ปตท. เปิดเป้าหมายรับเอเปค ปล่อยก๊าซเรือนกระจกเป็นศูนย์

10 พ.ย. 2565 – ปตท.ประกาศเจตนารมณ์ กลุ่ม ปตท. ตั้งเป้าหมายระยะสั้นถึงระยะยาว มุ่งลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกลงร้อยละ 15 ภายในปี 2030 บรรลุเป้าหมายความเป็นกลางทางคาร์บอน ภายในปี 2040 และลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ ภายในปี 2050 ซึ่งเร็วกว่าเป้าหมายของประเทศ

เวทีการประชุมสุดยอดผู้นำ APEC 2022 ที่ไทยเป็นเจ้าภาพ และกำลังจะเริ่มขึ้นระหว่่างวันที่ 18-19 พฤศจิกายนนี้ หนึ่งในหัวข้อที่กลุ่มเอเปคเตรียมหารือกันคือ การปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และวางแผนรับมือกับภัยพิบัติอันส่งจะผลกระทบต่อเศรษฐกิจและสังคม และเน้นย้ำว่า ปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศ จะทำให้เกิดสภาพอากาศสุดขั้วบ่อยยิ่งขึ้น ดังนั้นแต่ละประเทศจึงควรร่วมมือกันป้องกันและลดผลกระทบจากภัยพิบัติทางธรรมชาติ

นายอรรถพล ฤกษ์พิบูลย์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารแลกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) ตอกย้ำอีกครั้งในโอกาสเดินทางดูงานที่กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศสว่า “ปตท. ตระหนักถึงความสำคัญเร่งด่วนของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศโลก และศักยภาพการเป็นกำลังสำคัญเพื่อขับเคลื่อนประเทศไทยสู่สังคมคาร์บอนต่ำ จึงมุ่งผลักดันการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกให้ได้เร็วกว่าเป้าหมายที่ประเทศกำหนด และแม้ว่าการบรรลุเป้าหมาย Net Zero จะมีความท้าทาย แต่กลุ่ม ปตท. เชื่อมั่นด้วยความพร้อม และทิศทางการดำเนินงานที่ชัดเจน พร้อมสร้างคุณค่าต่อสังคม ชุมชน สิ่งแวดล้อม ส่งเสริมคุณภาพชีวิตที่ดีของคนไทย และสังคมโลก ด้วยจุดมุ่งหมายภายใต้วิสัยทัศน์ “Powering Life with Future Energy and Beyond“ ที่มุ่งขับเคลื่อนทุกชีวิต ด้วยพลังแห่งอนาคต

กลุ่ม ปตท. ตั้งเป้าหมายระยะสั้นถึงระยะยาว มุ่งลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกลงร้อยละ 15 ภายในปี 2030 บรรลุเป้าหมายความเป็นกลางทางคาร์บอน (Carbon Neutrality) ภายในปี 2040 และลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ (Net Zero) ภายในปี 2050 ซึ่งเร็วกว่าเป้าหมายของประเทศ     โดยมีกลยุทธ์ ตัวชี้วัด และแผนปฏิบัติการรองรับ พร้อมผนึกความร่วมมือจุดแข็งธุรกิจ กลุ่ม ปตท. โดยการจัดตั้งคณะทำงานการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์กลุ่ม ปตท. (PTT Group Net Zero Task Force หรือ G-NET) เพื่อกำหนดกลยุทธ์เชิงรุก มุ่งบรรลุเป้าหมายการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกที่สอดคล้องกับบริบทของการดำเนินธุรกิจ ใน 3 แนวทางหลัก (3P) ได้แก่

Pursuit of Lower Emissions การลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในกระบวนการให้ได้สูงสุด ผ่านโครงการสำคัญ เช่น การดักจับและกักเก็บคาร์บอนไดออกไซด์ (Carbon Capture and Storage: CCS) ในพื้นที่บริเวณทะเลอ่าวไทย และพื้นที่บนฝั่งในภาคตะวันออกภายใต้ความร่วมมือ PTT Group CCS Hub Model ที่ระดมเทคโนโลยีของ กลุ่ม ปตท. เพื่อบริหารการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกร่วมกัน การนำคาร์บอนไดออกไซด์ไปใช้ประโยชน์สูงสุด (Carbon Capture and Utilization : CCU) ต่อยอดเป็นผลิตภัณฑ์เพื่อลดการปลดปล่อยสู่ชั้นบรรยากาศ การปรับปรุงกระบวนการผลิต และเทคโนโลยีที่ทันสมัยเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงานในโรงแยกก๊าซธรรมชาติ การส่งเสริมการใช้พลังงานหมุนเวียนในกระบวนการผลิต รวมถึงการผลักดันการใช้พลังงานจากไฮโดรเจน เป็นต้น โดยวิธีการเหล่านี้จะสามารถลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้สูงถึง ร้อยละ 30 ของการปล่อยก๊าซเรือนกระจกทั้งหมด

Portfolio Transformation การเพิ่มสัดส่วนการลงทุนโดยมุ่งธุรกิจพลังงานสะอาดและการเติบใตในธุรกิจใหม่ที่ไกลกว่าพลังงาน ซึ่งสอดคล้องตามการปรับเปลี่ยนวิสัยทัศน์ โดยกำหนดสัดส่วนเป้าหมายระยะยาว 10 ปี ที่ร้อยละ 32 ของงบประมาณการลงทุน การรุกปรับสัดส่วนการลงทุนจะเป็นกลไกสำคัญลดการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้มากถึงร้อยละ 50

Partnership with Nature and Society การเพิ่มปริมาณการดูดซับก๊าซเรือนกระจกจากชั้นบรรยากาศด้วยวิธีทางธรรมชาติ โดยประสานความร่วมมือกับหน่วยงานต่าง ๆ ซึ่งจะสามารถดูดซับก๊าซเรือนกระจกได้อย่างน้อยร้อยละ 20 ของการปล่อยก๊าซเรือนกระจกรวมของ ปตท.       

นับตั้งแต่ปี พ.ศ. 2537 เป็นต้นมา ปตท. ได้อาสาฟื้นฟูป่าเสื่อมโทรมทั่วประเทศไปแล้วกว่า 1.1 ล้านไร่ ปัจจุบันพื้นที่ป่าเหล่านี้ยังคงมีสภาพป่าสมบูรณ์กว่าร้อยละ 80 สามารถดูดซับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ได้ถึง 2.14 ล้านตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่าต่อปี หรือเปรียบเทียบการชดเชยการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์จากรถยนต์ส่วนบุคคลเฉลี่ยปีละ 4.6 แสนคัน และปลดปล่อยออกซิเจนได้กว่า 1.55 ล้านตันออกซิเจนต่อปี อีกทั้งสร้างประโยชน์ด้านเศรษฐกิจของชุมชนได้มากถึง 280 ล้านบาทต่อปี           

“การดำเนินการภาคป่าไม้จึงเป็นอีกวิธีสำคัญ โดยกลุ่ม ปตท. มุ่งปลูกป่าเพิ่มเติม รวม 2 ล้านไร่ ภายในปี 2030 แบ่งเป็นการดำเนินการโดย ปตท. 1 ล้านไร่ และความร่วมมือบริษัทในกลุ่ม ปตท. อีก 1 ล้านไร่ ร่วมกับการใช้เทคโนโลยีสำรวจการเติบโตและวิเคราะห์ข้อมูลการดูดซับก๊าซเรือนกระจกอย่างมีประสิทธิภาพ โดยในอนาคตพื้นที่ป่าเหล่านี้จะมีศักยภาพช่วยดูดซับก๊าซเรือนกระจกได้รวมกว่า 4.15 ล้านตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่าต่อปี และยังสร้างคุณค่าด้านสิ่งแวดล้อม และเศรษฐกิจชุมชน นำมาซึ่งคุณภาพชีวิตที่ดีของคนไทยได้อย่างต่อเนื่องอีกด้วย” ซีอีโอปตท.กล่าวและอธิบายว่า

“การปลูกป่า 1 ล้านไร่ เฉพาะของตัว ปตท. เพิ่งปลูกที่ขอนแก่นและหลังจากนี้ก็จะปลูกให้ครบ 1 ล้านไร่ ภายใน 7-8 ปี 1 ล้านไรเท่ากับต้องปลูกต้นไม้ 200ล้านต้น เพราะไร่หนึ่งประมาณ 200 ต้น โปรเจคเดิมของเราใช้เวลาก็ 7-8 ปี ปลูกที 54 จังหวัด ถึงจะได้เป็นล้านไร่ แค่บอกว่าในกลุ่มปตท. ก็แบ่งงานกันทำ ใครเชี่ยวชาญด้านไหนก็ว่าไป ก็จะเห็นว่าทั้งกลุ่มเราประกาศเร็วกว่าของประเทศ อันนี้ให้เห็นว่าปลูกป่าเดิมของเราล้านหนึ่งแสนไร่ พื้นที่ 54 จังหวัด ดูดซับคาร์บอนได้ถึง 2.14 ล้านตัน ต่อปีก็ช่วยได้เยอะมาก แต่จริงๆปลูกป่าได้มากกว่านั้น ได้ออกซิเจน มา 1.7 และชาวบ้านได้ประโยชน์จากป่าได้ เป็นมูลค่า 200 ล้านบาทต่อปี ในป่าที่กระจายอยู่ทั่วประเทศ บางพื้นที่ก็ทำเป็นแหล่งท่องเที่ยวก็สร้างรายได้ให้เค้า โดยรวม ตัว ปตท.ก็จะปลูกอีก 1 ล้านไร่ และในกลุ่มหลายบริษัทฟังดูตัวเลขเค้าจะปลูกรวมกัน 1 ล้านไร่”

นายอรรถพล กล่าวอีกว่า ปลูกป่าแล้วไม่ได้หายไปไหน โครงการปลูกป่าเรายังอยู่และก็ติดตามอะไรต่างๆเราก็จะจ้างู้นำชุมชนชาวบ้านเข้าไปดู แผนผังพื้นที่เราอยู่กับพื้นที่นี้ แล้วปลูกไว้ตรงไหนบ้าง เราเข้าไปดูว่าป่ายังอยู่ครบไหม แล้วรายงานเข้ามา จึงเป็นที่มาของตัวเลขทั้งหลาย ว่าที่จะไปใช้ประโยชน์มันมากมหาศาล บางส่วนเราก็ส่งกลับเข้าไปใต้ดิน  ซึ่งประเทศไทยมีศักยภาพหมายถึงว่าแหล่งใต้ดินที่เป็นที่เหมาะกับการกักเก็บ ค่อนข้างอิสรภาพถ้าได้ลองทำก็จะรู้ เก็บไว้เฉยๆก็คือดูดกลับ เราใช้พลังงานคาร์บอน มันขึ้นอยู่กับชั้นหินที่เค้าต้องศึกษาว่าแข็งแรงพอ มีชั้นหินพอที่จะไม่ให้มันออกมาได้อีก

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

GC จับมือ Honeywell ศึกษา พัฒนาเทคโนโลยีดักจับและใช้ประโยชน์จากคาร์บอนอย่างคุ้มค่า เพื่อบรรลุเป้าหมาย Net Zero มุ่งสู่การเป็นองค์กรคาร์บอนต่ำ

บริษัท พีทีที โกลบอล เคมิคอล จำกัด (มหาชน) หรือ GC ผู้นำในธุรกิจเคมีภัณฑ์ระดับสากล เพื่อสร้างสรรค์คุณภาพชีวิต และ Honeywell