7 พ.ย. 2565 – นายกุลิศ สมบัติศิริ ปลัดกระทรวงพลังงาน เปิดเผยภายหลังการประชุมคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ (กพช.) เมื่อวันที่ 7 พ.ย. ซึ่งมี พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและ รมว.กลาโหม เป็นประธานว่า ที่ประชุมได้มีการพิจารณาสถานการณ์ความไม่สงบระหว่างรัสเซียและประเทศยูเครนที่ยังไม่มีข้อยุติ ส่งผลให้ราคาก๊าซธรรมชาติเหลว (LNG) ในตลาดโลกมีความผันผวนและปรับตัวเพิ่มขึ้นในระดับสูงจากมาตรการคว่ำบาตรรัสเซียของหลายประเทศทั่วโลก โดยทำให้เกิดการตึงตัวของอุปทานก๊าซธรรมชาติและน้ำมันดีเซล รวมถึงการอ่อนตัวของค่าเงินบาท
ทั้งนี้ ที่ประชุมจึงได้เห็นชอบมาตรการบริหารจัดการพลังงานในสถานการณ์วิกฤตราคาพลังงานในช่วงเดือนต.ค. – ธ.ค. 2565 เพื่อดูแลลดผลกระทบค่าไฟฟ้าในปี 2566 พร้อมทั้งยังได้เห็นชอบมาตรการสมัครใจการขอความร่วมมือประชาชนทั่วไปและภาคธุรกิจ ผู้ประกอบการ สถานีบริการน้ำมัน ห้าง ร้านสะดวกซื้อ สถานประกอบการ ในการประหยัดพลังงาน ซึ่งระหว่างนี้มีความเป็นไปได้ว่าในช่วงฤดูหนาวของยุโรปหากราคาก๊าซ LNG เพิ่มสูงขึ้นตั้งแต่ 50 เหรียญสหรัฐฯต่อล้านบีทียู ขึ้นไป หากเกิดกรณียาวนานต่อเนื่อง 2 สัปดาห์ จากปัจจุบันเฉลี่ยอยู่ที่ 28-29 เหรียญต่อล้านบีทียู จะยกระดับมาตรการนี้เป็นมาตรการภาคบังคับทันที
“ตอนนี้ราคาก๊าซอยู่ที่ 29 เหรียญฯ ต่อล้านบีทียูก็ถือว่าสูงมากแล้ว แต่หากราคาก๊าซ LNG สูงขึ้นตั้งแต่ 50 เหรียญสหรัฐฯต่อล้านบีทียูขึ้นไปต่อเนื่อง 2 สัปดาห์ เราได้วางมาตรการบังคับไว้ ซึ่งโดยขั้นตอนนายกรัฐมนตรีสามารถประกาศใช้ทันที เพราะประเทศต่างๆทั่วโลกหลายแห่งได้ดำเนินการแล้ว เพราะรัสเซีย ยูเครนไม่มีท่าทีข้อยุติ เราก็ยังคาดหวังว่าจะไม่ได้ใช้มาตรการบังคับ ซึ่งต้องดูสถานการณ์ใกล้ชิดระหว่างนี้ได้ให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องอาทิ กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน(พพ.) สำนักงานคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน(สำนักงานกกพ.) ร่วมกันหารือ “นายกุลิศ กล่าว
นายวัฒนพงษ์ คุโรวาท ผู้อำนวยการสำนักนโยบายและแผนพลังงาน(สนพ.) กล่าวว่า จากการที่รัสเซียตัดการส่งขายก๊าซธรรมชาติให้กับสหภาพยุโรป (EU) ทำให้อียูต้องหันมาแย่งซื้อ LNG ในตลาดเอเชียดันราคาสูงขึ้น ส่งผลให้ราคา LNG ตลาดจรซื้อขายล่วงหน้าช่วงเดือนสูงแต่ 50 เหรียญสหรัฐต่อล้านบีทียู ระหว่างนี้จึงต้องวางมาตรการรองรับไว้ให้พร้อมในกรณีเลวร้าย ก็ต้องยกระดับมาตรการประหยัดไฟภาคบังคับ ขณะที่การนำเข้า ปัจจุบัน ปตท.ยังนำเข้า LNG ตามสัญญาระยะยาวที่ 5.2 ล้านตันต่อปี เช่นเดิม
สำหรับมาตรการขอความร่วมมือประหยัดพลังงานในภาคธุรกิจ/อุตสาหกรรม ที่อาจจะกลายเป็นมาตรการบังคับในอนาคต ได้แก่ การตั้งอุณหภูมิเครื่องปรับอากาศในอาคารให้สูงขึ้นจากปกติ 2 องศาเซลเซียส (27 องศาเซลเซียส) และปิดระบบแสงสว่างในพื้นที่ที่ไม่จำเป็น , การกำหนดเวลาเปิดปิดไฟป้ายโฆษณาขนาดใหญ่, การปิดสถานีบริการน้ำมันเชื้อเพลิงหลังเวลา 23.00 น. (เปิดเวลา 05.00 – 23.00 น.)
รวมถึงการกำหนดเวลาเปิดปิดภาคธุรกิจบริการที่ใช้พลังงานสูง เช่น ห้างสรรพสินค้า ร้านสะดวกซื้อ สถานบันเทิง , การปิดระบบปรับอากาศก่อนห้างสรรพสินค้าปิด 30 – 60 นาที , การปรับเปลี่ยนเครื่องจักรอุปกรณ์ที่มีประสิทธิภาพการใช้พลังงานสูงของโรงงานอุตสาหกรรม โดยภาครัฐสนับสนุนการให้ข้อมูล/คำแนะนำและอาจสนับสนุนเงินลงทุนบางส่วนแก่โรงงานอุตสาหกรรม และ มาตรการประหยัดพลังงานอื่นๆ ที่เหมาะสมกับสถานการณ์
นอกจากนี้ กพช. ยังมีมติเห็นชอบแนวทางการกำหนดอัตราค่าบริการไฟฟ้า สีเขียว (Utility Green Tariff) ในโครงสร้างอัตราค่าไฟฟ้าขายปลีก โดยประกอบด้วย (1) อัตราค่าบริการไฟฟ้าสีเขียวจากโรงไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียนที่มีอยู่เดิมในระบบไฟฟ้า ซึ่งเป็นการนำใบรับรองการผลิตไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียน (Renewable Energy Certificate: REC) ของโรงไฟฟ้าเดิมที่รัฐมีกรรมสิทธิ์มาให้บริการร่วมกับการให้บริการพลังงานไฟฟ้า และเป็นการให้บริการในลักษณะที่ผู้ใช้ไฟฟ้าไม่ต้องเจาะจงแหล่งที่มาของไฟฟ้าและ REC ในการขอรับบริการ โดยมีอัตราค่าบริการส่วนเพิ่ม (Premium) เพิ่มเติมจากอัตราค่าไฟฟ้าตามปกติที่ครอบคลุมต้นทุนค่า REC รวมถึงองค์ประกอบอื่นๆ ตามที่คณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (กกพ.) จะกำหนดต่อไป
(2) อัตราค่าบริการไฟฟ้าสีเขียวจากโรงไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียนใหม่ และโรงไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียนเดิมในระบบไฟฟ้าทั้งของรัฐและเอกชน ซึ่งเป็นการให้บริการพลังงานไฟฟ้าและ REC ซึ่งมาจากแหล่งเดียวกัน โดยผู้ใช้ไฟฟ้าต้องเจาะจงกลุ่มโรงไฟฟ้า (Portfolio) ในการรับบริการ และอัตราค่าบริการกำหนดจากต้นทุนการให้บริการพลังงานไฟฟ้าและ REC ของแต่ละ Portfolio รวมถึงองค์ประกอบอื่นๆ ตามที่ กกพ. จะกำหนดต่อไป ทั้งนี้ ในการกำหนดองค์ประกอบและโครงสร้างอัตราค่าไฟฟ้าสีเขียวทั้งสองรูปแบบ รวมถึงการจัดสรรต้นทุนการให้บริการแก่ผู้ใช้ไฟฟ้าทั่วไปที่ครอบคลุมต้นทุนสาธารณะ และวิธีการและเงื่อนไขที่เกี่ยวข้องในการดำเนินการ กกพ. จะพิจารณากำกับดูแลภายใต้พระราชบัญญัติการประกอบกิจการพลังงาน พ.ศ. 2550 ให้โปร่งใสและเป็นธรรมต่อผู้ใช้ไฟฟ้าทุกกลุ่ม กพช. ยังมีมติเห็นชอบการทบทวนการกำหนดอัตราเงินนำส่งเข้ากองทุนพัฒนาไฟฟ้าตามหลักเกณฑ์การกำหนดโครงสร้างอัตราค่าไฟฟ้า ประเทศไทย ปี 2554-2558 โดยให้มีการปรับปรุงข้อความการนำส่งเงินเข้ากองทุนพัฒนาไฟฟ้าตามมาตรา 97(4) เพื่อการส่งเสริมการใช้พลังงานหมุนเวียนและเทคโนโลยีที่ใช้ในการประกอบกิจการไฟฟ้าที่มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมน้อย จากเดิม “โดยเรียกเก็บจากผู้รับใบอนุญาตจำหน่ายไฟฟ้าในอัตรา 0.5 สตางค์ต่อหน่วย” เป็น “โดยเรียกเก็บจากผู้รับใบอนุญาตจำหน่ายไฟฟ้าในอัตราไม่เกิน 0.5 สตางค์ต่อหน่วย” เพื่อให้ กกพ. สามารถกำหนดอัตราเงินส่งเข้ากองทุนพัฒนาไฟฟ้าจากผู้รับใบอนุญาตจำหน่ายไฟฟ้าเป็น 0
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
กสม.แนะแก้ไขปัญหาสิทธิในที่ดินปชช. ที่ได้รับผลกระทบจากโครงการขยายเหมืองแม่เมาะ
กสม. แนะกระทรวงพลังงานเร่งเสนอ ครม. แก้ไขปัญหาสิทธิในที่ดินให้กับประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากโครงการขยายเหมืองแม่เมาะ จังหวัดลำปาง
'สถิตย์' ขอตั้งหลักรอหนังสือทางการเรื่อง 'กิตติรัตน์'
'สถิตย์' ขอตั้งหลักรอมติกฤษฎีกาเอกฉันท์-หนังสือ ก.คลังทางการ จับตา พท.ส่งชื่อใครแทนเสี่ยโต้ง หลังอดีตปลัดกุลิศ อดีตทีมกุนซือเศรษฐาก็วืดขาดคุณสมบัติ
โบว์แดง 'รทสช.' ผสานกำลัง 2 กระทรวงปลดล็อก 'โซลาร์รูฟท็อป'
ไทยเดินหน้าพลังงานสะอาด “หิมาลัย” เผย “พีระพันธุ์-เอกนัฏ” ผสานกำลังปลดล็อก “โซลาร์รูฟท็อป” สำเร็จ เป็นผลงานชิ้นโบว์แดงพรรค
กบง. สั่งตรึงราคา LPG ถึงสิ้นเดือน มี.ค. 2568
นายพีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการ กระทรวงพลังงาน ได้เปิดเผยว่า ที่ประชุมคณะกรรมการบริหารนโยบายพลังงาน (กบง.)
'พีระพันธุ์' สั่ง ปตท. ระดมน้ำมัน-ก๊าซเข้าภาคใต้ป้องกันขาดแคลน
นายพีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน เปิดเผยว่า จากสถานการณ์น้ำท่วมใหญ่ในพื้นที่ภาคใต้ขณะนี้ กระทรวงพลังงานไม่ได้นิ่งนอนใจ และขอเป็นกำลังใจให้พี่น้องประชาชนที่ประสบเหตุอยู่ขณะนี้