ชธ. โต้การเข้าพื้นที่ล่าช้าแหล่งเอราวัณไม่ใช่สาเหตุหลักทำค่าไฟแพง พร้อมประสานงานจัดหาแหล่งก๊าซเพิ่มเติมในช่วงแรก

21 ต.ค. 2565 – นายสราวุธ แก้วตาทิพย์ อธิบดีกรมเชื้อเพลิงธรรมชาติ เปิดเผยว่า จากกรณีที่มีการกล่าวอ้างว่าสาเหตุที่ค่าไฟแพงขึ้นในปัจจุบันเป็นผลมาจากความล่าช้าในการเข้าพื้นที่เพื่อเตรียมการสำรวจและผลิตปิโตรเลียมในแหล่งก๊าซธรรมชาติเอราวัณ เนื่องจากกรมตั้งเงื่อนไขในการรื้อถอนแท่นผลิตปิโตรเลียม โดยเชื่อมโยงกับกรณีข้อพิพาทเกี่ยวกับการรื้อถอนสิ่งติดตั้งที่ใช้ในการประกอบกิจการปิโตรเลียมนั้น กรมเชื้อเพลิงธรรมชาติในฐานะหน่วยงานภาครัฐที่กำกับ ดูแลการสำรวจและผลิตปิโตรเลียมในประเทศ ขอชี้แจงว่าทั้ง 2 กรณีดังกล่าวไม่เกี่ยวข้องกัน และไม่ใช่สาเหตุหลักของค่าไฟฟ้าที่แพงขึ้น 

ซึ่งที่ผ่านมากรมฯ ได้เร่งประสานงานทำให้ผู้รับสัญญาแบ่งปันผลผลิตสามารถเข้าไปดำเนินการต่าง ๆ และสามารถผลิตปิโตรเลียมได้อย่างต่อเนื่องหลังจากสิ้นอายุสัมปทาน (วันที่ 23 เม.ย. 2565)  และสามารถรักษาระดับการผลิตได้ที่ 210 ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวัน ซึ่งแม้จะไม่เป็นไปตามเป้าที่กำหนดไว้ แต่ก็จะเป็นเพียงช่วงเริ่มแรกของสัญญาฯ เท่านั้น และในช่วงที่ยังไม่สามารถผลิตก๊าซธรรมชาติจากแหล่งเอราวัณ (แปลง G1/61) ได้อย่างเต็มกำลัง กรมฯได้มีการเร่งจัดหาก๊าซธรรมชาติเข้าระบบเพิ่มเติม ประกอบด้วยการเร่งรัดการลงทุนของผู้รับสัญญาในแปลง G1/61 เพื่อเพิ่มกำลังการผลิตให้เป็นไปตามเป้าโดยเร็ว การประสานผู้รับสัมปทานและผู้รับสัญญาในแหล่งอื่น ๆ ให้ผลิตอย่างเต็มความสามารถของแหล่ง การจัดทำสัญญาซื้อขายก๊าซฯ เพิ่มเติมในแหล่งที่มีศักยภาพ  

สำหรับกรณีข้อพิพาทการรื้อถอนสิ่งติดตั้งที่ใช้ในกิจการปิโตรเลียมของแหล่งก๊าซธรรมชาติเอราวัณระหว่างรัฐบาลไทยและผู้รับสัมปทานรายเดิมซึ่ง ขณะนี้อยู่ในกระบวนการระงับข้อพิพาทโดยกระบวนการอนุญาโตตุลาการ เกิดจากความเห็นที่แตกต่างกันในการตีความข้อกฎหมายเกี่ยวกับภาระหน้าที่และความรับผิดชอบตามกฏหมายของผู้รับสัมปทานในการรื้อถอนฯ จึงไม่ได้มีความเกี่ยวข้องกับการเข้าพื้นที่ล่าช้าแต่อย่างใด เพราะการเข้าพื้นที่เป็นเรื่องที่เกี่ยวกับความร่วมมือระหว่างผู้รับสัมปทานรายเดิมและผู้รับสัญญาแบ่งปันผลผลิต  

ทั้งนี้ ปัจจุบันรัฐได้ดำเนินการทุกอย่างเกี่ยวกับกรณีพิพาทดังกล่าวภายใต้กฎหมายที่เกี่ยวข้อง โดยยึดผลประโยชน์ของประเทศเป็นหลัก โดยเฉพาะการดูแลสิ่งแวดล้อมในการประกอบกิจการปิโตรเลียมที่ผู้รับสัมปทานต้องรับผิดชอบตามกฏหมาย ซึ่งรวมถึงการปิดและสละหลุมแบบถาวร โดยที่ผ่านมามีผู้ประกอบการสำรวจและผลิตปิโตรเลียมได้ถือปฏิบัติตามกฎหมายที่เกี่ยวข้องอย่างถูกต้อง ตามหลักการของผู้ประกอบกิจการปิโตรเลียมที่ดี อาทิ 1. ซิโน-ยู.เอส. ปิโตรเลียม อิงค์ 2. เอ็กซอน โมบิล เอ็กซ์โพลเรชั่น แอนด์ โพรดักชั่น โคราช อิงค์ 3. เมดโค เอนเนอร์จี ไทยแลนด์ (บัวหลวง) ลิมิเต็ด 4. บริษัท บุษราคัม มโนรา จำกัด และ 5. บริษัท ปตท.สำรวจและผลิตปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน) เป็นต้น 

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ลุ้นศาลปกครองสูงสุดชี้ขาดคดีขุดเจาะปิโตรเลียมบนบกที่บุรีรัมย์!

ระทึก! 13.30 น.ศาลปกครองสูงสุดเตรียมชี้ขาดปมฟ้องขุดเจาะปิโตรเลียมบนบกที่บุรีรัมย์ หลังศาลปกครองชั้นต้นพิพากษายกฟ้องมาแล้ว เพราะผู้ฟ้องไม่ใช่ผู้เสียหาย

กรมเชื้อเพลิงแย้ม 2 บริษัทสนใจยื่นขอสิทธิสำรวจและผลิตปิโตรเลียม

ชธ.เผยมี 2 บริษัทสนใจยื่นขอสิทธิสำรวจและผลิตปิโตรเลียม ครั้งที่ 24 คาดได้ผู้ชนะภายในเดือนก.พ. 2566 เสริมความมั่นคงด้านพลังงานให้กับประเทศในระยะยาว

กรมเชื้อเพลิงฯชวนเอกชนไทย-ต่างชาติยื่นขอสิทธิสำรวจและผลิตปิโตรเลียม ครั้งที่ 24

กรมเชื้อเพลิงธรรมชาติ ได้เปิดกว้างให้เอกชนทั้งในประเทศและต่างประเทศ เข้ามามีส่วนร่วมในการขอสิทธิสำรวจและผลิตปิโตรเลียมในครั้งที่ 24

เชฟรอนฯ และ ปตท.สผ. ลงนามข้อตกลงเตรียมเข้าพื้นที่เอราวัณ รับข้อสรุปล่าช้า 2 ปี

เชฟรอนฯ และ ปตท.สผ. ลงนามข้อตกลงความร่วมมือฯเตรียมเข้าพื้นที่เอราวัณ ผลิตก๊าซต่อเนื่อง รับสรุปข้อตกลงล่าช้า 2 ปี หวั่นส่งผลกระทบต่อปริมาณการผลิตก๊าซธรรมชาติในช่วงเปลี่ยนผ่าน ย้ำทั้ง 2 บริษัทพร้อมที่จะดำเนินการบรรเทาผลกระทบที่อาจเกิดขึ้น