16 พ.ย. 2565 – นับเป็นโค้งสุดท้ายของปี 2565 ที่ผู้ประกอบการจะมีโอกาสสร้างยอดขาย โดยเฉพาะในช่วงปลายปีที่เป็นเวลาของเทศกาลแห่งความสุข ผู้บริโภคเริ่มมองหาของขวัญ ของชำรวย และจับจ่ายสินค้าต่างๆ โดยเฉพาะธุรกิจค้าปลีกที่เริ่มฟื้นตัวดีขึ้น จากเดิมที่ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโควิด-19 ตลอดช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา
นางสาววรลักษณ์ ตุลาภรณ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร กลุ่มการตลาด บริษัท เดอะมอลล์ กรุ๊ป จำกัด เปิดเผยว่า ในช่วงปลายปี 2565 เชื่อว่าผู้บริโภคจะออกมาจับจ่ายกันมากขึ้น หากเทียบกับบรรยากาศช่วงที่มีการแพร่ระบาดหนัก จะเห็นได้ว่าทั้งคนไทยและต่างชาติต่างก็เริ่มกลับมาซื้อของกันมากกว่าที่ผ่านมา โดยนักท่องเที่ยวต่างชาติก็เริ่มกลับมามีสัดส่วน 30% จากปกติที่ 40% แม้ว่าตลาดหลักอย่างจีนจะยังไม่กลับมา แต่การท่องเที่ยวของไทยยังได้แรงส่งจากตลาดอื่น อาทิ อินเดีย และประเทศในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ทำให้บริษัททุ่มงบกว่า 300 ล้านบาท จัดแคมเปญส่งท้ายปี “เดอะ เกรท แฮปปี้ นิวเยียร์ 2023” (The Great Happy New Year 2023) ในการกระตุ้นกำลังซื้อ
“เรายังคงลุ้นว่าจะมีมารตรการจากภาครัฐเข้ามาช่วยกระตุ้นกำลังซื้อ เพราะที่ผ่านมาจะเห็นได้ว่าการมีมาตรการต่างๆ ก็สามารถช่วยให้บรรยากาศจับจ่ายดีขึ้น โดยเฉพาะมาตรการ “คนละครึ่ง” ซึ่งในส่วนนี้จะเป็นผลดีกับผู้ประกอบการรายย่อยมากว่า แต่สำหรับบริษัทมองว่า “ช้อปดีมีคืน” จะเป็นมาตรการที่ช่วยบริษัทได้ดีกว่า โดยยอดการใช้จ่ายในช่วงไตรมาส 4 จะอยู่ที่ 30-35% โดยในช่วงฤดูฝนจะเป็น Low season”
สำหรับช่วงไตรมาสสุดท้ายของปี ถือเป็นช่วงที่สำคัญของธุรกิจรีเทล เพราะเป็นเวลาแห่งความสุขและการเฉลิมฉลอง เป็นช่วงที่มีการจับจ่ายใช้สอยสูงที่สุดของปี สำหรับปีนี้มีปัจจัยบวกหลายด้าน ทั้งเรื่องสถานการณ์โควิด-19 ที่คลี่คลายลงทำให้อารมณ์ในการจับจ่ายใช้สอยโดยรวมของประเทศที่ดีขึ้น ขณะเดียวกันจำนวนนักท่องเที่ยวก็เพิ่มจำนวนขึ้นอย่างต่อเนื่อง รวมถึงการที่ประเทศไทยเป็นเจ้าภาพจัดการประชุม APEC 2022 โดยคาดว่าจะมีนักท่องเที่ยวต่างชาติเข้ามาในเดือนพฤศจิกายนถึง 1.5 ล้านคน และมีแนวโน้มที่จำนวนนักท่องเที่ยวจะถึง 10 ล้านคนในปี 2565 ตามที่การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยได้ตั้งเป้าไว้ จึงเป็นแรงหนุนให้ธุรกิจในประเทศฟื้นตัวได้มากขึ้น โดยภาพรวมของธุรกิจรีเทลช่วงปลายปี 2565 มีแนวโน้มไปในทิศทางที่ดี กำลังซื้อของลูกค้าเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ทั้งลูกค้าชาวไทยและนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติ
ทั้งนี้ ปัจจัยแห่งความเร็จของการทำการตลาด คือต้องมีความเข้าใจในลูกค้า รู้จักตัวตนของลูกค้าเป็นอย่างดี ซึ่งในปัจจุบันผู้บริโภคมีการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมภายหลังสถานการณ์โควิด-19 ไปเป็นอย่างมาก โดย เดอะมอลล์ กรุ๊ป ได้จำแนกพฤติกรรมของผู้บริโภคที่เปลี่ยนแปลงไปออกเป็น 5 กลุ่ม คือ
Physical Experience is back การสัมผัสด้วยประสบการณ์จริงๆ จะกลับมา หลังจากสถานการณ์โควิด-19 คลี่คลาย ลูกค้าเริ่มกลับมาใช้ชีวิตตามปกติ ไปทำงาน-เรียน-กินข้าว-ออกกำลังกาย การอยู่บ้านนาน ทำให้เกิดอาการโหยหาอยากสัมผัสประสบการณ์จริงในสถานที่จริง (Check-in and Experience)
Customers Tend to be less Loyal than before ความภักดีของลูกค้ามีน้อยลง ลูกค้ายุคใหม่ไม่ใส่ใจในการจดจำแบรนด์เท่าแต่ก่อน มีความภักดีต่อแบรนด์น้อยลง และพร้อมเปลี่ยนไปใช้แบรนด์อื่นๆ ได้ง่ายขึ้น
Search & compare are rising การค้นหายังคงเป็นเรื่องที่นิยมทําอย่างต่อเนื่อง โดยลูกค้าในปัจจุบันนิยมค้นหาข้อมูลต่างๆ ประกอบการตัดสินใจ เปรียบเทียบราคาก่อนตัดสินใจ
Research Offline then Buy Online สัมผัสสินค้าที่ร้าน แล้วกลับไปซื้อผ่านเน็ต มีลูกค้าบางส่วน เลือกไปลองสินค้าจริงๆ ก่อนเพื่อความมั่นใจ จากนั้นค่อยกลับมาหาข้อมูลเปรียบเทียบราคา แล้วตัดสินใจสั่งซื้อกับร้านที่ให้ราคาดีที่สุดผ่านทางออนไลน์แทน
New payment options and growth of Cashless การชำระเงินรูปแบบใหม่และ การเติบโตที่รวดเร็วของสังคมไร้เงินสด ลูกค้าเริ่มมีการใช้จ่ายผ่าน Digital Payment ทั้งบัตรเครดิต ระบบ E-Wallet หรือแอพเป๋าตังค์ต่างๆ มากขึ้นกว่าในอดีต ทั้งการช้อปผ่านทาง Online และ Offline
อย่างไรก็ดี แคมเปญ “The Great Happy New Year 2023” จัดที่ห้างสรรพสินค้าและศูนย์การค้าเดอะมอลล์, เดอะมอลล์ไลฟ์สโตร์ ทุกสาขา, เอ็มโพเรียม, เอ็มควอเทียร์ และพารากอน ดีพาร์ทเม้นท์สโตร์ ช้อปออนไลน์ผ่าน Monline.com และ Gourmetmarketthailand.com ระหว่างวันที่ 28 พ.ย. 2565 – 12 ม.ค. 2566 โดยได้ผนึกกำลังกับ วีซ่า ผู้นำการให้บริการการชำระเงินดิจิทัลระดับโลก และพันธมิตรบัตรเครดิตชั้นนำ มอบโปรโมชั่นให้กับลูกค้าในทุกสัปดาห์ ตลอดแคมเปญ พร้อมระดมหลากหลายสินค้าแบรนด์ดัง ลดทุกชั้น ทุกแผนก สูงสุดกว่า 50 % พร้อมลุ้นรับของรางวัลมากมาย โดยในปีหน้าจะเพิ่มการจัดกิจกรรมขึ้นอีก 15% โดยเริ่มต้นตั้งแต่ต้นปี จากปี 2565 นี้มีประมาณ 400 อีเว้นท์ส่วนใหญ่จัดในช่วงครึ่งปีหลังประมาณ 60% และได้จัดโปรโมชั่นไปแล้ว 320 รายการ
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
'ช้อปดีมีคืน-ท่องเที่ยวฟื้น' หนุนกำลังซื้อ โฮมโปร ทุ่มงบเปิด 10 สาขาใหม่
โฮมโปร เผย "ช้อปดีมีคืน-ท่องเที่ยวฟื้น" หนุนกำลังซื้อไตรมาสแรก เตรียมทุ่มงบ 4,000-5,000 ล้านบาท ลงทุนเปิด 10 สาขาใหม่ แย้มเตรียมแตกไลน์บริษัทรุกให้บริการ Home Solar เน้นตลาดลูกค้าที่อยู่อาศัย
ห้ามพลาด 'ช้อปดีมีคืน' รีบใช้จ่ายก่อนหมดเขต 15 ก.พ.นี้
นสุดท้าย "ช้อปดีมีคืน" รีบใช้จ่ายก่อนหมดเขต 15 ก.พ.นี้ เก็บใบกำกับ รอยื่นปีหน้า พบร้านค้าปฏิเสธ บวกราคาสินค้า มื่อขอใบกำกับภาษี แจ้งสรรพากรได้ตลอดเวลา
โค้งสุดท้าย! 'ช้อปดีมีคืน' รีบใช้จ่ายภายใน 15 ก.พ.
น.ส.ไตรศุลี ไตรสรณกุล รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า จากที่รัฐบาลดำเนินโครงการช้อปดีมีคืน โดยมีระยะเวลาให้ประชาชนที่จะใช้สิทธินำยอดการใช้จ่ายซื้อสินค้าและบริการไปลดหย่อนภาษีเงินได้สำหรับปีภาษี 2566
อ่านเลย สรรพากร แจง 35 ข้อสงสัยใช้สิทธิ์ ช้อปดีมีคืน ปี 66
หลังจากคณะรัฐมนตรี(ครม.) เมื่อวันที่ 20 ธันวาคม 2566 ได้อนุมัติมาตรการ ช้อปดีมีคืน เฟส4 เพื่อเป็นของขวัญปีใหม่ ปี66 ให้กับประชาชน สามารถนำบิลค่าใช้จ่ายจากการซื้อสินค้า-บริการมาลดหย่อนภาษี ไม่เกิน 40,000 บาท
รองโฆษกรัฐบาล ย้ำจ่ายค่าน้ำมันรถ อย่าลืมขอใบกำกับภาษี ร่วม 'ช้อปดีมีคืน'
นางสาวรัชดา ธนาดิเรก รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า รัฐบาลโดยกระทรวงการคลัง ได้ออกมาตรการช้อปดีมีคืน ปี 2566