‘ซีอีโอ’เอกชนชั้นนำของไทยเปิดวิสัยทัศน์หนุนมุมมองด้านความยั่งยืน ชี้ ไม่ใช่เรื่องใหม่และไทยมีศักยภาพพร้อมที่จะทำเรื่องนี้ เปิดมุมมององค์กรจะอยู่ได้อย่างยั่งยืนก็ต่อเมื่อโลกยั่งยืน
2 ต.ค.2565-นายศุภชัย เจียรวนนท์ ประธานคณะผู้บริหาร บริษัท เครือเจริญโภคภัณฑ์ จำกัด กล่าวบน เวทีเสวนาระหว่างผู้บริหารบริษัทชั้นนำของประเทศ “Ceo Panel Discussion: Leading Sustainable Business” ในงาน Sustainability Expo 2022 หรือ SX 2022 ว่า ในเรื่องการรับผิดชอบต่อส่วนรวมเป็นเรื่องที่เราคุ้นเคยอยู่แล้ว หน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับความยั่งยืนทุกๆ ภาคส่วนมีส่วนทำให้เกิดความตระหนักรู้ว่าจริงๆแล้วองค์กรของเราจะอยู่ได้อย่างยั่งยืนก็ต่อเมื่อโลกยั่งยืน องค์กรจะยั่งยืนก็ต่อเรื่องสังคม ประเทศยั่งยืน มันมีความเชื่อมโยงกันหมด
ทั้งนี้บริษัทได้ตั้งเป้าหมายเรื่องความยั่งยืนขึ้นมาโดยต้องพัฒนาเรื่องเศรษฐกิจไปพร้อมกับความยั่งยืนไปพร้อมกัน มีการตั้งเป้าหมายดังกล่าวองค์กร ผู้บริหาร พนักงานได้เริ่มมองว่าเป็นสิ่งสำคัญที่ต้องดำเนินการไปพร้อมกับการบริหารธุรกิจ ทำให้วันนี้เรา ได้กลับขึ้นมายืนอยู่ใน Top 38 องค์กรของโลกที่ UN ให้มา
ด้านนายฐาปน สิริวัฒนภักดี กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บริษัท ไทยเบฟเวอเรจ จำกัด (มหาชน) กล่าวว่าในเรื่องความยั่งยืนจริงๆแล้ว เริ่มต้นจากท่านประธานเจริญ ที่ท่านสร้างธุรกิจจากบรรจุภัณฑ์ต่างๆ ย้อนกลับไปเมื่อ 2565 ปีที่แล้ว ท่านค้าขายมาตั้งแต่อายุ 13 ปี เริ่มค้าขายกับโรงงานเรื่องความยั่งยืนอาจจะดูเหมือนเป็นมิติใหม่ แต่จริงๆแล้วใกล้ตัวทุกคนและมีอยู่มานานแล้ว เพียงแต่เรามีภาษาที่เรียกให้สากลมากขึ้น
“มองว่าศักยภาพของธุรกิจไทย พร้อมและมีกำลังในการที่จะพัฒนาเรื่องนี้ ในส่วนของไทยเบฟ ได้น้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาเป็นหลักในการพัฒนาอย่างยั่งยืน จึงเป็นที่มาของแนวคิดงาน SX2022 พอเพียงยั่งยืน เพื่อโลกในอดีตการพัฒนาอย่างยั่งยืนอาจอยู่แค่ในกลุ่มเดียวกัน การรวมพลังธุรกิจในกลุ่มอุตสาหกรรมเดียวกัน “นายฐาปน กล่าว
นอกจากนี้เชื่อว่าหลังจากโควิดจะมีพลังร่วมเกิดขึ้นอีกมากมาย เพราะเรามีโลกใบนี้ใบเดียว การรวมพลังเป็นพลังร่วมที่สำคัญ และในมิติใหม่ ให้ความสนใจกับน้องๆเยาวชน เราสนใจเด็กเล็ก เมื่อมางาน SX2022 แม้จะได้กลับไปไม่ครบทุกเรื่อง แค่ได้ไปหนึ่งเรื่อง เช่น การบริหารความยั่งยืน ด้านการทานอาหารไม่เหลือทิ้ง เท่านี้ก็ถือว่าเราประสบความสำเร็จแล้ว และหัวใจสำคัญคือการร่วมมือกัน การผสาน หลอมรวมเป็นหนึ่งเดียวกัน อยากชวนทุกท่านมารวมพลัง เพราะเชื่อว่าเรามีพลังความคิดที่สร้างสรรค์ ช่วยกันพัฒนาธุรกิจเพื่อตวามยั่งยืนตามแนวทางของการจัดงานปีนี้คือ Good Balance, Better World
นายธีรพงศ์ จันศิริ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ไทยยูเนี่ยน กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า เรื่องการพัฒนาอย่างยั่งยืน เริ่มต้นในปี 2014 ซึ่งเป็นปีที่ประเทศไทยถูกจัดอันดับการค้ามนุษย์อยู่ในอันดับที่ 3 ในแง่ธุรกิจทำทูน่ากระป๋องช่วงนั้นถูก NGO รวมกรีนพีชที่โจมตีเรื่องจับปลาที่ไม่เหมาะสม ทำให้องค์กรมีความตื่นตัวพัฒนาปรับปรุงในเรื่องต่างๆ ที่ผ่านมาเราถ้าเราจัดการภายในบ้านเราได้ก็เรียบร้อย แต่ในความเป็นจริง NGO คู่ค้าต่างๆที่ต้องการเห็นดูแลไปถึง Supply chain ตั้งแต่ต้นน้ำถึงปลายปี เป็นเรื่องที่เราทำงานใกล้ชิดกับหน่วยงานภาครัฐ Stakeholder ที่ขายวัตถุดิบ เช่นประมง เกษตรกร นับเป็นช่วงเวลาที่ทำให้เราเรียนรู้เยอะ
ทั้งนี้ในช่วง 7 ปีที่ผ่านมาถือว่าไทยเป็นผู้นำเรื่องการบริหารจัดการเรื่องแรงงานต่างชาติ เนื่องจากไทยใช้แรงงานต่างชาติค่อนข้างเยอะ ไทยวันนี้ค่อนข้างนำหน้าประเทศอื่น เช่นเรื่องการจัดหาจัดจ้างประเทศเพื่อนบ้านของเรา จนถึงการรับผิดชอบค่าใช้จ่ายวันนี้เราได้รับผิดชอบค่าใช้จ่ายแรงงานต่างชาติตั้งแต่การทำพลาสปอร์ต ตรวจโรค การเดินทางจนถึงสถานประกอบการ ไม่เพียงแต่แรงงานในโรงงานเราเท่านั้นเราได้ยกระดับได้บังคับคู่ค้าในระบบของเราได้ปฏิบัติตามกฎอย่างเคร่งครัด
“เรามีมีทีมงานที่ทำเรื่องออดิดทั้งระบบเรื่องที่สองที่เราทำคือ การซื้อวัตถุดิบอย่างถูกต้อง มีการให้ความรู้ความเข้าใจกับเรือประมงทั้งในประเทศและต่างประเทศ การบริหารจัดการฟาร์มที่ถูกต้อง อีกเรื่องที่ให้ความใส่ใจคือ Sustainably packeting เรื่องของพลาสติก เรามีกระบวนการใช้ packeting ค่อนข้างเยอะ “นายธีรพงศ์ กล่าว
นายรุ่งโรจน์ รังสิโยภาส กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ปูนซิเมนต์ไทย จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า ในโรงงาน SCG มีอุดมการณ์ 4 SCG คือเรื่องความเป็นธรรม เรื่องความเป็นเลิศ เรื่องคุณค่าของคน และเรื่องถือมั่นความรับผิดชอบทางสังคม ถือเป็นโชคดีในแง่องค์กรได้ปลูกฝั่งเรื่องนี้ ในช่วง 1-2 ปีที่ผ่านมาที่เราให้ความสำคัญคือเรื่อง Why ทำไมต้องทำ ส่วนตัวมองเรื่องความยั่งยืนเป็นเรื่องที่มีความไม่แน่นอนสูงมาก แต่ความไม่แน่นอนคือเรื่องเวลา สุดท้ายก็กลับมาที่หลักการคืออะไรนี่คือความท้าทายแรก
อย่างเดียวส่วนเรื่องที่สององค์กรจะเลือกยังไงในสิ่งที่จะทำให้มันมีไทน์อิน โดยเฉพาะเรื่อง Hight impact เรื่องความยั่งยืน แน่นอนว่าการทำธุรกิจต้องควบคู่ไปกับความยั่งยืนเสมอ เราต้องมาจัดลำดับความสำคัญ ส่วนตัวมองว่าในเชิงปฏิบัติทุกองค์กรจะเป็นเหมือนกันหมด เรื่องที่สามคือพูดกับทำให้ตรงกัน ซึ่งยอมรับว่าในองค์กร SCG เองก็มีปัญหาตรงนี้แต่เราก็มีใจสู้และคิดว่าเราแก้ปัญหาตรงนี้ได้
สำหรับผู้กอบการขนาดเล็ก อาจจะคิดว่าเรื่องเงินทุนที่จะไปทำให้เปลี่ยนแปลงขนาดใหญ่ ไม่ใช่เรื่องง่าย แต่ทุนที่แท้จริงแล้ว คือการเข้าใจลูกค้า เพราะพื้นฐานคือการทำธุรกิจ ขนาดเล็ก ต้องตั้งต้นจากลูกค้า ว่าต้องการอะไร เกี่ยวกับความยั่งยืน เช่น สินค้า การรีไซเคิล บรรจุภัณฑ์ ลูกค้าต้องการอย่างไร บวกกับนวัตกรรม จะทำให้สำเร็จได้ง่าย และขยายวงกว้างขึ้นได้
“เอสซีจีตั้งเป้าหมายการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกเป็นศูนย์ภายในปี 2050 โดยจะลดการใช้ถ่านหินลงเรื่อยๆ รวมทั้งเพิ่มสัดส่วนการใช้พลังงานสะอาดมากยิ่งขึ้นในการผลิตซีเมนต์ซึ่งเป็นหนึ่งในธุรกิจที่ใช้พลังงานสูงและสร้างผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมมากที่สุด”นายรุ่งโรจน์ กล่าว
ขณะที่นายคงกระพัน อินทรแจ้ง ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร และกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท พีทีที โกลบอล เคมิคอล จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า เรื่องของการพัฒนาอย่างยั่งยืนนั้น ได้ทำมานานกว่า 10 ปีแล้ว แต่เมื่อประมาณ 5 – 6 ปีก่อน ได้กำหนดทำให้เป็นส่วนหนึ่งของธุรกิจ เราได้ปรับสโลแกนใหม่ที่ถือเป็นพันธกิจของนั่นคือ GC Chemistry for Better Living เพราะมองว่าการที่ทุกอย่างจะดีขึ้นอย่างยั่งยืน ก็ต้องดีต่อสิ่งแวดล้อมและความเป็นอยู่ด้วย
อย่างไรก็ตาม ดังนั้นในทุกกระบวนการที่เราได้ผลิตภัณฑ์มา ต้องดีด้วย ต้องใช้ทรัพยากรน้อย ดีต่อโลก รวมถึงการบริหารบริษัทด้วยgovernance ธรรมาภิบาล โดยบริษัทมี 3 กลยุทธ์หลักคือ 1.ความสามารถในการแข่งขัน 2.การเจริญเติบโตและ3.การพัฒนาอย่างยั่งยืน นอกจากนี้มีการพัฒนา Innovation ให้ดีขึ้น
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
นายกฯอิ๊งค์ชู 3 ประเด็นบนเวทีสุดยอดอาเซียน
นายกฯ โชว์วิสัยทัศน์เวทีสุดยอดอาเซียน ชู 3 ข้อ ความยั่งยืนของสมาชิก-ความมั่นคงของมนุษย์-การบูรณาการร่วมกันระดับภูมิภาค เชื่อมโยงอาเซียนที่แข็งแรง สู่การ 'กินดีอยู่ดี' ของประชากรกว่า 700 ล้านคนในภูมิภาค
แพลตฟอร์มสร้างความยั่งยืนในสังคม ชวนเปิดประตูสู่ชีวิตใหม่ด้วยกาย-ใจแข็งแรง
การขับเคลื่อนสังคมโลกในยุค 2024 ที่มีการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว ทั้งทางสังคม เศรษฐกิจ การเมือง และธรรมชาติ ตลอดจนการเผชิญกับวิกฤตโรคระบาด