ผู้ส่งออกข้าวไทย เผย หอมมะลิไทย เสียท่าในการประกวดข้าวล่าสุด หลังเจอข้าว ผกาลำดวน ของกัมพูชา ปาดหน้าคว้าแชมป์ แนะรัฐปรับปรุงพันธุ์ข้าวให้ดีขึ้นก่อนเพื่อนบ้านแซงหน้า
22 พ.ย. 2565 – นายชูเกียรติ โอภาสวงศ์ นายกกิตติมศักดิ์ สมาคมผู้ส่งออกข้าวไทย เปิดเผยถึงผลการประกวดข้าวที่ดีที่สุดในโลก ปี 65 (The World’s Best Rice 2022) ในระหว่างการประชุมข้าวโลก ที่จังหวัดภูเก็ต เมื่อวันที่ 17 พ.ย.65 ว่า ข้าวหอมมะลิผกาลำดวน จากกัมพูชา สามารถคว้ารางวัลข้าวที่ดีที่สุดในโลกไปครอง ทำให้กัมพูชาครองแชมป์เป็นครั้งที่ 5 ส่วนข้าวหอมมะลิไทย เสียแชมป์ ได้เป็นอันดับ 2 อันดับ 3 คือ ข้าวหอมจากเวียดนาม และอันดับ 4 ข้าวหอมจากลาว โดยปีนี้ สมาคมผู้ส่งออกข้าวไทย ส่งข้าวหอมมะลิจากภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เข้าประกวดเพียง 1 ตัวอย่าง จากทั้งหมดกว่า 20 ตัวอย่างจากผู้เข้าประกวดทั้งไทย เวียดนาม กัมพูชา เมียนมา ลาว อินเดีย ปากีสถาน จีน และสหรัฐฯ
“ข้าวไทย และกัมพูชา เข้ารอบสุดท้ายเพียง 2 ชาติ แต่น่าเสียดายว่า ข้าวหอมมะลิไทย แพ้ข้าวหอมผกาลำดวน กัมพูชา เป็นการแพ้แบบสูสีมาก ห่างกันเพียง 1 คะแนน จากการสอบถามกรรมการตัดสิน ซึ่งเป็นเชฟใหญ่จากสหรัฐฯ บอกว่า แพ้กันที่กลิ่น หลังการหุงแล้ว ข้าวผกาลำดวน กลิ่นหอมมาก แต่ข้าวหอมมะลิไทย กลิ่นอ่อนมาก”
ทั้งนี้ น่าแปลกใจว่า ปีนี้ ข้าวหอมมะลิไทย กลิ่นไม่หอมเหมือนปกติ หลายคนพูดเป็นเสียงเดียวกัน อาจจะเพราะน้ำมาก ฝนตกชุก ทำให้ข้าวไม่ได้สร้างกลิ่นที่แรงเหมือนปีก่อนที่ข้าวหอมมะลิไทย ชนะเลิศ เพราะมีกลิ่นหอมมาก แต่ไม่เป็นไร ปีหน้า สมาคมจะคัดสรรข้าวหอมมะลิที่ดีที่สุดส่งเข้าประกวดอีก
นายชูเกียรติ กล่าวว่า การเสียแชมป์ครั้งนี้ เป็นสัญญาณเตือนว่า ไทยควรปรับปรุงพันธุ์ข้าวเก่าให้ดีขึ้น โดยเฉพาะเพิ่มผลผลิตต่อไรให้มากขึ้น ลดการใช้สารเคมีและปุ๋ยเคมี ไม่เช่นนั้น ไทยจะไม่สามารถแข่งขันกับข้าวหอมของเพื่อนบ้านได้แน่นอน เพราะในช่วงหลายปีมานี้ เพื่อนบ้าน ทั้งเวียดนาม เมียนมา กัมพูชา ลาว พัฒนาพันธ์ุข้าวหอม ให้มีคุณภาพดีขึ้นมาก และสามารถแข่งขันกับข้าวหอมมะลิของไทยได้แล้ว โดยเฉพาะในตลาดสหภาพยุโรป (อียู) ที่ประเทศเพื่อนบ้านไม่ต้องเสียภาษีนำเข้า แต่ข้าวไทยต้องเสียภาษี
“คาดว่า ฤดูการผลิตปี 65/66 ข้าวหอมมะลิไทย และข้าวหอมผกาลำดวน จะแข่งขันกันอย่างรุนแรงในด้านส่งออกแน่นอน เพราะผลผลิตเพิ่มขึ้นมากเหมือนกัน และราคาอาจจะลดลง ล่าสุด ข้าวหอมมะลิไทย ราคาส่งออกตันละ 750 เหรียญสหรัฐฯ ส่วนผกาลำดวน ตันละ 720 เหรียญฯ แต่เมื่อได้รางวัล ราคาคงขยับขึ้นอีก”
ขณะเดียวกัน ภาครัฐต้องเร่งพัฒนาพันธุ์ข้าวใหม่ๆ โดยเฉพาะข้าวขาวพื้นนุ่ม ที่มีความนุ่มมากกว่าข้าวขาวทั่วไป เพื่อป้อนตลาดที่นิยมบริโภคข้าวนุ่มจากเวียดนามมากขึ้น ทั้งฟิลิปปินส์ มาเลเซีย จีน ซึ่งสมาคมผู้ส่งออกข้าวไทย พยายามผลักดันให้รัฐหันมาสนใจพัฒนาพันธุ์ข้าวให้มากขึ้น
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ในการประกวดข้าวที่ดีที่สุดในโลก ข้าวหอมมะลิไทย เป็นแชมป์ถึง 7 ครั้ง
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
'เศรษฐา' สั่งพัฒนาแหล่งน้ำทุ่งกุลา ดันข้าวหอมมะลิตีตลาดโลก
นายกฯ รับฟังสถานการณ์น้ำ-แผนพัฒนาทุ่งกุลาฯ สั่ง“กรมชลฯ” ผลักดันศักยภาพทุ่งกุลาฯ หาแหล่งน้ำ -พัฒนาข้าวหอมมะลิไทย หวังตีตลาดโลก เพิ่มมูลค่าสินค้า-สร้างรายได้เกษตรกร
รัฐบาลตีปี๊บ ประกวด 'ข้าวหอมมะลิไทย' ช่วยยกคุณภาพชีวิตเกษตรกร
รัฐบาลหนุนเกษตรกรและโรงสี จัดประกวดข้าวหอมมะลิไทยปี 2566 เฟ้นหาและอนุรักษ์พันธุ์ข้าวไทยคุณภาพชั้นเลิศ พร้อมขยายช่องทางการจำหน่าย
”ภูมิธรรม“ ประกาศสุดยอดข้าวหอมมะลิ และข้าวสารไทยแห่งปี หนุนเกษตรกรและโรงสีรักษาคุณภาพขั้นสูง ขยายตลาดทั่วโลก
นายภูมิธรรม เวชยชัย รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ เป็นประธานในงานประกาศผลและพิธีมอบรางวัลการประกวดข้าวหอมมะลิของประเทศไทย ประจำปี 2566 (ครั้งที่ 41) และรางวัลการประกวดข้าวสารคุณภาพดีเด่นแห่งประเทศไทยประจำปี พ.ศ. 2566 ซึ่งจัดโดยกรมการค้าภายใน กระทรวงพาณิชย์ ในวันนี้ (24 เมษายน 2567)
เปิดแล้ว เทศกาลข้าวมะลิหอม ปลาจ่อมกุ้ง ชมทุ่งนกประโคนชัย ที่บุรีรัมย์
นายปิยะ ปิจนำ รองผู้ว่าราชการจังหวัดบุรีรัมย์ เป็นประธานเปิดงาน เทศกาล “ข้าวมะลิหอม ปลาจ่อมกุ้ง ชมทุ่งนกประโคนชัย” ประจำปี พ.ศ.2567 ซึ่ง อำเภอประโคนชัย ร่วมกับจังหวัดบุรีรัมย์ องค์การบริหารส่วนจังหวัด(อบจ.)บุรีรัมย์ เทศบาล และองค์การบริหารส่วนตำบล(อบต.) ในอำเภอประโคนชัย
ชาวบ้านง้างปาก 'ผู้ว่าฯร้อยเอ็ด' ปกป้องผืนดินข้าวหอมมะลิโลก หรือประเคนที่นายทุนอ้อย
เครือข่ายคนฮักทุุ่งกุลา โยนโจทย์ใหญ่ ผู้ว่าฯร้อยเอ็ด ปกป้องผืนดินข้าวหอมมะลิโลก หรือปล่อยผืนดินทุ่งกุลาเปลี่ยนเป็นไร่อ้อยเกือบ 3 แสนไร่
ชาวนาขอนแก่น ตัดเกรดรัฐบาลเศรษฐาแพ้ยุคลุงตู่ ทำงานช้ากว่า ยังห่างไกลกันเยอะ
ผู้สื่อข่าวลงพื้นที่สำรวจความคิดเห็นเกษตรกรในพื้นที่ จ.ขอนแก่น ภายหลังจากที่ประชุมคณะรัฐมนตรีเห็นชอบ 2 มาตรการรักษาเสถียรภาพราคาข้าวเปลือกเพื่อช่วยเหลือชาวนาในการดูดซับปริมาณข้าวออกจากตลาด แบ่งเป็น สินเชื่อชะลอการขายข้าวเปลือกนาปี