1 ธ.ค. 2565 – กนง. มีมติเป็นเอกฉันท์ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ร้อยละ 0.25 ต่อปี จากร้อยละ 1.00 ต่อปี เป็นร้อยละ 1.25 ต่อปี
กนง. มีมติเป็นเอกฉันท์ในการประชุมครั้งที่ 6/2565 (ครั้งสุดท้ายของปี)ให้ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายร้อยละ 0.25 ต่อปี สู่ระดับร้อยละ 1.25 ต่อปีโดยปรับอัตราดอกเบี้ยขึ้นต่อเนื่องเป็นครั้งที่ 3 (รวมทั้งสิ้น 75 bps ในปีนี้)
ซึ่งมีสาระสำคัญดังนี้
เศรษฐกิจไทยมีแนวโน้มฟื้นตัวต่อเนื่องจากภาคการท่องเที่ยวและการบริโภคภาคเอกชนที่เป็นแรงส่งสำคัญ โดยภาคการท่องเที่ยวฟื้นตัวชัดเจนตามจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติที่เพิ่มขึ้นต่อเนื่อง
และการบริโภคภาคเอกชนซึ่งปรับดีขึ้นจากปัจจัยสนับสนุนด้านกิจกรรมทางเศรษฐกิจ การจ้างงานและรายได้แรงงานที่สูงขึ้นและกระจายทั่วถึงมากขึ้น
แม้ว่าเศรษฐกิจโลกที่มีแนวโน้มชะลอตัวส่งผลกระทบต่อภาคการส่งออกให้ขยายตัวชะลอลง แต่เศรษฐกิจโดยรวมยังฟื้นตัวได้ใกล้เคียงเดิม ทั้งนี้ กนง.ได้ปรับลดประมาณการเศรษฐกิจในปี 2565 และ ปี 2566 เป็นร้อยละ 3.2(จากร้อยละ 3.3) และ ร้อยละ 3.7 (จากร้อยละ 3.8) ตามลำดับขณะที่คาดการณ์เศรษฐกิจปี 2567 ขยายตัวที่ร้อยละ 3.9
อัตราเงินเฟ้อทั่วไปในปี 2566 มีแนวโน้มสูงกว่าประมาณการเดิม คาดว่าอัตราเงินเฟ้อทั่วไปปี 2565 2566 และ 2567 จะอยู่ที่ร้อยละ 6.3 3.0 และ 2.1 ตามลำดับ ทั้งนี้อัตราเงินเฟ้อทั่วไปปี 2566คาดว่าสูงกว่าประมาณการเดิมที่ร้อยละ 2.6 จากการปรับเพิ่มขึ้นค่าไฟฟ้าเป็นสำคัญ ขณะที่อัตราเฟ้อพื้นฐานมีแนวโน้มทยอยลดลงต่อเนื่องโดยในปี 2565 2566 และ 2567 อยู่ที่ร้อยละ 2.6 2.5 และ 2.0 ตามลำดับ
ส่วนอัตราเงินเฟ้อคาดการณ์ในระยะปานกลางยังยึดเหนี่ยวอยู่ในกรอบเป้าหมาย
มาตรการปรับโครงสร้างหนี้ควรดำเนินการอย่างต่อเนื่องรวมทั้งเห็นความสำคัญของการมีมาตรการเฉพาะจุดและแนวทางแก้ปัญหาหนี้อย่างยั่งยืนสำหรับกลุ่มเปราะบาง โดยฐานะการเงินของผู้ประกอบการ SMEs และครัวเรือนบางส่วนยังเปราะบางจากรายได้ที่ฟื้นตัวไม่เต็มที่ซึ่งอาจได้รับผลกระทบจากค่าครองชีพและภาระหนี้ที่สูงขึ้น
ขณะที่ธนาคารพาณิชย์มีระดับเงินกองทุนและเงินสำรองที่เข้มแข็ง
ภาวะการเงินโดยรวมยังผ่อนคลาย ต้นทุนการกู้ยืมของภาคเอกชนทยอยปรับสูงขึ้นสอดคล้องกับอัตราดอกเบี้ยนโยบาย แต่โดยรวมยังเอื้อต่อการระดมทุนปริมาณสินเชื่อและการระดมทุนในตลาดตราสารหนี้ยังขยายตัว
ขณะที่อัตราแลกเปลี่ยนเงินบาทเทียบ ดอลลาร์ สรอ.เคลื่อนไหวผันผวนสูงจากการดำเนินนโยบายการเงินของประเทศเศรษฐกิจหลักเป็นสำคัญ ทั้งนี้ กนง.ประเมินว่ายังต้องติดตามพัฒนาการในตลาดการเงินและความผันผวนในอัตราแลกเปลี่ยนอย่างใกล้ชิด
Krungthai COMPASS คาดว่า กนง. จะปรับขึ้นดอกเบี้ยต่อเนื่องในช่วงครึ่งแรกของปี 2566 จากอัตราเงินเฟ้อทั่วไปปี 2566 ที่ปรับเพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 3.0 แตะระดับขอบบนของกรอบเป้าหมาย โดยในช่วงครึ่งแรกของปี 2566 อัตราเงินเฟ้อมีแนวโน้มสูงกว่ากรอบเป้าหมาย จึงเป็นปัจจัยสำคัญที่ กนง. อาจพิจารณาทยอยปรับขึ้นดอกเบี้ยอย่างค่อยเป็นค่อยไป และคาดว่าอัตราดอกเบี้ยนโยบายอาจขึ้นไปแตะระดับ 2.00% ในปี 2566
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
ข่าวดี กรุงไทย ประกาศลดดอกเบี้ยเงินกู้สูงสุด 0.25%
ธนาคารกรุงไทย ขานรับมาตรการภาครัฐ ประกาศลดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ MOR MLR และ MRR พร้อมต่ออายุมาตรการช่วยเหลือกลุ่มเปราะบาง
เกษตรกรเฮ! ธ.ก.ส. ปรับลดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ สูงสุด 0.25%
ธ.ก.ส. ปรับลดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ สูงสุดร้อยละ 0.25 พร้อมตรึงอัตราดอกเบี้ยเงินฝาก ส่งเสริมวินัยการออม
SCB EIC คาด กนง. จะเริ่มลดดอกเบี้ยในไตรมาส 4
กนง. มีมติไม่เป็นเอกฉันท์ 6 ต่อ 1 เสียงให้คงอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ 2.50% โดย 1 เสียง เห็นควรให้ลดอัตราดอกเบี้ย 0.25% เช่นเดียวกับการประชุมครั้งที่แล้ว โดยเศรษฐกิจไทยในภาพรวมขยายตัวสอดคล้องกับที่ กนง. ประเมินไว้
เศรษฐกิจจีน ส่งผลดึงมูลค่าส่งออกเดือนมิถุนายนหดตัวในรอบ 3 เดือน
มูลค่าส่งออกเดือน มิ.ย. อยู่ที่ 24,796.6 ล้านดอลลาร์ฯ หดตัวเล็กน้อย 0.3%YoY กลับมาติดลบอีกครั้งในรอบ 3 เดือน จากการส่งออกสินค้าเกษตรและอุตสาหกรรมเกษตรที่หดตัว ส่วนหนึ่งเป็นผลสืบเนื่องจากการส่งออกที่เร่งตัวเมื่อเดือน พ.ค.
กรุงไทยขยับลดดอกเบี้ยเงินกู้ 0.25% ช่วยลูกค้าเปราะบาง 3 แสนบัญชี
“กรุงไทย” ขานรับมาตรการภาครัฐ ปรับลดดอกเบี้ยเงินกู้ MRR MLR และ MOR 0.25% ให้ลูกค้ากลุ่มเปราะบาง ทั้งลูกค้าบุคคล และ SME รายย่อย ลดภาระทางการเงิน เป็นเวลา 6 เดือน มีผลตั้งแต่วันที่ 16 พ.ค.-15 พ.ย.67 ให้กับลูกค้ากลุ่มเปราะบางกว่า 3 แสนบัญชี วงเงินสินเชื่อรวมกว่า 2 แสนล้านบาท ให้มีโอกาสปรับตัวและฟื้นตัว