ส.อ.ท.จับตาราคาพลังงานและค่าขนส่งฉุดเศรษฐกิจช่วงโค้งสุดท้าย

ส.อ.ท.จับตาปัจจัยเสี่ยงกดดันเศรษฐกิจไทยโค้งสุดท้ายของปี หวั่นฉุดรั้งการผลิตและแรงซื้อประชาชน หลังราคาสินค้าทยอยขึ้น เหตุวัตถุดิบแพง จากระดับราคาพลังงานและค่าขนส่งที่สูง  

11 พ.ย. 2564 นายเกรียงไกร เธียรนุกุล รองประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย(ส.อ.ท.) เปิดเผยว่า ส.อ.ท.ได้ติดตาม 3 ปัจจัยเสี่ยงต่อภาคการผลิตและเศรษฐกิจไทยอย่างใกล้ชิด โดยเฉพาะในช่วงโค้งสุดท้ายของปี เนื่องจากจะกระทบต่อต้นทุนการผลิตในภาพรวมที่ต้องปรับตัวสูงขึ้นและสะท้อนไปยังราคาสินค้าที่อาจบั่นทอนแรงซื้อประชาชนที่ลดลงได้ ประกอบด้วย 1.ต้นทุนวัตถุดิบทั้งสินค้าโภคภัณฑ์ การเกษตรที่ปรับตัวเพิ่มขึ้นส่งผลให้ราคาสินค้ากลางน้ำและปลายน้ำทยอยปรับราคา 2.แรงงานต่างด้าวขาดแคลนจากผลกระทบของโควิด-19  และ 3.อัตราแลกเปลี่ยนค่าเงินบาทที่ยังมีแนวโน้มอ่อนค่าและผันผวนที่กระทบต่อการนำเข้าเครื่องจักร วัตถุดิบและพลังงาน  

ขณะเดียวกันจากระดับราคาพลังงานทั้งน้ำมัน ถ่านหิน ฯลฯ ตลาดโลกที่เพิ่มสูงทำให้วัตถุดิบที่ใช้พลังงานปริมาณมากปรับตัวเพิ่มขึ้นเช่น เหล็ก อะลูมิเนียม ปิโตรเคมี ฯลฯ  เช่นเดียวกับภาคขนส่งที่เกี่ยวข้องกับภาคการผลิตและเกษตรได้รับผลกระทบจากระดับราคาน้ำมันที่สูงเช่นกัน และล่าสุดต้องติดตามกรณีที่สหพันธ์การขนส่งทางบกแห่งประเทศไทยได้ดีเดย์หยุดวิ่งรถขนส่งสินค้าทั่วประเทศแล้ว 20% และวันที่16 พ.ย.นี้ จัดกิจกรรม truck power 2 ปิดล้อมเมือง เพื่อยกระดับกดดันรัฐบาลให้กำหนดราคาดีเซลเหลือลิตรละ 25 บาทเป็นเวลา 1 ปีว่าจะกระทบมากน้อยเพียงใด  

“สำหรับปัญหาแรงงานต่างด้าวที่ไทยขาดแคลนเนื่องจากผลกระทบโควิด-19 ที่ผ่านมาทำให้แรงงานส่วนหนึ่งได้เดินทางกลับประเทศตัวเองแล้วบางส่วนยังไม่ได้กลับมา ขณะที่ภาคการส่งออกที่ใช้แรงงานเข้มข้น เช่น อาหาร ขยายตัวต่อเนื่องจากยอดส่งออกที่เติบโต ทำให้แรงงานส่วนนี้ต้องการเพิ่มขึ้น และเมื่อไทยเปิดประเทศทำให้แรงงานในภาคการผลิตและท่องเที่ยว บริการต้องการเพิ่มเข้ามาอีกซึ่งประเมินว่าแรงงานต่างด้าวที่ขาดแคลนรวมจะอยู่ราว 8 แสนคน(ภาคผลิต 3-5 แสนคนและบริการท่องเที่ยวอีก 3 แสนคน) ดังนั้นหากแรงงานเข้ามาไม่ทันกับความต้องการก็จะกระทบต่อการดำเนินธุรกิจได้”นายเกรียงไกร กล่าง 

นอกจากนี้ภาวะอัตราแลกเปลี่ยนค่าเงินบาทของไทยล่าสุดอยู่ในกรอบ 32.70-32.90 บาทต่อเหรียญสหรัฐโดยมีแนวโน้มอ่อนค่าลงจากทิศทางเงินเหรียญสหรัฐที่แข็งค่าสุดในรอบปี ซึ่งค่าเงินบาทยังมีทิศทางผันผวนจากเศรษฐกิจสหรัฐฯที่เผชิญภาวะเงินเฟ้อและต้องติดตามโควิด-19 ช่วงฤดูหนาวที่จะมีผลต่อเศรษฐกิจโลกปลายปีนี้  ทั้งนี้หากบาทอ่อนค่านั้นมีทั้งผลดีและผลเสีย กล่าวคือผลดีต่อภาคการส่งออกที่จะเป็นแต้มต่อให้ไทยมากขึ้น ขณะที่ผลเสียคือการนำเข้าเครื่องจักร วัตถุดิบ และรวมถึงพลังงานจะสูงขึ้นอีกเพราะไทยยังต้องพึ่งพาการนำเข้าเป็นหลัก 

นายเกรียงไกร กล่าวว่าราคาพลังงานตลาดโลกที่สูง วัตถุดิบที่แพงหากต้องเจอการนำเข้าก็ยิ่งเป็น 2 เด้งจากบาทที่อ่อนค่า ภาพรวมบาทอ่อนจึงมีทั้งผลดีและเสียต่อเศรษฐกิจไทยจึงต้องให้สมดุลดีสุด  อย่างไรก็ตามหลังรัฐเปิดประเทศ 1 พ.ย. รับท่องเที่ยวต่างชาติเข้าไทยทำให้บรรยากาศคึกคักขึ้นแต่ต่างชาติอาจยังมาได้จำกัดแม้แต่ปีหน้าเพราะจีนที่เป็นนักท่องเที่ยวต่างชาติหลักของไทยยังไม่มา และสิ่งสำคัญต้องควบคุมโควิด-19 ให้ดีๆ  

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

สถาบันอาหาร - ส.อ.ท. - สภาหอการค้าฯ ชี้ส่งออกอาหารไทยครึ่งปีแรก 67 โต 9.9% มูลค่า 8.5 แสนล้านบาท

สถาบันอาหาร สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย(ส.อ.ท.) และสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย เผยการส่งออกสินค้าอาหารของไทย 6 เดือนแรกปี 2567 มีมูลค่า 852,432 ล้านบาท

'พีระพันธุ์' ยันเป็นรัฐมนตรีพลังงานแต่ปัญหาหมักหมมมาก่อนนั่งเก้าอี้!

'พีระพันธุ์' ย้อน 'ศุภโชติ' ยัน เป็น 'รมว.พลังงาน' มีหน้าที่กำหนดภาษี แต่คลังเป็นคนเก็บ เหตุกฎหมายกองทุนฯ ตัดอำนาจออก ต้นตอรัฐบาลติดหนี้กว่าห้าหมื่นล้าน ชี้เป็นปัญหาหมักหมมตั้งแต่ก่อนรับตำแหน่ง

ก้าวไกลดุ! ซัดปฏิญญาเขาใหญ่ถาม 'พีระพันธุ์' ทำงานรับใช้ใครแน่

'ศุภโชติ' จี้ 'รมว.พลังงาน' แก้ปัญาราคาน้ำมัน-ค่าไฟแพง แนะใช้ความกล้าคุยพรรคร่วมรัฐบาล ดึงงบกลางช่วยแฉแผนพลังงานชาติฉบับใหม่ส่อซ้ำรอยความผิดพลาด ยกปฏิญญาเขาใหญ่ ถาม'พีระพันธุ์' ทำงานรับใช้ใครแน่

ส.อ.ท.โอดดัชนีเชื่อมั่นอุตฯ ลดต่ำอีกระลอก

ส.อ.ท.โอดดัชนีเชื่อมั่นอุตฯ ลดต่ำอีกระลอก งวดพ.ค. อยู่ที่ระดับ 88.5 รับอานิสงส์เศรษฐกิจไทยยังผันผวน กำลังซื้อเปราะบางจากหนี้ครัวเรือน-หนี้เสีย ผนวกราคาน้ำมันแพงดันต้นทุนสูง คาดการณ์ไตรมาสหน้าไม่ฟื้นหวังรัฐเข้าช่วย ผุดมาตรการลดผลกระทบจากราคาพลังงาน