กทม.เดินหน้ารถไฟฟ้าสายสีเทาเล็งชงครม. เคาะปี 66

กทม. ซาวด์เสียงเอกชลงทุนโครงการรถไฟฟ้าสายสีเทา ช่วง“วัชรพล-ทองหล่อ” วงเงิน 2.7 หมื่นล้าน เดินทางเชื่อทรถไฟฟ้า 5 สาย คาดสรุปผล มี.ค. 65 เดินหน้าชงครม.ปี 66 คาดเปิดให้บริการปี 73

12 พ.ย. 2564 นายขจิต ชัชวานิชย์ ปลัดกรุงเทพมหานคร เป็นประธานเปิดการประชุมสัมมนาปฐมนิเทศโครงการ ในรูปแบบ Online ผ่านระบบ Zoom งานจ้างที่ปรึกษาศึกษาและวิเคราะห์โครงการรถไฟฟ้ารางเดี่ยว (Monorail) สายสีเทา (ช่วงวัชรพล-ทองหล่อ) วงเงิน 27,500 ล้านบาท ให้สอดคล้องตามพระราชบัญญัติการร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชน พ.ศ. 2562 ในหมวด 4 ส่วนที่ 1 การเสนอโครงการ เพื่อแนะนำโครงการ นำเสนอข้อมูลการทบทวนผลการศึกษาและรูปแบบรายละเอียด และขอบเขตการศึกษาและวิเคราะห์โครงการตามพระราชบัญญัติการ     ร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชน พ.ศ. 2562 พร้อมทั้งรับฟังความคิดเห็น และข้อเสนอแนะที่เป็นประโยชน์ต่อการศึกษาโครงการ

สำหรับแผนการดำเนินการโครงการรถไฟฟ้าสายสีเทา มีระยะทางรวมระยะทาง 39.91 กิโลเมตร (กม.) โดยมีรูปแบบโครงการเป็นรถไฟฟ้ารางเดี่ยว (Monorail) จะทำการศึกษาและจัดทำรายงานการร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชน PPP  ตามมาตรา 22 คาดว่าจะเสนอให้ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี(ครม.) ในปี2566 และจะดำเนินการคัดเลือกเอกชนเข้าร่วมลงทุนฯรามถึงการจัดการกรรมสิทธิ์ที่ดิน ภายในปี 2567-2568 คาดว่าจะดำเนินการก่อสร้าง 4 ปี เริ่มตั้งแต่ปี 2569-2572 และจะเปิดให้บริการภายในปี 2573

ทั้งนี้ในส่วนของรายงานการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม(อีไอเอ) ยังคงเดินหน้าต่อเนื่อง โดยขณะนี้ผ่านความเห็นชอบจากคณะกรรมการผู้ชำนาญการพิจารณารายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม (คชก.) แล้ว  อยู่ระหว่างปรับปรุงรายงานอีไอเอ ครั้งสุดท้าย เพื่อนำเสนอคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ (กก.วล.) พิจารณาต่อไป

นายขจิต กล่าวว่า โครงการรถไฟฟ้าสายสีเทา ช่วงวัชรพล-ทองหล่อ  จัดเป็นหนึ่งในโครงการตามแผนแม่บทระบบขนส่งทางรางในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ซึ่งที่ผ่านมา กรุงเทพมหานคร โดยสำนักการจราจรและขนส่ง (สจส.) ได้ดำเนินการศึกษาความเหมาะสม จัดทำแบบเบื้องต้นและจัดเตรียมเอกสาร พร้อมทั้งศึกษาและจัดทำรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบ อีไอเอ ของโครงการ โดยช่วงวัชรพล-สะพานพระราม 9 ซึ่งแบ่งแนวเส้นทางออกเป็น 3 ระยะ ประกอบด้วย ระยะที่ 1 ช่วงวัชรพล – ทองหล่อ ระยะที่ 2 ช่วงพระโขนง –พระราม 3 และระยะที่ 3 ช่วงพระราม 3 – ท่าพระ รวมระยะทางประมาณ 40 กม.โดยผลการศึกษาเสนอแนะให้พัฒนาโครงการระยะที่ 1 ช่วงวัชรพล – ทองหล่อ ระยะทางรวม 16.3 กม มีสถานีทั้งหมด 15 สถานี เป็นเส้นทางนำร่อง

ทั้งนี้ตามผลการศึกษาเดิม มีจุดเริ่มต้นโครงการอยู่ที่บริเวณทางแยกต่างระดับรามอินทรา เชื่อมต่อกับรถไฟฟ้าสายสีชมพูที่สถานีวัชรพล จากนั้นแนวเส้นทางจะมุ่งลงใต้ตามแนวถนนประดิษฐ์มนูธรรมฝั่งทิศทางขาออก ผ่านถนนอยู่เย็น ถนนสุคนธสวัสดิ์ ข้ามถนนเกษตรนวมินทร์ เชื่อมต่อรถไฟฟ้าสายสีน้ำตาลที่สถานีคลองลำเจียก ผ่านถนนลาดพร้าว เชื่อมต่อกับรถไฟฟ้า สายสีเหลืองที่สถานีฉลองรัช และผ่านถนนพระราม 9 เชื่อมต่อกับรถไฟฟ้าสายสีส้มที่สถานีพระราม 9 จากนั้นแนวเส้นทางจะยกข้ามรถไฟฟ้าแอร์พอร์ต เรล ลิ้งก์ เลี้ยวขวาเข้าสู่ถนนเพชรบุรีและเลี้ยวซ้ายเข้าซอยสุขุมวิท 55 (ซอยทองหล่อ) และมาสิ้นสุดโครงการบริเวณสถานีทองหล่อที่เป็นจุดเชื่อมต่อกับรถไฟฟ้าสายสีเขียว (สายสุขุมวิท)

โดยมีศูนย์ซ่อมบำรุง (Depot) อยู่ที่บริเวณสถานีคลองลำเจียก มีรูปแบบการพัฒนาโครงการเป็นรถไฟฟ้ารางเดี่ยว (Monorail)  ใช้ระยะเวลาในการเดินทางไป – กลับ ประมาณ 62 นาที ซึ่งคาดว่าจะสามารถรองรับผู้โดยสารได้ประมาณ 8,000 – 30,000 คน/ชั่วโมง/ทิศทาง เมื่อรถไฟฟ้าสายสีเทาแล้วเสร็จ จะช่วยเชื่อมต่อการเดินทางระหว่างด้านตะวันออกของกรุงเทพฯ เข้าสู่ใจกลางเมือง อำนวยความสะดวกในการเดินทางให้แก่ประชาชนได้อย่างสะดวกรวดเร็ว และปลอดภัย

ทั้งนี้ ภายหลังจากการสัมมนาในครั้งนี้ สำนักการจราจรและขนส่ง (สจส.) กรุงเทพมหานครจะรวบรวมข้อมูลความคิดเห็น และข้อเสนอแนะจากทุกภาคส่วนนำมาพิจารณาประกอบการศึกษาของโครงการ พร้อมทั้งจะดำเนินการจัดกิจกรรมการสัมมนารับฟังความคิดเห็นจากภาคเอกชน (Market Sounding) และการทดสอบความสนใจของภาคเอกชน (Market Sounding Interview) ในช่วงประมาณเดือนมกราคม 2565 และจะจัดสัมมนาสรุปผลโครงการ ในช่วงประมาณเดือนมีนาคม 2565 เพื่อนำเสนอรายละเอียดผลการศึกษาข้อมูลโครงการไปสู่หน่วยงานที่เกี่ยวข้องและประชาชนในพื้นที่โครงการได้รับทราบข้อมูลที่ถูกต้อง

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

คน กทม. เกินครึ่งไม่เห็นด้วยมาตรการเก็บค่าธรรมเนียมรถติด

นย์สำรวจความคิดเห็น “นิด้าโพล” สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) เปิดเผยผลการสำรวจ ของประชาชน เรื่อง “สองมาตรการใหม่ คน กทม. จะเอาไง” ทำการสำรวจระหว่างวันที่ 27-29 พฤศจิกายน 2567 จากประชาชนที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไป ในพื้นที่กรุงเทพมหานคร กระจายระดับการศึกษา อาชีพ และรายได้ รวมจำนวนทั้งสิ้น 1,310 หน่วยตัวอย่าง เกี่ยวกับความคิดเห็นของคนกรุงเทพมหานคร หากมีการใช้มาตรการจัดเก็บค่าธรรมเนียมการเก็บขยะและค่าธรรมเนียมรถติด