16 ต.ค. 2565 – กองอำนวยการน้ำแห่งชาติ ขอรายงานสถานการณ์และการบริหารจัดการน้ำ ประจำวันที่ 16 ตุลาคม 2565 ดังนี้
1.ประกาศกองอำนวยการน้ำแห่งชาติ
ประกาศกองอำนวยการน้ำแห่งชาติ ฉบับที่ 50/2565 ลงวันที่ 11 ตุลาคม 2565 กองอำนวยการน้ำแห่งชาติ เฝ้าระวังระดับน้ำบริเวณแม่น้ำท่าจีน กองอำนวยการน้ำแห่งชาติ ติดตามสถานการณ์น้ำในลุ่มน้ำท่าจีน พบว่ามีฝนตกหนักในช่วงวันที่ 9 – 10 ตุลาคม 2565 บริเวณตอนบนเขื่อนกระเสียว ส่งผลให้วันที่ 11 ตุลาคม 2565 มีน้ำปริมาณมากไหลเข้าเขื่อนกระเสียว 15 ล้านลูกบาศก์เมตร ทำให้มีปริมาณน้ำเก็บกัก 318 ล้านลูกบาศก์เมตร คิดเป็นร้อยละ 106 และมีน้ำไหลผ่านอาคารระบายน้ำล้นและอาคารระบายน้ำในตัวเขื่อน รวม 130 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที ลงสู่ลำห้วยกระเสียวและแม่น้ำท่าจีนตามลำดับ ซึ่งจะส่งผลให้ระดับน้ำสูงขึ้นในช่วงวันที่ 13 – 16 ตุลาคม 2565
ประกอบกับกรมอุทกศาสตร์ กองทัพเรือ ได้คาดการณ์ระดับน้ำทะเลหนุน ส่งผลให้ระดับน้ำในแม่น้ำท่าจีน บริเวณปากน้ำท่าจีน จังหวัดสมุทรสาคร และพื้นที่ใกล้เคียง จะเพิ่มสูงขึ้นกว่าปกติ จึงขอให้เฝ้าระวังผลกระทบที่อาจเกิดขึ้น ได้แก่ ลำห้วยกระเสียว บริเวณพื้นที่ลุ่มต่ำริมแม่น้ำ ตำบลแจงงาม และหนองโพธิ์ อำเภอหนองหญ้าไซ ตำบลหนองมะค่าโมง อำเภอด่านช้าง ตำบลกระเสียว และหนองสะเดา อำเภอสามชุก ตำบลหนองกระทุ่ม ป่าสะแก วังศรีราช หัวเขา และบ่อกรุ อำเภอเดิมบางนางบวช จังหวัดสุพรรณบุรี ระดับน้ำจะเพิ่มสูงขึ้นและล้นตลิ่งประมาณ 0.10 – 0.15 เมตร และแม่น้ำท่าจีน บริเวณตั้งแต่อำเภอสามชุก ศรีประจันต์ เมืองสุพรรณบุรี บางปลาม้า และสองพี่น้อง จังหวัดสุพรรณบุรี อำเภอบางเลน นครชัยศรี และสามพราน จังหวัดนครปฐม อำเภอกระทุ่มแบน และเมืองสมุทรสาคร จังหวัดสมุทรสาคร ระดับน้ำจะเพิ่มสูงขึ้นจากเดิมประมาณ 0.15 – 0.30 เมตร
2.ผลการดำเนินงานตามมาตรการรองรับฤดูฝน ปี 2565
กรุงเทพมหานคร ลงพื้นที่ตรวจสอบน้ำท่วมขังในชุมชนวัดเทพนารี เขตบางพลัด และข้างสำนักงาน เขตบางพลัด เพื่อตรวจสอบการรั่วของแนวป้องกันน้ำท่วม เนื่องจากมีน้ำรั่วหลังแนวเขื่อน พร้อมกับดำเนินการเรียงกระสอบทรายป้องกันในจุดที่เป็นช่องเปิดและฟันหลอรวมถึงนำเครื่องสูบน้ำมาติดตั้งเพิ่มเติมเพื่อสูบน้ำออกจากบริเวณบ้านเรือน
3.สถานการณ์น้ำท่วม
อิทธิพลจากมรสุมตะวันตกเฉียงใต้พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทย รวมถึงพายุ “โนรู (NORU)” ที่เข้าประเทศไทยตั้งแต่วันที่ 28 กันยายน 2565 ทำให้มีฝนตกหนักถึงหนักมากกับมีลมแรง บริเวณภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง ภาคตะวันออก ภาคใต้ และอ่าวไทย ประกอบกับมีการระบายน้ำจากเขื่อนลงแม่น้ำสายหลัก และลำน้ำสาขา ซึ่งส่งผลให้เกิดน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก น้ำล้นตลิ่งและน้ำท่วมขัง ระหว่างวันที่ 28 ก.ย. – 15 ต.ค. 65 จำนวน 59 จ. 314 อ. 1,574 ต. 9,669 ม. ประชาชนได้รับผลกระทบ 425,287 ครัวเรือน ปัจจุบันยังคงมีสถานการณ์อุทกภัยในชุมชนเมืองและพื้นที่เกษตรกรรม รวม 34 จังหวัด ภาคเหนือ 7 จังหวัด จังหวัดลำปาง พิจิตร พิษณุโลก นครสวรรค์ สุโขทัย เพชรบูรณ์ และตาก ภาคกลาง 12 จังหวัด จังหวัดลพบุรี สระบุรี ปทุมธานี พระนครศรีอยุธยา อ่างทอง สิงห์บุรี ชัยนาท อุทัยธานี สุพรรณบุรี กาญจนบุรี นครปฐม และนนทบุรี ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 12 จังหวัด จังหวัดหนองบัวลำภู ชัยภูมิ ขอนแก่น ร้อยเอ็ด มหาสารคาม ยโสธร อุบลราชธานี นครราชสีมา ศรีสะเกษ สุรินทร์ บุรีรัมย์ และกาฬสินธุ์ ภาคตะวันออก 3 จังหวัด จังหวัดฉะเชิงเทรา ปราจีนบุรี และนครนายก
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
ธนกรเผยคนเมืองคอนปลื้ม 'อิ๊งค์-อนุทิน' ลงพื้นที่น้ำท่วม
'ธนกร' เผยประสานทีมท้องถิ่นนครศรีธรรมราช ลงช่วยผู้ประสบภัยน้ำท่วมไม่หยุด บอกชาวบ้านปลื้ม 'นายกฯ-อนุทิน' รุดเยี่ยมชาวเมืองคอน-สุราษฎร์ ขณะ 'พีระพันธุ์-เอกนัฏ' นำ สส.ลงตามสมทบ
นายกฯ อิ๊งค์ลั่นกลาง ครม.พร้อมลงภาคใต้แต่ไม่รู้เมื่อไหร่!
นายกฯ แจ้งที่ประชุม ครม. พร้อมลงภาคใต้ ขอ ศปช.ส่วนหน้าสรุปแผนแก้ไขน้ำท่วมอย่างเป็นระบบ ทั้งระยะสั้น-ระยะยาว เพื่อแก้ไขปัญหาน้ำท่วมซ้ำซาก
ปัตตานีหนัก 2 ชุมชน ในเทศบาลน้ำท่วม 1-2เมตร น้ำเชี่ยวใช้เรือไม่ได้
ปัตตานี 2ชุมชนในเทศบาลท่วมหนักสุดสู ง1-2เมตร น้ำเชี่ยวใช้เรือไม่ได้ขณะที่ช้าวบ้านต้องการข้าวสารอาหารแห้ง
'ปัตตานี' จมน้ำประกาศภัยภิบัติ 12 อำเภอสังเวยแล้ว 1 ชีวิต
ปัตตานีท่วม 12 อำเภอภัยพิบัติแล้ว กระแสน้ำพัดร่างสาวจมน้ำทหารค้นหาพบร่างไร้วิญญาณ
'ธนกร' ขอเร่งช่วย 'ผู้ป่วยติดเตียง-เด็ก-คนแก่' ในเหตุน้ำท่วมชายแดนใต้
'ธนกร' ขอรัฐบาล-กองทัพ เร่งเข้าช่วยผู้ป่วยติดเตียง เด็ก-คนแก่เหตุน้ำท่วมชายแดนใต้ ฝาก นายกฯ-มท.1 วางแผนรับมือหลังอุตุฯ เตือน 13 จังหวัดใต้รับผลกระทบแน่ ชี้ ต้องแก้ปัญหาระยะยาว ป้องกันท่วมซ้ำซาก
ทุ่งบางระกำ รับน้ำเหนือจากสุโขทัย เข้าทุ่งกักเก็บแล้ว 143% แม่น้ำยมเพิ่มอีก 30 ซม.
ผู้สื่อข่าวรายงานสถานการณ์น้ำท่วมในพื้นที่จังหวัดพิษณุโลก พบว่า ตั้งแต่วันที่ 26 ก.ย.ถึง 8 ต.ค. 2567 มีพื้นที่ได้รับกระทบ จำนวน 304 หมู่บ้านจาก 50 ตำบล ในพื้นที่ 9 อำเภอของจ.พิษณุโลก ซึ่งส่วนใหญ่จะรับน้ำเหนือผ่านจังหวัดสุโขทัย