร่วมที่จะแก้ไขปัญหาโลกร้อนอย่างจริงจัง แก้ไขโดยทําในบ้านเราให้เห็น คือเปลี่ยนพฤติกรรมในชีวิตประจําวันที่จะมีผลต่อภาวะโลกร้อนโดยเฉพาะการใช้พลังงาน ทําทั้งในภาคราชการ ภาคธุรกิจ และประชาชน ทําทุกรูปแบบเช่น ไม่ตัดไม้ทําลายป่า งดใช้พลาสติก แยกขยะ ประหยัดนํ้า ลดการใช้นํ้ามัน ทั้งหมดก็เพื่อเปลี่ยนประเทศไปสู่เศรษฐกิจที่ใช้คาร์บอนตํ่า ซึ่งสําคัญและจะมีความหมายมากต่อความยั่งยืนของเศรษฐกิจและประเทศในระยะยาว

นี่คือสี่มิติที่เป็นงานที่ต้องทําเพื่อการเติบโตของเศรษฐกิจที่ยั่งยืน เป็นหน้าที่ของประชาชนที่ต้องผลักดัน เป็นหน้าที่ของรัฐที่ต้องคิดและทําจริงจัง

ดร.บัณฑิต นิจถาวร
กลุ่มนโนยายสาธารณะเพื่อสังคมและธรรมาภิบาล
คอลัมน์เวทีพิจารณ์นโยบายสาธารณะ

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

'ต่อตระกูล' วิเคราะห์แนวโน้มเศรษฐกิจไทย เทียบประเทศอื่นในเอเชีย ในอีก 10 ปีข้างหน้า

นายต่อตระกูล ยมนาค อดีตนายกสมาคมวิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ โพสต์เฟซบุ๊กเผยแพร่บทความเรื่อง "เศรษฐกิจไทย วันนี้ตกต่ำจริง แล้วยังมีอนาคตอยู่ไหม?

โฆษกรัฐบาล ขอบคุณ 'ผู้ว่าแบงก์ชาติ' ยอมรับเศรษฐกิจไทยฟื้นตัวช้า

นายชัย วัชรงค์ โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า ต่อการให้สัมภาษณ์ของนายเศรษฐพุฒิ สุทธิวาทนฤพุฒิ ผู้ว่าธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ให้สัมภาษณ์แก่สื่อมวลชนนั้น รัฐบาลต้องขอบคุณมากที่ ผู้ว่าฯธปท.

นักวิชาการเตือนเปิดเสรีให้ต่างชาติเช่าที่ดิน 99 ปี ต้องรอบคอบ อาจส่งผลเสีย

เปิดเสรีให้ต่างชาติเช่าที่ดิน 99 ปี ถือครองคอนโดได้ 75% ต้องรอบคอบ ประเมินผลกระทบกรณี EEC ให้ต่างชาติเช่า 99 ปีมาศึกษาดู ต้องทำความเข้าใจ การบริหารจัดการนโยบายที่ดินและอสังหาริมทรัพย์ในบริบททุนข้ามชาติโลกาภิวัตน์ให้ลึกซื้ง

'กุนซือนายกฯ' เขย่า 'แบงก์ชาติ' หัดร่วมมือรัฐบาลแก้เศรษฐกิจ

'พิชัย' ลั่นเตือนแล้วเศรษฐกิจไทยไตรมาสแรกย่ำแย่ ชี้นโยบายการเงินไม่สนับสนุน ขณะที่งบประมาณยังใช้ไม่ได้ จี้ 'แบงก์ชาติ' หนุนแก้เศรษฐกิจเหมือนธนาคารกลางประเทศอื่น

ไม่ไหวแล้ว 'เศรษฐา' จ่อเรียกประชุม ครม.เศรษฐกิจ นัดพิเศษ หลังรู้จีดีพีไทยโตต่ำสุดในอาเซียน

“เศรษฐา” เรียกประชุม ครม.เศรษฐกิจ นัดพิเศษ 27 พ.ค.นี้ หลังจีดีพีไทยไตรมาสแรกโตต่ำสุดในอาเซียน