“ทิพานัน” เผยรัฐบาลสร้างภูมิทัศน์ใหม่พลิกโฉมนวัตกรรมการเงินไทย โชว์ความก้าวหน้าธุรกรรมการเงินระหว่างประเทศ หนุนการค้า การลงทุน การท่องเที่ยวและบริการ ชี้ไทยได้ประโยชน์ 4 เรื่อง จากนโยบายนวัตกรรม “การเชื่อมโยงระบบการชำระเงิน” ชูเป็นต้นแบบให้สมาชิกเอเปค
25 ต.ค.2565- น.ส.ทิพานัน ศิริชนะ รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่าตามที่รัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ได้ส่งเสริมและมุ่งมั่นพัฒนานวัตกรรมทางการเงินเพื่อเข้าสู่โลกการเงินดิจิทัลโดยเร็ว ธนาคารแห่งประเทศไทย จึงพัฒนากับธนาคารกลางอื่น ๆ ในภูมิภาคอาเซียนร่วมกันผลักดันโครงการ ASEAN Payment Connectivity ตั้งแต่ปี 2562 เพื่อให้บริการชำระเงินระหว่างประเทศในภูมิภาคมีความสะดวก ปลอดภัย และต้นทุนต่ำ ผลสำเร็จที่เห็นชัดคือ ประเทศไทยสามารถเชื่อมโยงระบบการชำระเงินระหว่างประเทศ (cross-border payment) สองรูปแบบคือ (1) การชำระเงินด้วย QR payment และ (2) การโอนเงินระหว่างประเทศ ผ่านบัญชีอย่างสะดวกและรวดเร็ว จนประเทศไทยเป็นผู้นำในภูมิภาคอาเซียนจากการมีจำนวนการเชื่อมโยงด้านการเงินมากที่สุด
“ในปัจจุบันมี 6 ประเทศนำร่อง การโอนเงินระหว่างประเทศกับไทย ( Cross-border QR Payment) คือ ญี่ปุ่น กัมพูชา เวียดนาม มาเลเซีย อินโดนีเซีย และสิงคโปร์ ไม่ต้องพกเงินสดจำนวนมาก ขณะที่อัตราแลกเปลี่ยนดีกว่าการใช้บัตรเครดิต วิธีการง่ายๆเพียงสแกนไทยคิวอาร์โค้ด ผ่านแอพพลิเคชั่นของธนาคารที่เข้าร่วมโครงการ 5 ธนาคารพาณิชย์ ได้แก่กรุงเทพ กสิกรไทย กรุงไทย ไทยพาณิชย์ และกรุงศรีอยุธยา” น.ส. ทิพานัน กล่าว
น.ส.ทิพานัน กล่าวว่า ซึ่งความสำเร็จนั้น เป็นการต่อยอดมาจากการพัฒนา Thai QR payment ภายใต้ระบบ PromptPay ของรัฐบาล พล.อประยุทธ์ จนทำให้ไทยมี QR code ที่เป็นมาตรฐานเดียวกันทั้งประเทศ และได้กลายมาเป็นบริการชำระเงินที่คนไทยคุ้นเคยในทุกวันนี้ จากโครงการที่ประสบผลสำเร็จทั้งทางด้านนวัตกรรมการเงินดังกล่าว ไทยจึงเสนอแนวปฏิบัติการเชื่อมโยงระบบการชำระเงินระหว่างเขตเศรษฐกิจ ภายใต้ชื่อ “APEC Policy Considerations for Developing Cross-Border Payments and Remittances” ในการประชุมรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังเอเปค ครั้งที่ 29 เมื่อวันที่ 20 ตุลาคม 2565 ที่ผ่านมา รวมทั้งยังได้จัดแสดงนวัตกรรมการชำระเงินทางระบบอิเล็กทรอนิกส์ (Digital Payment) ประกอบด้วย Cross-border QR Payment และ Digital Supply Chain Solution เพื่อเป็นแนวทางให้กับสมาชิกเอเปคอื่น ๆ นำนวัตกรรมนี้ไปประยุกต์ใช้กับประเทศสมาชิกเอเปคในอนาคต ซึ่งการนำเสนอนวัตกรรมการเงินดิจิทัลนี้ จะทำให้คนไทยและธุรกิจไทยได้ประโยชน์ 4 เรื่องคือ
1.ระบบการชำระเงินไทย จะมีโครงสร้างพื้นฐานและมีโอกาสขยายฐานไปสู่สมาชิกเอเปค ทั้ง 21 เขตเศรษฐกิจ ด้านการชำระเงิน ที่สอดรับกับการพัฒนาการของระบบเศรษฐกิจการเงินได้รวดเร็ว มีเสถียรภาพและประสิทธิภาพ รองรับการใช้ประโยชน์จากผู้ประกอบการที่หลากหลาย ก่อให้เกิดนวัตกรรมบริการชำระเงินที่ตอบโจทย์ผู้ใช้บริการ และมีโครงสร้างธรรมาภิบาลด้านการชำระเงินที่เหมาะสม รวมทั้งมีการกำกับดูแลที่ยืดหยุ่น มีประสิทธิผลและเท่าทันความเสี่ยงใหม่ในยุคดิจิทัล
2.ประชาชน มีบริการดิจิทัลเพย์เมนต์ ที่ครอบคลุม ในการโอนเงินระหว่างประเทศ( Cross-border QR Payment) จะทำให้ทุกการเดินทางในต่างประเทศ หรือทำธุรกรรมออนไลน์ระหว่างประเทศ แล้วไม่มีบัตรเครดิต สามารถโอนจ่ายง่าย สะดวก มีระบบป้องกันที่ปลอดภัย ทั่วทั้งกลุ่มอาเซียน และอนาคตในกลุ่มสมาชิกเอเปค ทั้ง 21 เขตเศรษฐกิจ ซึ่งจะมีค่าธรรมเนียมถูกและอัตราเรทค่าเงินที่ดี
3.ธุรกิจ-SMEs จะมีบริการชำระเงินที่ตอบโจทย์การทำธุรกิจการค้าและการชำระเงินดิจิทัลได้สะดวก และหากเข้าร่วมนวัตกรรมบริการการเงิน Digital Supply Chain Solution จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการดำเนินธุรกิจทั้งด้านการประหยัดเวลา ลดเอกสาร ลดต้นทุนการขยายธุรกิจ และเพิ่มโอกาสการเข้าถึงสินเชื่อได้ดีขึ้น รวดเร็ว เป็นการยกระดับศักยภาพ พลิกโฉมการดำเนินธุรกิจและสนับสนุนความสามารถในการแข่งขันในระดับสากล
4.ผู้ให้บริการชำระเงิน เช่น ธนาคารต่างๆ เพิ่มโอกาสและความสามารถในการแข่งขัน ตลอดจนการปรับตัวให้สอดรับกับโลกเงินดิจิทัล ด้วยเกณฑ์การกำกับดูแลที่ยืดหยุ่น ไม่เป็นอุปสรรคต่อการให้บริการและเอื้อต่อการพัฒนานวัตกรรมภายใต้การกำกับดูแลความเสี่ยงใหม่อย่างเท่าทันในยุคดิจิทัล
“การพัฒนานวัตกรรมทางการเงินของไทย ต้องใช้ทรัพยากรบุคคลที่มีความรู้หลากหลาย และต้องอาศัยความทุ่มเทจากทุกภาคส่วน โดยเฉพาะอย่างยิ่งธนาคารแห่งประเทศไทย รวมถึงต้องมีการสนับสนุนการวางโครงสร้างพื้นฐานที่ดีในด้านเทคโนโลยีจากรัฐบาล เพื่อการพัฒนาที่รวดเร็วเป็นธรรม ซึ่งรัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา เล็งเห็นความสำคัญจึงได้วางโครงสร้างไว้อย่างครบถ้วนและพร้อมเดินหน้าสร้างภูมิทัศน์พลิกโฉมภาคการเงินไทย ให้แข่งขันและล้ำหน้าในระดับโลกต่อไปอย่างยั่งยืน” น.ส.ทิพานัน กล่าว.
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
เริ่มวันแรก! เปิดลงทะเบียน 'คุณสู้ เราช่วย' ปลดหนี้ 3 แสนล้าน
นางสาวศศิกานต์ วัฒนะจันทร์ รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า รัฐบาล โดยธนาคารอาคารสงเคราะห์ (ธอส.) กระทรวงการคลัง ร่วมกับธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.)
คุมเข้ม 'แม่สอด' จ.ตาก เฝ้าระวังอหิวาตกโรค
นางสาวศศิกานต์ วัฒนะจันทร์ รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า จากกรณีพบผู้ป่วย ติดเชื้อ “อหิวาตกโรค” ในพื้นที่เขตเทศบาลแม่สอด จังหวัดตาก รัฐบาลโดยสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดตาก กระทรวงสาธารณสุข
รัฐบาลเชิญชวนประชาชนร่วมสวดมนต์ข้ามปี อุทิศถวายพระราชกุศล
น.ส.ศศิกานต์ วัฒนะจันทร์ รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรีเปิดเผยว่า จากผลสำรวจความคิดเห็นของเด็ก เยาวชน และประชาชน ต่อกิจกร
ลงทะเบียนด่วน! แจกซิมเนตฟรี 'ผู้ถือบัตรคนพิการ' หมดเขต 31 ธ.ค.
นายอนุกูล พฤกษานุศักดิ์ รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.)
รัฐบาลขีดเส้น 30 วัน เร่งเยียวยาเกษตรกรใต้ 9.4 หมื่นราย
'อนุกูล' เผยรัฐบาลเร่งเยียวยาเกษตรกรชาวใต้หลังน้ำท่วม ตีกรอบสำรวจความเสียหาย 30 วัน รับเงินช่วยเหลือภายใน 10 วัน หลัง ธกส. อนุมัติ
รัฐบาลชวน 'ครู-นร.' ลงทะเบียน 'ซิมพร้อมเรียน' ใช้เน็ตฟรี
นายคารม พลพรกลาง รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า รัฐบาล โดยกองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา (กสศ.) ได้ร่วมมือกับคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.)