10 ต.ค. 2565 – นางสาวณัฏฐิญา เนตยสุภา รองอธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม หรือดีพร้อม เปิดเผยว่า จากการดำเนินโครงการ DIPROM AgriBiz Scale Up ตลอดระยะเวลากว่า 2 เดือน (สิงหาคม-กันยายน 2565) เป็นการบ่มเพาะและเสริมแกร่งศักยภาพสู่การปั้นนักธุรกิจเกษตรยุคใหม่ในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ โดยมีพันธมิตรจากภาคการศึกษา ภาคธุรกิจ ประกอบด้วย มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ กับโครงการ 88 SANDBOX: Startup Ecosystem พื้นที่แห่งโอกาสในการบ่มเพาะผู้ประกอบการธุรกิจสตาร์ทอัพ และ SCB SME พร้อมด้วย WOODY WORLD เพื่อร่วมกันสร้างและขยายธุรกิจ ให้เติบโต 10X และเพิ่มโอกาสในการขยายต่อยอดไปสู่การทำตลาดต่างประเทศต่อไป
นับเป็นอีกก้าวของความสำเร็จของโครงการฯ ซึ่งได้สร้างและขยายธุรกิจเอสเอ็มอี (Scale Up SME) ด้านการเกษตรให้เติบโตและยังเป็นการเพิ่มโอกาสในการขยายต่อยอดไปสู่การทำตลาดต่างประเทศ สำหรับนักธุรกิจเกษตรรุ่นใหม่ ที่ได้เข้าร่วมโครงการฯ โดยมีผู้ให้ความสนใจเข้าร่วมโครงการจำนวนมาก และมีผู้ผ่านการคัดเลือกเข้าร่วมโครงการกว่า 50 ธุรกิจ ได้รับการบ่มเพาะและนำเสนอผลงานที่โดดเด่นถึง 12 ผลงาน จาก 16 บริษัท ซึ่งผู้ได้รับรางวัลชนะเลิศ 3 ราย ดังนี้ 1 นายกิตติศักดิ์ พิพัฒน์คณาพรบริษัท ไทย เบสท์ โปรดักส์ โฮลดิ้ง จำกัด ผู้ผลิตและจัดจำหน่ายผลไม้และผักสดไทย ไปทั่วโลก 2. นายกนกพงษ์ พงษ์ธรรมรักษ์ ธุรกิจแพลทฟอร์มนำตลาดสดสู่ออนไลน์ (Fresh Market Transformation Platform) และ 3. นายอัคคภพ จันทรศรีวงศ์บริษัท NGM-X ผู้ผลิตถุงพลาสติก
ทั้งนี้ มีผู้สนใจสมัครเข้าร่วมทั้งหมด 164 กิจการ และมีผู้ผ่านการคัดเลือกเข้าสู่กระบวนการพัฒนาศักยภาพในโครงการจำนวน 50 กิจการ ซึ่งได้รับการอบรมในหัวข้อต่าง ๆ อาทิ การปรับแนวคิดให้เป็น Global Mindset เสริมทักษะการพูดและพัฒนา Public Speaking Skills การวางแผนกลยุทธ์ทำ Brand Story telling ให้ทรงพลัง การศึกษารูปแบบธุรกิจยุคใหม่ การหาแหล่งเงินทุน การระดมทุน การเจรจาถ่ายทอดให้นักลงทุนสนใจได้อย่างมีประสิทธิภาพได้ครบทุกมิติ ทั้งนี้ผู้ประกอบการทั้ง 50 กิจการ ที่ได้รับพัฒนาและยกระดับธุรกิจให้มีขีดความสามารถในการแข่งขันจะมีความพร้อมก้าวสู่ระดับโลกด้วยความแข็งแกร่งบนแนวทางเกษตรวิถีใหม่
โดยภาพรวมผลลัพธ์ของผู้ประกอบการทั้ง 50 ธุรกิจ ที่เข้าร่วมโครงการ DIPROM AgriBiz Scale Up ทำให้เกิดความร่วมมือระหว่างบริษัทในการสร้างโมเดลธุรกิจใหม่ ๆ เปลี่ยนมายด์เซ็ทให้ผู้เรียนออกจากคอมฟอร์ทโซน พร้อมรับการเปลี่ยนแปลงในอุตสาหกรรม นำประสบการณ์ไปคิดต่อยอดเป็นผลิตภัณฑ์ใหม่ เพิ่มมูลค่าภาคเกษตรไทย นอกจากนี้ ยังได้รับความรู้จากภาคธุรกิจในภาคปฏิบัติและยังเชื่อมโยงกับกลุ่ม Start up Mentor และ Venture Capital ชั้นนำของประเทศไทย เพื่อสร้าง Disruptive Business Model พร้อมหลักสูตรการเรียนรู้ที่ออกแบบมาให้ตอบโจทย์ธุรกิจเพื่อให้เกิดการเติบโตและเพิ่มโอกาสในการขยายต่อยอดไปสู่การทำตลาดต่างประเทศ
ปัจจุบันข้อมูลจากกลุ่มบริการส่งออกสินค้าเกษตร กรมวิชาการเกษตร รายงานว่าใน 5 เดือนแรกของปี 2565 (ม.ค.-พ.ค.) มียอดการส่งออกแล้วกว่า 15.27 ล้านตัน คิดเป็นมูลค่ากว่า 469,178.78 ล้านบาท เพิ่มขึ้นถึง 28.57% เทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2564 สะท้อนถึงความเชื่อมั่นของประเทศคู่ค้าในการตรวจสอบคุณภาพการผลิตสินค้าพืชของประเทศไทย ตอกย้ำให้เห็นถึงโอกาสและตลาดที่เติบโตของภาคเกษตรกรไทย
นายศุภฤทธิ์ เมฆอรุณกมล SME Business Director ธนาคารไทยพาณิชย์ กล่าวว่า ผู้เข้าร่วมโครงการฯ จะได้เรียนรู้ในหลักสูตร Financial & Scaling โดยผู้เข้าร่วมหลักสูตรจะได้เรียนรู้และเข้าใจรูปแบบของ Revenue Model ต่าง ๆ ในธุรกิจยุคใหม่ เข้าใจรูปแบบของการหาเงินทุน การระดมทุน เพื่อขยายธุรกิจ ถ่ายทอดให้นักลงทุนสนใจได้อย่างมีประสิทธิภาพ
นายพิภพ อุดร รองอธิการบดีฝ่ายวิชาการ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ โครงการ 88 SANDBOX ซึ่งเป็น Ecosystem ในการบ่มเพาะนวัตกรรมและสตาร์ทอัพให้กับประเทศไทย กล่าวเพิ่มเติมว่า เกษตรธุรกิจหรือ Agri Business เป็นหัวใจสำคัญของประเทศ มีศักยภาพจะเป็นธุรกิจที่สร้างความมั่งคั่ง และหากจะปักธงไทยในเวทีโลก ประเทศไทยต้องเลิกทำเกษตรราคาถูกและต้องเดินหน้ายกระดับสู่การทำเกษตรเชิงนวัตกรรม สร้างและขยายธุรกิจเข้าถึงยังตลาดทั่วโลก ตั้งเป้าว่าการร่วมมือนี้จะปูทางพานักเกษตรรุ่นใหม่ของประเทศไทยให้บรรลุเป้าหมายการเป็น “ครัวของโลก” หรือ Kitchen of the World ได้
สำหรับผู้ที่ได้รับรางวัล Best of The Best จำนวน 3 กิจการ ดังนี้
1. นายกิตติศักดิ์ พิพัฒน์คณาพรบริษัท ไทย เบสท์ โปรดักส์ โฮลดิ้ง จำกัด ผู้ผลิตและจัดจำหน่ายผลไม้และผักสดไทย ไปทั่วโลก
2. นายกนกพงษ์ พงษ์ธรรมรักษ์ ธุรกิจแพลทฟอร์มนำตลาดสดสู่ออนไลน์ (Fresh Market Transformation Platform)
3. นายอัคคภพ จันทรศรีวงศ์บริษัท NGM-X ผู้ผลิตถุงพลาสติก
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
'ดีพร้อม' ดันซอฟต์พาวเวอร์ สินค้าแฟชั่นไทย สู่ตลาดโลก
กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม หรือ ดีพร้อม (DIPROM) เดินหน้าผลักดันซอฟต์พาวเวอร์ไทยโดยอาศัย "พลังทางอ้อม" ผ่านอินฟลูเอนเซอร์ ตามนโยบาย “ปฏิรูปอุตสาหกรรม สู่เศรษฐกิจยุคใหม่ ทันสมัย สะอาด สะดวก โปร่งใส”
ดีพร้อม เผยงาน “CRAFT DRINK by DIPROM” สำเร็จเกินคาด ตลอด 6 วัน ยอดผู้เข้าร่วมงานทะลุเป้ามากกว่าแสนคน
กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม หรือ ดีพร้อม (DIPROM) ปิดฉากสุดประทับใจสำหรับบิ๊กอีเวนท์กลางกรุง “CRAFT DRINK by DIPROM ศาสตร์และศิลป์เครื่องดื่มไทย
“กระทรวงอุตสาหกรรม” เปิดบิ๊กอีเวนต์ “CRAFT DRINK by DIPROM” สั่งการ “ดีพร้อม” ขนทัพผู้ประกอบการทั่วประเทศ โชว์ศักยภาพเครื่องดื่มไทย
นางสาวพิมพ์ภัทรา วิชัยกุล อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม เปิดงานใหญ่ “CRAFT DRINK by DIPROM ศาสตร์และศิลป์เครื่องดื่มไทย นำธุรกิจไกลสู่สากล”