โฆษกรัฐบาล แจง ความสามารถในการแข่งขันไทยปี 65 ลดลง มาจากโควิด-19 แต่มีหลายปัจจัยปรับตัวดีขึ้น โดยเฉพาะด้านประสิทธิภาพภาคธุรกิจโครงสร้างพื้นฐาน
30 ต.ค. 2565 – นายอนุชา บูรพชัยศรี รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรีฝ่ายการเมือง ปฏิบัติหน้าที่โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า แม้ผลการจัดอันดับความสามารถในการแข่งขัน (Competitiveness of Countries) โดย International Institute for Management Development (IMD) ประจำปี 2565 ซึ่งประเทศไทยจะได้รับการจัดอันดับอยู่ที่ 33 ซึ่งลดลง 5 อันดับ จากอันดับที่ 28 ในปีก่อนหน้า แต่ยังคงมีปัจจัยบวกในหลายปัจจัยย่อย ซึ่งเมื่อเทียบกับกลุ่มประเทศอาเซียนพบว่า มาเลเซีย และอินโดนีเซีย มีอันดับลดลง 7 อันดับ ซึ่งมากกว่าการลดลงของประเทศไทย
นายอนุชา ยังกล่าวถึงสาเหตุหลักกรณีปัจจัยหลักด้านสมรรถนะทางเศรษฐกิจ (Economic Performance) ไทยอยู่อันดับที่ 34 ว่า เป็นผลมาจากการลดลงของการค้าระหว่างประเทศ ซึ่งโครงสร้างของเศรษฐกิจไทยในช่วงที่ผ่านมาพึ่งพาการส่งออก-นำเข้าสูง ดังนั้นในช่วงที่เกิดวิกฤตโควิด -19 ประเทศไทยจึงได้รับผลกระทบโดยตรง แต่เป็นผลกระทบระยะสั้นจากการไม่สามารถส่งออกสินค้าอันเป็นผลข้อจำกัดในการขนส่งระหว่างประทศ ทั้งนี้ เมื่อสถานการณ์เข้าสู่ภาวะปกติประเทศไทยจะสามารถกลับมาส่งออกได้มากขึ้นตามปกติ ขณะที่ในปัจจัยย่อยด้านระดับราคา (Prices) มีการปรับตัวดีขึ้นถึง 6 อันดับ แม้ว่าระดับราคาน้ำมันปรับตัวสูงขึ้น แต่ตัวชี้วัดด้านค่าใช้จ่ายเพื่อการดำรงชีพยังคงมีแนวโน้มที่ดี เช่น ค่าใช้จ่ายเพื่อซื้อสินค้าและบริการเพื่อการอุปโภคและบริโภคที่จำเป็น ค่าใช้จ่ายสำหรับที่อยู่อาศัยและสำนักงาน ซึ่งส่วนหนึ่งเป็นผลจากการดำเนินมาตรการของภาครัฐที่ช่วยสนับสนุนและพยุงต้นทุนค่าใช้จ่ายของครัวเรือน เช่น โครงการคนละครึ่ง โครงการบัตรสวัสดิการแห่งรัฐเพื่อช่วยเหลือผู้มีรายได้น้อย โครงการเพื่อช่วยลดค่าไฟฟ้า และค่าน้ำประปา เป็นต้น
สำหรับปัจจัยหลักด้านประสิทธิภาพภาครัฐ (Government Efficiency) ซึ่งอยู่ในอันดับที่ 31 นั้น
นายอนุชาฯ กล่าวย้ำว่า สาเหตุหลักเป็นผลมาจากปัจจัยย่อยทางด้านฐานะการคลัง (Public finance) ที่มีการใช้จ่ายงบประมาณแบบขาดดุล และหนี้สาธารณะอยู่ในระดับสูง ซึ่งเป็นผลจากการดำเนินนโยบายทางเศรษฐกิจที่รัฐบาลมีการกู้เงินเพื่อนำมาเสริมสภาพคล่องและฟื้นฟูเศรษฐกิจ รักษาระดับการจ้างงาน และกระตุ้นการลงทุนและบริโภคในระบบเศรษฐกิจที่ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 อย่างไรก็ตาม ในส่วนของกรอบการบริหารด้านสังคมพบว่า ในช่วงปีที่ผ่านมาการกระจายรายได้ของกลุ่มผู้ที่มีรายได้น้อยที่สุดร้อยละ 40 ของประเทศไทยมีการพัฒนาในทิศทางที่ดีขึ้น ส่งผลให้ตัวชี้วัดดังกล่าวมีอันดับดีขึ้นมาอยู่ที่อันดับ 3 หรือดีขึ้น 26 อันดับจากปีก่อนหน้า ซึ่งส่วนหนึ่งเป็นผลจากมาตรการภาครัฐในการลดค่าครองชีพของกลุ่มคนเปราะบาง และมีมาตรการบรรเทาช่วยเหลือด้านรายจ่ายให้แก่กลุ่มคนที่มีรายได้น้อยในประเทศผ่านโครงการบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ และโครงการสาคัญ อาทิ เราชนะ และคนละครึ่ง
ส่วนปัจจัยหลักด้านประสิทธิภาพภาคธุรกิจ (Business Efficiency) ซึ่งปัจจัยย่อยด้านผลิตภาพและประสิทธิภาพ (Productivity & Efficiency) โดยรวมจะมีอันดับลดลง แต่ผลิตภาพการผลิตในภาคอุตสาหกรรมและบริการเพิ่มขึ้น ซึ่งที่ผ่านได้มีการสนับสนุนงบประมาณอย่างต่อเนื่องเพื่อพัฒนาโครงการด้านการพัฒนาผลิตภาพการผลิต อาทิ โครงการจัดตั้งศูนย์นวัตกรรมการผลิตยั่งยืน (SMC) ในเขตพื้นที่ EECi เพื่อเป็นการพัฒนาและยกระดับต้นแบบกระบวนการผลิตที่สามารถถ่ายทอดและนำไปปฏิบัติได้จริง
ขณะที่ในด้านการบริหารจัดการ มีอันดับคงที่ อยู่ที่อันดับ 22 ซึ่งเกิดจากมีการใช้ประโยชน์จากฐานข้อมูลขนาดใหญ่ การสร้างและพัฒนาแนวคิดความเป็นผู้ประกอบการ จากการสนับสนุนของภาครัฐ เช่น โครงการ Depa Digital Startup Fund ส่งเสริมและสนับสนุนวิสาหกิจดิจิทัลเริ่มต้น (Digital Startup) ให้สามารถเริ่มต้นธุรกิจและเติบโตได้อย่างต่อเนื่อง การสร้างชุมชนผู้ประกอบการให้สามารถศึกษาเรียนรู้ พัฒนา แลกเปลี่ยนประสบการณ์ มีที่ปรึกษาที่มีความเชี่ยวชาญเพื่อธุรกิจสามารถต่อยอดและต่อตัวต่อการเปลี่ยนแปลงได้อย่างทันท่วงที ในขณะเดียวกันยังเป็นผลมาจากการที่หน่วยงานต่าง ๆ ได้ให้ความสำคัญในการสำรวจและจัดเก็บข้อมูลที่เป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาประเทศในรูปแบบมาตรฐานเดียวกันมากขึ้น
นายอนุชา ยังกล่าวถึงปัจจัยด้านโครงสร้างพื้นฐาน (Infrastructure) ต่าง ๆ ที่ปรับตัวดีขึ้นด้วย ได้แก่ 1.ด้านสาธารณูปโภคพื้นฐาน (Basic Infrastructure) ปรับตัวดีขึ้น จากการพัฒนาการด้านคมนาคมขนส่งรูปแบบต่าง ๆ โดยเฉพาะการพัฒนาเส้นทางรถไฟที่ทั่วถึงตามนโยบายรัฐบาล อาทิ การพัฒนาโครงข่ายรถไฟทางคู่ การพัฒนาโครงข่ายรถไฟให้ครอบคลุมทั่วประเทศและเชื่อมโยงกับการขนส่งรูปแบบอื่น รวมถึงรัฐบาลได้ลงทุนด้านโครงสร้างพื้นฐานโดยเฉพาะถนนมาอย่างต่อเนื่อง 2.ด้านโครงสร้างพื้นฐานด้านเทคโนโลยี (Technological Infrastructure) ดีขึ้น โดยรัฐบาลได้พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานดิจิทัลที่สามารถตอบสนองความต้องการของภาคธุรกิจ และครอบคลุมผู้ใช้งานที่เพิ่มขึ้น สอดคล้องกับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม และรูปแบบการเรียนการสอน การทำงานเป็นรูปแบบออนไลน์ รวมทั้งการเข้าถึงบริการภาครัฐผ่านดิจิทัลแพลตฟอร์มต่าง ๆ เช่น หมอพร้อม และเป๋าตัง เป็นต้น
นอกจากนี้ รัฐบาลยังได้ให้ความสำคัญกับการลงทุนในอุตสาหกรรมโทรคมนาคม 3.ปัจจัยย่อยด้านโครงสร้างพื้นฐานด้านวิทยาศาสตร์ (Scientific Infrastructure) มีอันดับคงที่ อยู่ที่อันดับ 38 โดยรัฐบาลได้ให้ความสำคัญการพัฒนาวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี วิจัยและนวัตกรรม สะท้อนจากตัวชี้วัดในกลุ่มการใช้จ่ายเพื่อการวิจัยและพัฒนา (Total expenditure on R&D) ที่ปรับตัวดีขึ้น 4.ปัจจัยย่อยด้านสุขภาพและสิ่งแวดล้อม (Health and Environment) อยู่ในอันดับที่ 51 โดยตัวชี้ที่สะท้อนถึงคุณภาพชีวิตของประชาชน ได้รับการจัดอันดับดีขึ้น อาทิ อายุคาดเฉลี่ยเมื่อแรกเกิด และอายุคาดเฉลี่ยของการมีสุขภาพที่ดีเป็นต้น รวมทั้งการให้ความสำคัญด้านสิ่งแวดล้อมของรัฐบาล สะท้อนจากตัวชี้วัดปัญหามลพิษได้รับการจัดอันดับดีขึ้นด้วย 5.ปัจจัยย่อยด้านการศึกษา (Education) ปรับตัวดีขึ้น 3 อันดับอยู่ในอันดับที่ 53 เป็นผลจากที่รัฐบาลมุ่งพัฒนาคุณภาพการศึกษาอย่างต่อเนื่อง จากตัวชี้วัดการใช้จ่ายด้านการศึกษาของภาครัฐโดยรวม (Total public expenditure on education) ที่ปรับตัวดีขึ้น 10 อันดับมาอยู่ที่อันดับ 49 นอกจากนี้ จากนโยบายการบรรจุครูและบุคลากรทางการศึกษาเป็นราชการ ถือได้ว่าเป็นปัจจัยหนึ่งที่ส่งผลให้อันดับทางด้านสัดส่วนครูต่อนักเรียนปรับตัวดีขึ้นเช่นกัน
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
ไทยบนเส้นทาง Data Center Hub: ปลดล็อคศักยภาพ สู่ "Digital Thailand" อย่างยั่งยืน
ปี 2567 นับเป็นปีแห่งจุดเปลี่ยนสำคัญบนแผนที่ Data Center โลก เมื่อยักษ์ใหญ่สายเทคโนโลยี ไม่ว่าจะเป็น AWS, Microsoft, Google ต่างประกาศลงทุนสร้าง Data Center ในประเทศไทย
ผู้สูงอายุไทยหลังเกษียณงานอายุ 60 ยังมีโอกาสทำงานต่อไปได้อีกกี่ปี?
ในปีพ.ศ. 2567 นี้ ประเทศไทยได้กลายเป็นสังคมสูงอายุโดยสมบูรณ์ หรือกล่าวอีกนัยหนึ่ง ประชากรคนไทยทั้งหมด 100 คน จะมีผู้สูงอายุที่มีอายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไป 20 คน และผู้สูงอายุเหล่านี้จะมีอายุขัยหรือชีวิตยืนยาวไป อีกประมาณ 21 ปี ช่วงชีวิตที่ยืนยาวต่อไปนี้
ภาพรวมความยิ่งใหญ่ 'โมโตจีพี'ประเทศไทย อลังการทั้งใน-นอกสนาม
เข้าสู่โปรแกรมการแข่งขันอย่างยิ่งใหญ่ ของศึกกรังด์ปรีซ์อันดับหนึ่งของโลก รายการ “PT Grand Prix of Thailand 2024” ระหว่าง 25- 27 ตุลาคม 2567 ที่ประเทศไทยเป็นเจ้าภาพ สนามที่ 18 ที่ สนามช้าง อินเตอร์เนชั่นแนล เซอร์กิต จ.บุรีรัมย์ ล่าสุด เข้าสู่โปรแกรมการควอลิฟายของทุกรุ่น แฟนความเร็วหลายหมื่นคนหลั่งไหลเข้าสู่สนามอย่างต่อเนื่อง รัฐ-เอกชนผนึกกำลังต้อนรับอย่างดีเยี่ยมทุกมิติ ชูเสน่ห์กีฬา-อาหาร-วัฒนธรรม-ท่องเที่ยวและวิถีชีวิตอย่างไทยครบวงจร
กมธ.คมนาคมบุกพังงา เร่งสร้างสนามบินอันดามัน 2 รันเวย์
นายอนุชา บูรพชัยศรี สส.แบบบัญชีรายชื่อ พรรครวมไทยสร้างชาติ ในฐานะกรรมาธิการการคมนาคม สภาผู้แทนราษฎร โพสต์