ดีป้า เปิดตัวโครงการ Transform ตลาดสดยุควิถีใหม่ พร้อมเดินหน้าติดอาวุธดิจิทัลแก่ผู้ประกอบการเอสเอ็มอี ร้านค้า หาบแร่ แผงลอย นำร่องพื้นที่ 6 จังหวัด ครอบคลุมผู้ประกอบการ 30,000 ราย เล็งขยายการรับรู้สู่ปริมณฑล 4 จังหวัด และเตรียมเดินหน้าเฟส 2 อีก 25 จังหวัดทั่วประเทศ หวังขับเคลื่อนประเทศไทยสู่เศรษฐกิจดิจิทัลเต็มรูปแบบ
12 พ.ย.2564 – นายชัยวุฒิ ธนาคมานุสรณ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดีอีเอส) เปิดเผยว่า กระทรวงดิจิทัลฯ มีภารกิจสำคัญในการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรมดิจิทัลให้ครอบคลุม
ทุกพื้นที่ทั่วประเทศ โดยมุ่งหวังให้ประชาชนทุกคนสามารถเข้าถึงเทคโนโลยีและนวัตกรรมดิจิทัลได้ง่ายและสะดวก
ต่อการใช้งาน โดยมี สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล หรือ ดีป้า เป็นหน่วยงานหลักในการส่งเสริมและสนับสนุนให้ประชาชนทุกภาคส่วนสามารถเข้าถึงและประยุกต์ใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมดิจิทัลอย่างเต็มประสิทธิภาพ ตอบโจทย์ของตนเองได้อย่างตรงจุด โดยเฉพาะกลุ่มเศรษฐกิจฐานรากที่มีความสำคัญยิ่งต่อเศรษฐกิจของประเทศในภาพรวม
“สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) ส่งผลต่อพฤติกรรมการซื้อสินค้าของผู้บริโภค โดยปรับเปลี่ยนสู่ช่องทางออนไลน์มากขึ้น ดังนั้นภาครัฐจึงจำเป็นอย่างยิ่งที่จะพัฒนาศักยภาพผู้ประกอบการไทยให้มีความพร้อมรับมือกับความท้าทายดังกล่าว และพลิกวิกฤตให้เป็นโอกาส ซึ่ง ดีป้า หน่วยงานในสังกัดกระทรวงดิจิทัลฯ จึงได้ดำเนินโครงการ Transform ตลาดสดยุควิถีใหม่ เพื่อยกระดับผู้ประกอบการเอสเอ็มอี ร้านค้า หาบเร่ แผงลอย ให้สามารถปรับเปลี่ยนทุกการซื้อ–ขายสู่ระบบออนไลน์ ปรับทุกไลฟ์สไตล์สู่สังคมไร้เงินสด พลิกฟื้นเศรษฐกิจฐานรากด้วยเทคโนโลยีดิจิทัล ซึ่งจะเป็นแรงขับเคลื่อนสำคัญในการก้าวข้ามวิกฤตโควิด–19 โดยคาดว่า การดำเนินงานในเฟสแรกจะช่วยสร้างรายได้มากกว่า 300 ล้านบาท” รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลฯ กล่าว
นายณัฐพล นิมมานพัชรินทร์ ผู้อำนวยการใหญ่ ดีป้า กล่าวว่า โครงการ Transform ตลาดสดยุควิถีใหม่ มีวัตถุประสงค์ที่จะส่งเสริมและสนับสนุนให้ผู้ประกอบการเอสเอ็มอี และผู้ประกอบการรายย่อย ไม่ว่าจะเป็น ร้านค้า หาบเร่ แผงลอย สามารถเข้าถึงและประยุกต์ใช้เทคโนโลยีดิจิทัลจากเครือข่ายดิจิทัลสตาร์ทอัพ เพื่อยกระดับประสิทธิภาพการดำเนินธุรกิจ สร้างโอกาสทางการตลาด เพิ่มช่องทางการจัดจำหน่ายและจัดส่งสินค้า พัฒนาสู่การแข่งขันรูปแบบใหม่บนพื้นฐานของการเติบโตอย่างมั่นคงและยั่งยืน เริ่มดำเนินการในพื้นที่ 6 จังหวัด ประกอบด้วย กรุงเทพมหานคร นครสวรรค์ นครปฐม ชัยนาท สิงห์บุรี และลพบุรี ครอบคลุมผู้ประกอบการ จำนวน 30,000 ราย ตั้งเป้าขยายการรับรู้สู่ปริมณฑลเพิ่ม 4 จังหวัด
สำหรับโครงการ Transform ตลาดสดยุควิถีใหม่ แบ่งการดำเนินงานหลักออกเป็น 4 ระยะ ประกอบด้วย
ระยะที่ 1 เดือนมิถุนายน 2564 ดำเนินการคัดเลือกและระดมดิจิทัลสตาร์ทอัพ รวมถึงผู้ให้บริการดิจิทัล (ดิจิทัลโพรไวเดอร์) สัญชาติไทย ครอบคลุม 6 กลุ่มเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องกับระบบการซื้อขายออนไลน์ ได้แก่ ระบบรับชำระเงินออนไลน์ (E-payment) ระบบจำลองการสนทนา (Chatbot) ระบบการสั่งอาหารหรือสินค้า (Delivery) ระบบการขนส่งสินค้า (Logistics) ระบบบริหารจัดการจุดขาย (Point Of Sales: POS) และระบบบริการ (Service) จับคู่ธุรกิจกับเอสเอ็มอี ร้านค้า หาบเร่ และแผงลอย เพื่อสร้างแพลตฟอร์มช่องทางการจำหน่ายและจัดส่งสินค้า (Local Application)
ระยะที่ 2 ตั้งแต่เดือนสิงหาคม 2564 เป็นต้นไปจะเป็นการอบรมหลักสูตรออนไลน์เพื่อให้คำแนะนำเกี่ยวกับการทำการตลาดบนโซเชียลมีเดียต่าง ๆ จากผู้เชี่ยวชาญ
ระยะที่ 3 ดีป้าร่วมกับดิจิทัลสตาร์อัพเริ่มจัดทัพลงพื้นที่จัดกิจกรรมตลาดต้นแบบใน 6 จังหวัด ประกอบด้วย กรุงเทพมหานคร นครสวรรค์ นครปฐม ชัยนาท สิงห์บุรี ลพบุรี และขบวน Troop ลงพื้นที่ส่งเสริมการใช้ Local Application
และ ระยะที่ 4 ช่วงต้นปี 2565 จะจัดงาน Showcase ที่กรุงเทพฯ เพื่อพลิกฟื้นเศรษฐกิจในเมืองหลังวิกฤตโควิด-19 ผ่านพ้นไป พร้อมแลกเปลี่ยนบทเรียนการแปลงโฉมตลาดสดทั้ง 6 จังหวัด เป็นตลาดสดยุควิถีใหม่เต็มรูปแบบ
“การเติบโตอย่างรวดเร็วของเทคโนโลยีดิจิทัล รวมถึงวิกฤตโควิด–19 ที่เข้ามามีบทบาทสำคัญต่อพฤติกรรมผู้บริโภค ส่งผลให้ผู้ประกอบการจำเป็นต้องเร่งปรับตัวให้ทันต่อสถานการณ์ และพฤติกรรมผู้บริโภคที่เปลี่ยนแปลงไป เพื่อสร้างโอกาสใหม่ทางการตลาด ลดต้นทุน เพิ่มรายได้ และพัฒนาคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น โดย ดีป้า คาดหวังว่า โครงการ Transform ตลาดสดยุควิถีใหม่ จะเป็นโครงการที่สามารถต่อยอดไปสู่พื้นที่ในจังหวัดต่าง ๆ ทั่วประเทศ โดยคาดว่า ปี 2565 จะมีแผนการดำเนินงานอย่างต่อเนื่องเพื่อเข้าถึงร้านค้าอีก 65,000 ราย และสร้างตลาดต้นแบบด้านดิจิทัล ครอบคลุมพื้นที่ทั่วประเทศในอีกกว่า 20 จังหวัด ซึ่งจะสร้างความเข้มแข็งให้กับบรรดาผู้ประกอบการไทย ก่อให้เกิดมูลค่าทางเศรษฐกิจ เตรียมความพร้อมประเทศไทยสู่สังคมไร้เงินสดอย่างเต็มรูปแบบในอนาคต”ผู้อำนวยการใหญ่ ดีป้า กล่าว
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
ALPHASEC ปลื้ม 'ดีป้า' รับรองเป็นหน่วยตรวจตราสัญลักษณ์ dSURE
ALPHASEC ได้รับการรับรองในเครือข่ายตราสัญลักษณ์ dSURE ยกระดับความมั่นคงปลอดภัยทางไซเบอร์
'ดีป้า' เปิดตัวโครงการ 1 ตำบล 1 ดิจิทัล ยกระดับเกษตรกรชาวสวนทุเรียน
ดีป้า ส่งเสริมเกษตรกรไทยประยุกต์ใช้เทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพผลผลิต เดินหน้าเปิดตัวโครงการ 1 ตำบล 1 ดิจิทัล (OTOD ทุเรียนดิจิทัล) ขับเคลื่อนการใช้แพลตฟอร์มดิจิทัลผ่านแอปพลิเคชันภาคการเกษตรสำหรับบันทึก จัดเก็บข้อมูล ติดตามย้อนกลับการเพาะปลูก สร้างความเชื่อมั่นผู้บริโภค ทั้งตลาดในประเทศและต่างประเทศ ยกระดับสินค้าเกษตรมูลค่าสูงสู่ตลาดโลก พร้อมพัฒนาทักษะและศักยภาพเกษตรกรไทยสู่เกษตรอัจฉริยะอย่างยั่งยืน
'ดีป้า' แถลงผลสำเร็จ ยกระดับทักษะโค้ดดิ้ง สร้างรากฐานอนาคตประเทศไทย
ผศ.ดร.ณัฐพล นิมมานพัชรินทร์ ผู้อำนวยการใหญ่ สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล หรือ ดีป้า เปิดเผยว่า โครงการ Coding for Better Life สร้างรากฐานอนาคตประเทศไทย คือโครงการในแผนงาน
'ดีป้า' เตรียมจัดแข่งทักษะโค้ดดิ้ง รอบชิงชนะเลิศ เฟ้น 10 สุดยอดผลงานนวัตกรรมดิจิทัล
ดีป้า เตรียมจัดการแข่งขัน Coding War รอบชิงชนะเลิศ สมรภูมิไอเดียด้านโค้ดดิ้งที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย หา 10 สุดยอดผลงานนวัตกรรมดิจิทัลจากเด็กไทยทั่วประเทศ
'ดีป้า' ติวเข้มทักษะโค้ดดิ้ง 'ครู-นักเรียน' 100 ทีม ต่อยอดสู่เวทีนานาชาติ
ดีป้า จัดกิจกรรมพัฒนาศักยภาพเข้มข้น ครู - นักเรียน จำนวน 100 ทีม ที่ผ่านการคัดเลือกอย่างเข้มข้นจากทั่วประเทศ เข้าคอร์สติวเข้มทักษะโค้ดดิ้ง จากผู้เชี่ยวชาญ
ดีป้า เปิดแผนการดำเนินงานปี 2568 ชูแนวคิด Perform Better, Think Faster and Live Better ยกระดับคุณภาพชีวิตคนไทยด้วยเทคโนโลยีและนวัตกรรมดิจิทัล
ดีป้า เผยแผนการดำเนินงาน ประจำปี 2568 ในงาน ‘depa Digital Intelligence’ ภายใต้แนวคิด Perform Better, Think Faster and Live Better