กสม.โผล่ร่วมแจมดีล 'ทรู-ดีแทค' ควบรวม ออกแถลงการณ์เรียกร้อง 3 ข้อก่อนที่ 'กสทช.' จะตัดสินในวันพฤหัสบดีที่ 20 ตุลาคม
19 ต.ค.2565 - คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.) ได้ออกแถลงการณ์เรื่องกรณีการควบรวมกิจการโทรคมนาคมระหว่างบริษัท ทรูคอปอเรชั่นและดีแทค ระบุว่า ตามที่มีการประกาศควบรวมกิจการในธุรกิจโทรคมนาคมระหว่างบริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) (ทรู) และบริษัท โทเทิ่ล แอ๊คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) (ดีแทค) ส่งผลให้เกิดกระแสคัดค้านจากนักวิชาการ สภาองค์กรของผู้บริโภค และเครือข่ายองค์กรของผู้บริโภค ด้วยความกังวลด้านผลกระทบต่อประสิทธิภาพการแข่งขันและการมีอำนาจเหนือตลาดในธุรกิจโทรคมนาคมอย่างมีนัยสำคัญ อีกทั้งการควบรวมกิจการอาจส่งผลต่อทางเลือกของผู้บริโภค ที่นำไปสู่ปัญหาความเหลื่อมล้ำทางด้านดิจิทัล และราคาค่าบริการที่ไม่เป็นธรรม โดยที่คณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) จะพิจารณาว่าจะอนุญาตให้มีการควบรวมกิจการหรือไม่ ในวันที่ 20 ตุลาคม 2565 นั้น
คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.) ซึ่งมีหน้าที่และอำนาจตามกฎหมายในการตรวจสอบการละเมิดสิทธิมนุษยชน ส่งเสริมการเคารพสิทธิมนุษยชน จัดทำรายงานการประเมินสถานการณ์สิทธิมนุษยชน รวมทั้งจัดทำข้อเสนอแนะต่อรัฐสภา คณะรัฐมนตรี และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้ป้องกันและแก้ไขปัญหาการละเมิดสิทธิมนุษยชน ได้ติดตามสถานการณ์ความเคลื่อนไหวเกี่ยวกับการควบรวมกิจการโทรคมนาคมของทรูและดีแทคมาอย่างต่อเนื่อง ประกอบกับเครือข่ายสลัม 4 ภาคและผู้แทนสภาองค์กรของผู้บริโภคได้เข้ายื่นหนังสือร้องเรียนกรณีดังกล่าวต่อ กสม. เมื่อวันที่ 17 ตุลาคม 2565
กสม. เห็นว่าบริการโทรคมนาคมเป็นบริการจำเป็นพื้นฐานในการดำเนินชีวิตของประชาชนผู้บริโภคในยุคปัจจุบัน การควบรวมกิจการของบริษัทโทรคมนาคมทั้งสองแห่ง ซึ่งเป็นกิจการประเภทเดียวกัน อาจเข้าข่ายเป็นการผูกขาดและมีอำนาจเหนือตลาด ทำให้ผู้บริโภคขาดทางเลือกหรือมีทางเลือกน้อยลง โดยเฉพาะผู้บริโภคกลุ่มเปราะบางหรือกลุ่มชายขอบ ซึ่งอาศัยอยู่ในพื้นที่ห่างไกล มีอุปสรรคในการเข้าถึงบริการโทรคมนาคม (สัญญาณอินเทอร์เน็ตและโทรศัพท์เคลื่อนที่) และมีรายได้น้อยอยู่แล้ว อาจต้องเสียค่าบริการในอัตราที่สูงขึ้น ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อสิทธิมนุษยชนขั้นพื้นฐานของประชาชน ด้วยเหตุดังกล่าว กสม. จึงมีข้อเสนอแนะต่อการพิจารณาควบรวมกิจการบริษัทโทรคมนาคมทั้งสองแห่ง ดังนี้
1.ขอให้ยึดประโยชน์สูงสุดของประชาชน และประโยชน์สาธารณะ ตามมาตรา 60 วรรคสอง รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2560
2.ขอให้เปิดเผยผลการศึกษาของที่ปรึกษาอิสระจากต่างประเทศ ที่สำนักงาน กสทช. จัดจ้างให้มีการศึกษาผลกระทบกรณีการควบรวมธุรกิจระหว่างทรูและดีแทคต่อสาธารณะ และนำผลการศึกษามาประกอบการพิจารณาด้วย
และ 3.ขอให้มีการรับฟังความคิดเห็นจากกลุ่มประชาชนที่อาจได้รับผลกระทบจากการควบรวมกิจการดังกล่าวอย่างกว้างขวาง รวมทั้งสภาองค์กรของผู้บริโภค ซึ่งเป็นองค์กรตามรัฐธรรมนูญ
ทั้งนี้ เพื่อให้การประกอบธุรกิจด้านกิจการโทรคมนาคม เป็นไปอย่างมีธรรมาภิบาล สามารถแข่งขันกันได้อย่างเสรี ไม่ผูกขาดอำนาจเหนือตลาด เพื่อคุ้มครองสิทธิประโยชน์ของประชาชนผู้บริโภค อันจะส่งผลต่อการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมอย่างเป็นธรรมและยั่งยืนต่อไป
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
ทรู เตือนประชาชน มิจฉาชีพอ้างชื่อและโลโก้ ชวนเทรดหุ้น แนะอย่าหลงเชื่อ
ทรู แจ้งเตือน อย่าหลงเชื่อเพจอ้างชื่อและใช้โลโก้ ทรู เชิญชวนเข้าคอร์สเทรดหุ้นออนไลน์และลงทุนซื้อ-ขายหุ้นราคาต่ำ
ทรู แจ้งเตือน อย่าหลงเชื่อเพจอ้างชื่อและใช้โลโก้ เชิญเข้าคอร์สเทรดหุ้นออนไลน์และชวนลงทุนและซื้อ-ขายหุ้นราคาต่ำ
ตามที่ บริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) (“บริษัทฯ” หรือ “ทรู”)ได้ตรวจพบว่า มีการแอบอ้างนำชื่อ โลโก้ของบริษัทฯ ไปใช้เพื่อเชิญชวนเข้าร่วมคอร์สเรียนเทรดออนไลน์ และรับคำปรึกษาด้านการลงทุนจากโค้ชมืออาชีพ
แก๊งคอลฯ ลูบคม ปธ.กมธ.ตำรวจ ลูกสาวถูกหลอกรีดเงิน 6 แสน จี้ ผบ.ตร-นายกฯ แก้ปัญหาด่วน
แก๊งคอลเซ็นเตอร์ ลูบคม 'ชัยชนะ' ปธ.กมธ.ตำรวจ โวยลูกสาวถูกหลอกรีดเงิน 6 แสน ประนามพฤติกรรมเลวทราม จี้ ผบ.ตร-นายกฯ แก้ปัญหา คอลเซ็นเตอร์ด่วน
'สภาองค์กรของผู้บริโภค' เผยแพร่บทความ 'องุ่นไชน์มัสแคท เมื่อสังคมไทยหยิบไม้บรรทัดคนละอัน'
สภาองค์กรของผู้บริโภค เผยแพร่บทความ เรื่อง องุ่นไชน์มัสแคท เมื่อสังคมไทยหยิบไม้บรรทัดคนละอัน มีเนื้อหาดังนี้
กสม.ขยับ! ออกแถลงการณ์เรียกร้อง 3 ข้อในคดีตากใบ
คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.) ออกแถลงการณ์
กสม. ชี้การปฏิบัติหน้าที่ของตำรวจในเหตุการณ์ที่ 'สารวัตรกานต์' เสียชีวิต เป็นการละเมิดสิทธิฯ
กสม. ชี้ การปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ตำรวจในเหตุการณ์ที่ 'สารวัตรกานต์' เสียชีวิต เป็นการละเมิดสิทธิฯ แนะ ตร. อบรมเสริมความรู้ด้านการบริหารเหตุการณ์วิกฤติ