4 ต.ค.2565 – นายเศรษฐพุฒิ สุทธิวาทนฤพุฒิ ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยว่า เศรษฐกิจไทยในปีนี้มีแนวโน้มฟื้นตัวต่อเนื่อง จากอุปสงค์ในประเทศที่ฟื้นตัว และภาคการท่องเที่ยวที่เป็นตัวขับเคลื่อนที่สำคัญ โดยปีนี้คาดว่า เศรษฐกิจไทยจะขยายตัวได้ 3.3% และขยายตัว 3.8% ในปี 2566 ขณะเดียวกันคาดว่า เศรษฐกิจไทยจะกลับไปสู่ระดับก่อนการระบาดของไวรัสโควิด-19 ได้ในช่วงปลายปีนี้ หรือต้นปีหน้า
สำหรับอัตราเงินเฟ้อของไทย คาดว่าจะคลี่คลายในปี 2566 โดยคาดว่าจะกลับเข้าสู่กรอบเป้าหมายของเงินเฟ้อที่ 1-3% ได้ในกลางปีหน้า ส่วนปี 2565 คาดว่าเงินเฟ้อทั่วไปจะอยู่ที่ 6.3% และปีหน้าคาดว่าจะอยู่ที่ 2.6%
“สิ่งที่ ธปท.กังวล คือ เงินเฟ้อพื้นฐาน ตัวนี้สำคัญ เพราะสะท้อนเครื่องยนต์เงินเฟ้อติดหรือไม่ ที่ผ่านมาเราเห็นตัวเลขเงินเฟ้อพื้นฐานมันวิ่งขึ้น และวิ่งขึ้นในอัตราที่เร็วขึ้น โดยรวมปีนี้คาดเงินเฟ้อพื้นฐานจะอยู่ที่ 2.6% และปีหน้าที่ 2.4% โดย ธปท.จะติดตามอย่างใกล้ชิด เพราะเป็นตัวสะท้อนเครื่องยนต์เงินเฟ้อติด และติดมากแค่ไหน” นายเศรษฐพุฒิ กล่าว
สำหรับปัจจัยที่จะทำให้เศรษฐกิจไทยเติบโตได้อย่างยั่งยืน จะต้องดำเนินการ 3 ด้าน คือ 1.หนี้ครัวเรือน ต้องลดสู่ระดับยั่งยืน 2.ความยั่งยื่นด้านสิ่งแวดล้อม โดยภาคการเงินช่วย facilitate ให้เศรษฐกิจเปลี่ยนผ่านไปสู่ความยั่งยืน โดยสิ่งที่ต้องเร่งผลักดาน คือ จัด taxonomy พัฒนาและเปิดเผยข้อมูล และสร้างมาตรการแรงจูงใจ 3.โครงสร้างพื้นฐานด้านการเงินดิจิทัล โดยเร่งผลักดัน โครงสร้างพื้นฐาน Digital payment เช่น Cross-border payment , PromptBiz และ dStatement
นายเศรษฐพุฒิ กล่าวอีกว่า ในส่วนสถานการณ์ค่าเงินบาทที่อ่อนมาจาก ยืนยันว่า เป็นเพราะดอลลาร์แข็งค่า โดยเงินบาทที่อ่อนค่า ไม่ได้มาจากเงินทุนเคลื่อนย้าย เงินไหลออก แต่มาจากดอลลาร์แข็ง โดยปัจจุบันดอลลาร์แข็งค่าแล้ว 17-18% ขณะที่เงินบาทอ่อนค่า 12% และการอ่อนค่าของไทยโดยรวม ไม่ได้ผิดเพี้ยนจากภูมิภาค
ทั้งนี้ ยืนยันว่า ค่าเงินบาทที่ไปถึง 38 บาทต่อดอลลาร์ ไม่ได้เกิดจากการขาดเสถียรภาพ โดยปัจจุบัน เสถียรภาพของไทยอยู่ในระดับแข็งแกร่ง ทุนสำรองเมื่อเทียบกับต่างประเทศ อยู่ในระดับสูง โดยอยู่ในอันดับ 12 ของโลก
“ยืนยันไม่เห็นการไหลออกของเงินทุนอย่างมีนัยสำคัญ 3.5 พันล้านดอลลาร์ ส่วนทุนสำรองที่ลดลง มาจากดอลลาร์แข็งค่า โดย ธปท.นอกจากถือเงินดอลลาร์แล้วยังถือเงินสกุลอื่น ๆ ด้วย แต่ถามว่า ธปท.เข้าไปดูแลค่าเงินหรือไม่ ยอมรับว่า มีเมื่อเห็นความผันผวนแรงเกินไป แต่ไม่ได้เข้าไปเพื่อฝืนทิศทางตลาด เพราะเรารู้ว่าทำไม่ได้ ค่าเงินบาทมาจากดอลลาร์แข็ง เราคอลโทรลไม่ได้ และเราเคยมีบทเรียนจากปี 40 ที่ไปฝืนตลาดมากจะมีความเสี่ยงมากมาย”นายเศรษฐพุฒิ กล่าว
อย่างไรก็ดี ในส่วนของการดำเนินนโยบายการเงิน โดยการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยอย่างค่อยเป็นค่อยไปนั้น โดยยืนยันว่า ดำเนินการไม่ช้าเกินไป เพราะเศรษฐกิจไทยเพิ่งเริ่มฟื้นตัวเมื่อเทียบกับต่างประเทศ และยืนยันว่าไม่น้อยเกินไป เพราะยังมีกลุ่มเปราะบาง ซึ่งต้องดูแลด้วยมาตรการเฉพาะจุด
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
'ศิริกัญญา' งง รอมา 2 เดือน นโยบายกระตุ้นศก.ไม่มีอะไรชัดเจน ย้อนถามแจกเงินหมื่นช่วยอะไรได้
นางสาวศิริกัญญา ตันสกุล ส.ส.บัญชีรายชื่อ และรองหัวหน้าพรรคประชาชน โพสต์ข้อความในเฟซบุ๊ก ระบุว่า