กพช. เคาะแนวนโยบายการบริหารจัดการก๊าซธรรมชาติ ฝ่าวิกฤตราคาพลังงานในช่วงม.ค.-เม.ย. 66 นายกฯ ย้ำดูแลประชาชนให้เดือดร้อนน้อยที่สุด
25 พ.ย.2565- เวลา 10.30 น. ที่ตึกภักดีบดินทร์ ทำเนียบรัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกะทรวงกลาโหม เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ (กพช.) ครั้งที่ 8/2565 ร่วมกับนายสุพัฒนพงษ์ พันธ์มีเชาว์ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง และผู้ที่เกี่ยวข้อง เพื่อพิจารณาแนวทางเพื่อลดภาระค่าไฟฟ้าในช่วงวิกฤติราคาพลังงาน
นายอนุชา บูรพชัยศรี รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรี ปฏิบัติหน้าที่โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยภายหลังการประชุมว่า ในที่ประชุมนายกรัฐมนตรีกล่าวมอบนโยบายว่า ทุกคนทราบดีว่าทุกวันนี้มีปัญหาเรื่องพลังงานในทุกมิติ และจากการติดตามสถานการณ์โลกทั้งภายนอกและภายใน สถานการณ์พลังงานจะอยู่กับเราไปอีกนานพอสมควร ทำให้ต้องเตรียมมาตรการที่เหมาะสมในการดูแลพี่น้องประชาชนไทย ในหลาย ๆ กิจกรรม ต้องพยายามให้มีการปรับเปลี่ยนในช่วงสถานการณ์วิกฤตขณะนี้ และขอขอบคุณคณะกรรมการทุกคนที่ช่วยกันแก้ไขปัญหามาโดยตลอดอย่างต่อเนื่อง หลายอย่างยังติดขัดในเรื่องเดิม ๆ อยู่ ก็ต้องขอให้ช่วยกัน เพราะปัญหาทุกอย่างเกี่ยวพันกัน ประชาชนเกิดความเดือดร้อนเรื่องไฟฟ้า ดังนั้น จึงขอร้องหน่วยงานที่เกี่ยวข้องด้านพลังงานตั้งแต่ต้นทางจนถึงปลายทางให้ความร่วมมือกันด้วย
นายอนุชา กล่าวว่า จากสถานการณ์ความขัดแย้งทางการเมืองระหว่างสหพันธรัฐรัสเซียและประเทศยูเครนที่ยังไม่มีข้อยุติส่งผลให้ราคาพลังงานโลกมีความผันผวนและมีแนวโน้มปรับตัวสูงขึ้นอย่างรุนแรง ราคา LNG (JKM) ปรับเพิ่มขึ้นจากต้นปี 2564 ที่ 10 $/MMBTU เป็น 30 $/MMBTU ในเดือน ต.ค. 65 การประมาณการณ์แนวโน้มราคา LNG ในปี 2566 – 2567 อยู่ที่ 25 - 33 i$/MMBTU ซึ่งกำลังการผลิตก๊าซฯ จากแหล่งอ่าวไทยลดลงจึงจำเป็นต้องนำเข้า Spot LNG ที่มีราคาสูงเข้ามาทดแทนเป็นจำนวนมาก ส่งผลกระทบต่อต้นทุนเชื้อเพลิงสำหรับผลิตไฟฟ้าของประเทศสูงขึ้นตามไปด้วย ดังนั้น เพื่อเป็นการช่วยเหลือประชาชนในช่วงวิกฤติพลังงานดังกล่าว ในวันนี้ที่ประชุม กพช. จึงได้มีการพิจารณาแนวทางเพื่อลดภาระค่าไฟฟ้าในช่วงวิกฤติราคาพลังงาน โดยมุ่งเน้นในส่วนของการบริหารจัดการก๊าซธรรมชาติซึ่งเป็นเชื้อเพลิงหลักที่ใช้ในการผลิตไฟฟ้า ซึ่งที่ประชุมมีมติเห็นชอบแนวนโยบายการบริหารจัดการก๊าซฯ เพื่อลดภาระค่าไฟฟ้าในช่วงวิกฤตราคาพลังงาน (ตั้งแต่ ม.ค. – เม.ย. 66) ดังนี้
1. การบริหารก๊าซธรรมชาติเพื่อการผลิตไฟฟ้า โดยจัดสรรก๊าซฯ จากอ่าวไทยหลังโรงแยกก๊าซฯ เพื่อใช้ในการผลิตไฟฟ้าสำหรับผู้ใช้ไฟฟ้าประเภทบ้านอยู่อาศัยก่อน ในปริมาณที่ไม่เพิ่มภาระอัตราค่าไฟฟ้าจากปัจจุบัน โดยมอบหมายให้คณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (กกพ.) ไปคำนวณอัตราค่าไฟฟ้าตามสูตรการปรับอัตราค่า Ft สำหรับผู้ใช้ไฟฟ้าประเภทบ้านอยู่อาศัย และมอบหมายให้ กกพ. เร่งศึกษาการจัดทำอัตราค่าไฟฟ้ากลุ่มประเภทบ้านอยู่อาศัยที่มีการใช้ไฟฟ้ามากกว่า 500 หน่วยต่อเดือนขึ้นไป เพื่อส่งเสริมการประหยัดพลังงาน
2. กพช.ได้ขอความร่วมมือจาก ปตท. ให้พิจารณาจัดสรรรายได้จากการดำเนินธุรกิจโรงแยกก๊าซฯ ประมาณ 1,500 ล้านบาทต่อเดือน ระยะเวลา 4 เดือน (ตั้งแต่ ม.ค. – เม.ย. 66) มาช่วยสนับสนุนในรูปแบบที่เหมาะสมเพื่อลดต้นทุนค่าไฟฟ้า โดยแบ่งการจัดสรร ดังนี้ ส่วนที่ 1 เป็นส่วนลดราคาค่าก๊าซฯ ให้กับ กฟผ. เพื่อสนับสนุนการให้ความช่วยเหลือลดค่าไฟฟ้าแก่กลุ่มเปราะบางที่ใช้ไฟฟ้าต่ำกว่า 500 หน่วยต่อเดือน โดยมอบหมายให้ กกพ. กำกับดูแลการดำเนินการต่อไป ส่วนที่ 2 เป็นส่วนลดราคาก๊าซฯ สำหรับโรงแยกก๊าซฯ ในการคำนวณต้นทุนก๊าซปิโตรเลียมเหลว (LPG) เพื่อเป็นเชื้อเพลิง
และ 3. กพช. มีมติเห็นชอบให้ ปตท. ร่วมกับ กฟผ. บริหารจัดการผลกระทบของราคาก๊าซธรรมชาติต่อค่าไฟฟ้า โดยให้ ปตท. คิดราคาก๊าซฯ สำหรับโรงไฟฟ้าของ กฟผ. IPP และ SPP ในระดับราคาเดียวกับที่ใช้การประมาณการค่าไฟฟ้าตามสูตรการปรับอัตราค่าไฟฟ้าโดยอัตโนมัติ (Ft) ตั้งแต่เดือนที่ กพช. มีมติเป็นต้นไป
นายอนุชา กล่าวอีกว่า นอกจากนี้ที่ประชุม กพช. มีมติเห็นชอบการดำเนินการตามมาตรการการตอบสนองด้านโหลด (Demand Response) ในกลุ่มผู้ใช้ไฟฟ้าประเภทอื่น โดยเฉพาะภาคอุตสาหกรรมเพื่อลดการใช้ก๊าซฯ โดยกำหนดให้ผลตอบแทนจากการดำเนินมาตรการ Demand Response เป็นส่วนหนึ่งของค่า Ft และมอบหมายให้ กกพ. เร่งดำเนินการตามอำนาจหน้าที่เพื่อให้สามารถลดต้นทุนค่าไฟฟ้าในภาพรวมต่อไป อีกทั้งที่ประชุม กพช. ได้มติมอบหมายให้ กบง. พิจารณาดำเนินการและกำกับดูแลแนวทางการบริหารจัดการก๊าซฯ เพื่อลดภาระค่าไฟฟ้าในช่วงวิกฤติราคาพลังงานต่อไป
นายอนุชา กล่าวว่า ในตอนท้ายนายกรัฐมนตรีย้ำว่า รัฐบาลมุ่งหวังดูแลกลุ่มเปราะบางและประชาชนให้เดือดร้อนน้อยที่สุด โดยคำนึงถึงภาคอุตสาหกรรมและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องด้วย พร้อมขอบคุณคณะกรรมการฯ ภาครัฐ และภาคเอกชน ที่ช่วยกันทำให้ประเทศอยู่รอดในสถานการณ์วิกฤติด้านพลังงาน
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
'พีระพันธุ์' ยัน รทสช.หนุนแคนดิเดตจากเพื่อไทยแต่ต้องไม่มีเรื่อง 112
'รทสช.' ยันจุดยืนหนุนแคนดิเดตเพื่อไทยเป็นนายกฯต่อ แต่ต้องไม่แก้ ม.112 ยังไม่เคาะชื่อ 'ชัยเกษม นิติสิริ' หลังถามเรื่องสุขภาพ ลั่นไม่มีข้อตกลงบ้านจันทร์ส่องหล้า ด้านนโยบายเงินหมื่นรอ 'พท.' ชี้แจง
พ่อพระเอก!พิธาเมินภาพ'ประยุทธ์-ทักษิณ' บอกสนใจแต่ประชาชน
'พิธา' ปัดแสดงความเห็นภาพ 'ทักษิณ-บิ๊กตู่' บอกไม่รู้ที่มาที่ไปเป็นอย่างไร เผยสนใจ ปชช.อันดับ 1
ประมวลภาพ 'พล.อ.ประยุทธ์-ทักษิณ' ร่วมงานพระราชทานเพลิงศพมารดาเศรษฐา
บรรยากาศงานพระราชทานเพลิงศพนางชดช้อย ทวีสิน มารดาของนายกรัฐมนตรี นายทักษิณได้เดินไปทักทาย พล.อ.ประยุทธ์ ทำให้ทั้งคู่ได้ยกมือไหว้ทักทาย และพูดคุยกันเล็กน้อย
'เนติบริกร' โชว์กึ๋นมือกฎหมายบอกคดี 40 สว.มีช่องสู้
นายวิษณุ เครืองาม อดีตรองนายกรัฐมนตรี
'ธนกร' ยัน รทสช.แน่นปึ๊ก คนนั่งเก้าอี้ รมต.แทน 'กฤษฎา' ขึ้นอยู่กับ กก.บห.
'ธนกร' ยัน รทสช.แน่นปึ๊ก เดินหน้าทำงานเต็มที่ทั้งสภาและรัฐบาล เผย พรรคเตรียมจัดสัมมนาสส.12 พ.ค.นี้ มั่นใจ สมาชิกทุกคนรู้หน้าที่ ยึดประโยชน์ ประเทศชาติและปชช.เป็นหลัก ชี้คนนั่งเก้าอี้ รมต.แทน 'กฤษฎา' ขึ้นอยู่กับ กก.บห.พิจารณา
'อุ๊งอิ๊ง' ดูไว้! นักการเมืองต้องรักษาสัจจะเหมือน 'อภิสิทธิ์' เคยหาเสียงไม่เอา พล.อ.ประยุทธ์
เมื่อน.ส.แพทองธาร ชินวัตร กล่าวในงานอีเวนต์ ”10 เดือนที่ไม่รอ ทำต่อให้เต็ม 10“ ว่า พรรคเพื่อไทยตัดสินใจถูกตั้งรัฐบาลผสม