“คลัง” ลุยถกสำนักงบดิ้นหาเงินโปะประกันรายได้ชาวนาตกค้างอีก 7.6 หมื่นล้านบาท ไม่ปัดขยับเพดานก่อหนี้แบงก์รัฐ ที่ตีกรอบ 30% ของงบรายจ่าย แจงขอคุยในรายละเอียดก่อน ระบุรัฐบาลยืนยันมีความตั้งใจดีในการช่วยเหลือเกษตรกร
11 พ.ย. 2564 นายกฤษฎา จีนะวิจารณะ ปลัดกระทรวงการคลัง เปิดเผยว่า หลังจากที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ได้มอบหมายให้กระทรวงการคลัง ไปเร่งหารือกับสำนักงบประมาณ เพื่อหาแหล่งเงินมาใช้ในโครงการประกันรายได้เกษตรกรผู้ปลูกข้าว ปีการผลิต 2564/65 ซึ่งยังมีความต้องการใช้เงินอีก 7.6 หมื่นล้านบาท เบื้องต้นคลังได้มอบหมายให้สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) ไปหารือกับสำนักงบประมาณ ว่ายังมีแหล่งเงินในส่วนไหน อย่างไรที่จะสามารถดึงมาดำเนินการได้บ้าง
“เบื้องต้น สศค. ได้คุยกับสำนักงบประมาณแล้ว ตอนนี้กำลังดูกันอยู่ว่ามีช่องทางไหนบ้าง มีแหล่งเงินตรงไหนอย่างมา จะมาจากส่วนไหนได้บ้าง โดยเชื่อว่าหลังจากคลังกับสำนักงบประมาณได้มีการหารือกันแล้วก็น่าจะมีความชัดเจนว่าจะมีทางออกที่ชัดเจนออกมาว่าจะสามารถเดินไปทางไหนได้” นายกฤษฎา กล่าว
นายกฤษฎา กล่าวถึงข้อเสนอเรื่องการขยายเพดานการก่อหนี้ผ่านสถาบันการเงินเฉพาะกิจของรัฐ และหน่วยงานอื่น เพื่อสนับสนุนนโยบายของรัฐบาล ตามพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) วินัยการเงินการคลังของรัฐ พ.ศ. 2561 มาตรา 28 ที่กำหนดว่าภาระหนี้ในส่วนนี้รวมกันต้องไม่เกิน 30% ของงบประมาณรายจ่ายนั้น คลังกับสำนักงบประมาณต้องคุยกันก่อนว่าจะดำเนินการในเรื่องนี้อย่างไร
ทั้งนี้ สมัยก่อนไม่มีกฎหมายตัวนี้ แต่เมื่อปัจจุบันมีกฎหมายนี้ และมีการบังคับใช้แล้ว ก็ต้องมีการพิจารณา ต้องดูถึงความจำเป็น ว่ากันไปตามกฎหมาย
“รัฐบาลได้กำชับให้กระทรวงการคลังและสำนักงบประมาณเร่งหารือเพื่อให้ได้ข้อสรุปโดยเร็วที่สุด ซึ่งรัฐบาลยืนยันชัดเจนว่ามีความตั้งใจดีที่ต้องการช่วยเหลือเกษตรกรอยู่แล้ว” นายกฤษฎา กล่าว
อย่างไรก็ดี พ.ร.บ.วินัยการเงินการคลังของรัฐ พ.ศ. 2561 มาตรา 28 กำหนดไว้ว่า การใช้เงินของสถาบันการเงินเฉพาะกิจของรัฐ ที่เพื่อการสนับสนุนนโยบายของรัฐบาลไปก่อน จะต้องมีภาระรวมกันทั้งสิ้นไม่เกิน 30% ของงบประมาณรายจ่าย ซึ่งปัจจุบันใกล้ชนเพดานดังกล่าว หรือ ประมาณ 9.3 แสนล้านบาท เทียบกับวงเงินงบประมาณ 2565 วงเงิน 3.1 ล้านบาท
ทั้งนี้ ปัญหาดังกล่าว ส่งผลให้การใช้เงินสภาพคล่องของธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) จ่ายเงินชดเชยประกันรายได้เกษตรกรต่อไม่สามารถทำได้ โดยรัฐบาลต้องแก้ปัญหา โดยการหาเงินงบประมาณส่วนอื่นเพื่อไปใช้หนี้กับ ธ.ก.ส. หรือ เป็นเงินให้ ธ.ก.ส.ใช้สำหรับการจ่ายชดเชยการประกันราคาพืชผลเกษตรกรที่จะมีต่อไปในอนาคต โดยเฉพาะการจ่ายชดเชยเกษตรการชาวนาที่ได้ราคาข้าวตกต่ำ ทำให้ราคาขายได้ต่ำกว่าราคาที่รัฐบาลประกันไว้มาก
นอกจากนี้ รัฐบาลยังสามารถแก้ปัญหาได้ โดยการแก้ไขกฎหมายขยายเพดานการใช้เงินจากสถาบันการเงินเฉพาะกิจของรัฐ เพื่อดำเนินนโยบายของรัฐให้มีสัดส่วนมากขึ้นกว่า 30% ของงบประมาณที่กำหนดไว้ในปัจจุบัน เหมือนกับที่ผ่านมาได้มีการแก้ไขกรอบเพดานการก่อหนี้สาธารณะจาก 60% ของจีดีพี เป็น 70% ของจีดีพี
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
'นายกฯอิ๊งค์' ถอย! การันตีไม่ขึ้น VAT 15% หลังถกกุนซือบ้านพิษฯ
นายกฯ หารือที่ปรึกษาบ้านพิษณุโลก ยันไม่ปรับ VAT เป็น 15% หลังเจอกระแสค้าน แจงรับฟังทุกภาคส่วน ย้ำนโยบายหลักรัฐบาล ลดค่าใช้จ่าย ยกระดับความเป็นอยู่ ปชช. ให้ดีขึ้น
'เหวง' อึ่ม! เพิ่มภาษีแวต 15% ทำเพื่อใคร คนยากจนตายสถานเดียว
นพ.เหวง โตจิราการ อดีตสส.บัญชีรายชื่อ พรรคเพื่อไทย อดีตแกนนำคนเสื้อแดง โพสต์เฟซบุ๊กว่า
ม็อบบุกแบงก์ชาติ ยื่นอีก 5 หมื่นชื่อ ขวางการเมืองจุ้นเลือก 'ปธ.บอร์ด'
คปท. ศปปส. และกองทัพธรรม เดินทางมาชุมนุมหน้าแบงก์ชาติ เพื่อคัดค้านไม่ให้การเมืองเข้าแทรกแซงครอบงำ ธปท.
'เอ็ดดี้' ชำแหละ! แผนรัฐบาลคุม 'แบงก์ชาติ' บรรลุ 6 เป้าหลัก
นายอัษฎางค์ ยมนาค นักวิชาการอิสระ โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ก "เอ็ดดี้ อัษฎางค์" ในหัวข้อ "อะไรคือจุดประสงค์ของการแทรกแซงแบงก์ชาติจากฝ่ายการเมือง"