'ทสท' จวกควบรวม 'ทรู-ดีแทค' สร้างระบอบทุนผูกขาด อำนาจนิยม ผลักภาระผู้บริโภค

'ไทยสร้างไทย' จวก ควบรวม 'ทรู-ดีแทค' สร้างระบอบทุนผูกขาด สะท้อนถึงระบอบอำนาจนิยมที่อาจเป็นอันตรายต่อประชาชน ผลักภาระผู้บริโภค หวั่น ไม่เกิดการแข่งขันด้านราคา

21 ต.ค.2565 - น.ส.ธิดารัตน์ ยิ่งเจริญ โฆษกพรรคไทยสร้างไทย กล่าวว่า ข่าวที่ประชุมคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และ กิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ หรือ บอร์ด กสทช. มีมติเสียงข้างมากรับทราบการควบรวมกิจการโทรคมนาคมของ บริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ ทรู และ บริษัท โทเทิ่ล แอคเซ็ส คอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ ดีแทค เพราะมีแนวโน้มที่จะนำไปสู่การผูกขาดในด้านสาธารณูปโภค ที่ควรเป็นปัจจัยพื้นฐานในการดำรงชีวิตของประชาชน ทำให้คู่แข่งขันในตลาดจะเหลือเพียงสองเจ้าใหญ่ คือ เอไอเอสและทรูกับดีแทคที่ควบรวมกัน ถึงเแม้จะมีการกำหนดเงื่อนไขเฉพาะเพื่อรองรับและคุ้มครองผู้บริโภคว่าต้องพ้น3ปีไปก่อนจึงจะสามารถควบรวมได้อย่างสมบูรณ์ แต่ก็มีความเสี่ยงในอนาคตที่จะทำให้ทิศทางราคาการใช้บริการโทรคมนาคมของประชาชนถูกกำหนดโดยเจ้าตลาดเพียง 2 บริษัทเท่านั้น

"การที่บริษัทโทรคมนาคมขนาดใหญ่สองบริษัทควบรวมกิจการกันนั้นย่อมส่งผลกระทบต่อระบบเศรษฐกิจเป็นวงกว้าง เพราะบริษัทมหาชนย่อมคำนึงถึงผลประกอบการเป็นหลัก แต่กิจการโทรคมนาคมนั้นเป็นสาธารณูปโภคที่ประชาชนทุกคนจำเป็นต้องใช้ การปล่อยให้มีบริษัทยักษ์ใหญ่เพียง 2 บริษัท ดำเนินกิจการเช่นนี้จะส่งผลต่อค่าครองชีพของประชาชนอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ จนอาจทำให้มีการฮั้วกันและไม่แข่งขันตัดราคาซึ่งกันและกันของสองบริษัท จนทำให้ราคาอินเทอร์เน็ต และโทรศัพท์ของประชาชนพุ่งสูงขึ้นได้ จึงอยากขอให้ประชาชนช่วยกันจับตามอง"

น.ส.ธิดารัตน์ เสนอว่ารัฐบาลควรพิจารณาสนับสนุนรัฐวิสาหกิจของรัฐเองมากขึ้น อย่างเช่น บริษัทโทรคมนาคมแห่งชาติ จำกัด (มหาชน) หรือ NT (กสท. และ TOT เดิม) โดยให้ NT เข้ามาถ่วงดุลในตลาดโทรคมนาคมเพิ่มเติม โดยเสนอให้มีราคาที่ต่ำกว่าบริษัทเอกชนทั้งสองบริษัท เพื่อดึงดูดให้ประชาชนเข้ามาใช้บริการกับรัฐวิสาหกิจเพิ่มขึ้น และเป็นการช่วยดึงราคาในตลาดไม่ให้มีค่าบริการที่สูงเกินไป รวมถึงการันตีว่าประชาชนจะสามารถเข้าถึงสาธารณูปโภคได้อยู่อย่างมีประสิทธิภาพ

"การที่ กสทช. อนุญาติให้เกิดการควบรวมกิจการของทุนขนาดใหญ่สองบริษัทในกิจการโทรคมนาคมนั้นไม่เพียงแต่เป็นการสนับสนุนให้เกิดทุนผูกขาดขึ้นในประเทศ แต่ยังสะท้อนถึงระบอบอำนาจนิยมที่อาจเป็นอันตรายต่อประชาชนได้ เพราะไม่ได้มองถึงปัญหาของประชาชนคนตัวเล็ก ที่ต้องแบกรับภาระค่าใช้จ่ายและค่าครองชีพในสาธารณูปโภค และรัฐควรที่จะต้องคำนึงถึงปัญหาเรื่องการผูกขาดที่เกิดขึ้นในประเทศไทยให้มากกว่านี้ โดยเฉพาะในกิจการที่เกี่ยวข้องกับวิถีชีวิตประจำวันของประชาชน"น.ส.ธิดารัตน์ กล่าว

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ภาคประชาชนตั้ง 'เครือข่ายประชาธิปไตยทางเศรษฐกิจ' สู้ทุนผูกขาดครอบรัฐ

คณะกรรมการรณรงค์เพื่อประชาธิปไตย (ครป.) และสภาองค์กรของผู้บริโภค ร่วมจัดประชุมเครือข่ายประชาธิปไตยทางเศรษฐกิจ และอภิปรายเรื่อง เรื่อง "ทุนผูกขาดเศรษฐกิจครอบรัฐ ผลกระทบต่อผู้บริโภค กับวิกฤตการเมืองไทย"

'กรณ์' นำ ชาติพัฒนากล้า ปราศรัยสุราษฎร์ ย้ำจุดยืนชนทุนผูกขาด เอาเปรียบประชาชน

'กรณ์' นำชาติพัฒนากล้า ปราศรัยสุราษฎร์ธานี ย้ำจุดยืนชนทุนผูกขาด เอาเปรียบปชช. ลั่น ยกสุราษฎร์เป็นโมเดล 'บริษัทมหาชนของเกษตรกร'แห่งแรกของไทย 'อรรถวิชช์' ถล่มรัฐบาลเตือนหลายครั้งราคา น้ำมัน ค่าไฟ ข้าวของจะแพงแต่ไม่ทำ

'ธนาธร' ยก 'ก้าวไกล' กล้าปฏิรูปชนต้นตอปัญหา ปัดสุดโต่ง แต่คือข้อเสนอขั้นต่ำ

'ธนาธร' ลั่นประเทศไทยจะไปต่อต้องเปลี่ยนการเมือง ยก 'ก้าวไกล' กล้าปฏิรูปชนต้นตอปัญหา ปัดสุดโต่งแต่คือข้อเสนอขั้นต่ำของทุกประเทศที่เจริญแล้ว ปลุกอำนาจอยู่ในบัตรเลือกตั้ง ส่งต่อสังคมที่ดีกว่าให้คนรุ่นหลัง

'ไทยสร้างไทย' ชงปฏิวัติการศึกษาลดเวลาเรียน 3-4 ปี!

ไทยสร้างไทยประกาศ เดินหน้าปฏิวัติการศึกษา ระบุนโยบายเรียนฟรีจบปริญญาตรีต้องฟรีจริง ชูการสร้างเด็กให้รู้จักค้นหาตัวตนเร็วขึ้น

สภาที่ 3 ชำแหละปัญหาค่าไฟแพง รัฐบาลปล่อยให้เอกชนยึดครองผูกขาดการผลิตพลังงาน

ที่สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย คณะกรรมการญาติวีรชนพฤษภา 35 และสภาที่ 3 จัดเวทีเสวนา "ปัญหาค่าไฟแพง กับการจัดการพลังงานที่เป็นธรรมและยั่งยืน"

'พิธา' แฉแก้กฎกระทรวงการผลิตสุรา สร้างกำแพงขึ้นมาใหม่ กีดกันผู้ประกอบการรายย่อย

'พิธา' จับพิรุธรัฐบาล แก้กฎกระทรวงการผลิตสุราจงใจใช้เป็นข้ออ้างล้มกฎหมายสุราก้าวหน้า แฉสร้างกำแพงขึ้นมาใหม่ที่ยังมีผลกีดกันผู้ประกอบการรายย่อย ป้องผลประโยชน์กลุ่มทุน จึงอย่าหลงเชื่อวาทกรรมที่รัฐบาลพูด