ทรูระทึก! ศาลปกครองสูงสุดนัดชี้ขาดชดใช้ 1,200 ล้านให้ทีโอทีหรือไม่

ทรูระทึกอีกรอบ ศาลปกครองสูงสุดนัดอ่านคำพิพากษาคดีฟ้องร้องทีโอทีจากคำชี้ขาดอนุญาโตตุลาการให้ชดใช้เงิน 1,200 ล้านบาทจากการร่วมลงทุนขยายโทรศัพท์ ซึ่งศาลปกครองชั้นต้นทรูเฮไปแล้ว

27 ต.ค.2565 - ในเวลา 13.30 น. ณ ห้องพิจารณาคดี 6 ชั้น 3 อาคารศาลปกครอง ถนนแจ้งวัฒนะ ศาลปกครองกลางนัดอ่านคำพิพากษาศาลปกครองสูงสุดในคดีหมายเลขดำที่ 1615/2557 คดีหมายเลขแดงที่ 1924/2561 และคดีหมายเลขดำที่ 498/2559 คดีหมายเลขแดงที่ 1925/2561 ระหว่าง บริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) (ผู้ร้อง) กับ บริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) (ผู้คัดค้าน) คดีพิพาทเกี่ยวกับเรื่องที่มีกฎหมายกำหนดให้อยู่ในเขตอำนาจศาลปกครอง (ขอให้เพิกถอนคำชี้ขาดของคณะอนุญาโตตุลาการ)

โดยคดีนี้บริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) ฟ้องว่า ผู้ร้องและบริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) (ผู้คัดค้าน) ได้ทำสัญญาร่วมการงานและร่วมลงทุนขยายบริการโทรศัพท์ ซึ่งต่อมาเกิดข้อพิพาทขึ้นคู่กรณีจึงได้เสนอข้อพิพาทดังกล่าวต่อคณะอนุญาโตตุลาการเป็นข้อพิพาท หมายเลขดำที่ 10/2551 หมายเลขแดงที่ 55/2557 โดยมีคำวินิจฉัยชี้ขาดให้ผู้ฟ้องคดีชำระเงินให้แก่ผู้ถูกฟ้องคดี ซึ่งผู้ฟ้องคดีเห็นว่าคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการดังกล่าวเป็นการวินิจฉัยข้อพิพาทเกินขอบเขตแห่งข้อตกลงตามคำเสนอข้อพิพาท เป็นเหตุให้ผู้ร้องได้รับความเดือดร้อนเสียหาย

ศาลปกครองชั้นต้นพิพากษาเพิกถอนคำชี้ขาดของคณะอนุญาโตตุลาการ ข้อพิพาทหมายเลขดำที่ 10/2551 หมายเลขแดงที่ 55/2557 ลงวันที่ 26 มิถุนายน 2557 และปฏิเสธการขอบังคับตามคำชี้ขาดของคณะอนุญาโตตุลาการดังกล่าว เนื่องจากศาลพิเคราะห์แล้วเห็นว่า การที่คณะอนุญาโตตุลาการมีคำวินิจฉัยชี้ขาดว่า มติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 28 มกราคม 2546 และวันที่ 11 กุมภาพันธ์ 2546 มีผลทำให้ส่วนแบ่งรายได้ของผู้คัดค้านลดลง แต่ส่วนแบ่งรายได้ของผู้ร้องยังคงเท่าเดิม จึงขัดต่อพระราชบัญญัติภาษีสรรพสามิต พ.ศ.2527 และเป็นมติที่มีวัตถุประสงค์เป็นการต้องห้ามชัดแจ้งโดยกฎหมายตกเป็นโมฆะ และมีคำชี้ขาดให้ผู้ร้องชำระเงินผลประโยชน์ตอบแทนตามสัญญาพิพาทเป็นเงินจำนวน 1,217,505,724.17 บาท พร้อมดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี ของต้นเงินจำนวน 1,217,505,724.17 บาท จึงเป็นคำวินิจฉัยชี้ขาดที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย และไม่เป็นไปตามข้อตกลงแห่งสัญญาพิพาท อีกทั้งเป็นคำชี้ขาดข้อพิพาทที่ไม่สามารถแยกออกจากกันได้ และการบังคับตามคำชี้ขาดดังกล่าวย่อมเป็นการขัดต่อความสงบเรียบร้อย และศีลธรรมอันดีของประชาชน ศาลมีอำนาจเพิกถอนคำชี้ขาดได้ตามมาตรา 34 วรรคสี่ และมาตรา 40 วรรคสาม (2) (ข) แห่งพระราชบัญญัติอนุญาโตตุลาการพ.ศ.2545 เมื่อศาลได้วินิจฉัยแล้วว่าการบังคับตามคำชี้ขาดของคณะอนุญาโตตุลาการ เป็นคำชี้ขาดที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายและไม่เป็นไปตามข้อตกลงแห่งสัญญาพิพาท การบังคับตามคำชี้ขาดย่อมเป็นการขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน ศาลจึงต้องปฏิเสธการขอบังคับตามคำชี้ขาดของคณะอนุญาโตตุลาการดังกล่าว ผู้คัดค้านจึงยื่นอุทธรณ์คำพิพากษาของศาลปกครองชั้นต้นต่อศาลปกครองสูงสุด

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ลุ้น 2 คดีที่ค้างอยู่ ป.ป.ช.ชุดใหญ่ เคาะป่วยทิพย์ชั้น14-ศาลปกครองตัดสิน 'ปู' รับผิดทุจริตจำนำข้าว

นายไพศาล พืชมงคล นักกฎหมาย โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ก ระบุว่า สนิมเหล็กเกิดแต่เนื้อในเหล็ก สนิมเหล็กเกิดแต่เนื้อในเหล็ก เป็นคำโบราณ ที่ยังเป็นจริงอยู่ตลอด

มาแล้ว! ศาลปกครอง ร่อนเอกสารชี้แจงปม 'บิ๊กโจ๊ก' ยังไม่มีคำพิพากษาใดๆ

ศาลปกครอง เผยแพร่เอกสารชี้แจง กรณีที่มีสื่อมวลชนนำเสนอผลการพิจารณาคดีของศาลปกครองสูงสุด ในคดีที่พลตำรวจเอก สุรเชษฐ์ หักพาล ยื่นฟ้องขอเพิกถอนคำสั่งสำนักงานตำรวจแห่งชาติที่ให้ผู้ฟ้องคดีออกจากราชการไว้ก่อน นั้น

ชาวบ่อทอง ชลบุรี เฮ!ศาลปกครองสูงสุดสั่งเพิกถอนใบอนุญาตโรงงานยางพาราแล้ว

ที่ศาลปกครองสูงสุด ถ.แจ้งวัฒนะ นายศรีสุวรรณ จรรยา นายกสมาคมต่อต้านสภาวะโลกร้อน เปิดเผยว่า ตามที่ชาวบ้านบ้านหนองใหญ่-ทับสูง ตำบลบ่อทอง อำเภอบ่อทอง จังหวัดชลบุรี

ผบ.ตร. ไม่ขอก้าวล่วง ศาลปกครองสูงสุด ชี้ขาด 'บิ๊กโจ๊ก' ขอคุ้มครองชั่วคราว

พล.ต.อ.กิตติรัฐ พันธุ์เพ็ชร์ ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ (ผบ.ตร.) เปิดเผยถึงกรณีที่ศาลปกครองยกคำร้องคุ้มครองชั่วคำสั่งให้ออกจากราชการไว้ก่อนของ พล.ต.อ.สุรเชชษฐ์ หักพาล ว่า ตนขอให้ความเห็นแบบกว้าง ๆ

ศาลปกครองสูงสุด ปิดเงียบผลชี้ขาดคดีบิ๊กโจ๊ก สั่งเก็บหลักฐานฟันสื่อละเมิดอำนาจศาล

นายประสิทธิ์ศักดิ์ มีลาภ ประธานศาลปกครองสูงสุด เป็นประธานการประชุมใหญ่ตุลาการศาลปกครองสูงสุด

จบแล้วบิ๊กโจ๊ก! สะพัด ศาลปกครองสูงสุด ชี้คำสั่ง 'ให้ออกจากราชการ' ชอบด้วยกฎหมาย

ที่ศาลปกครองกลาง ถ.เเจ้งวัฒนะ มีการประชุมใหญ่ศาลปกครองสูงสุด โดยนายประสิทธิ์ศักดิ์ มีลาภ ประธานศาลปกครองสูงสุด เป็นประธานการประชุม