'ทิพานัน' เผยผลสำเร็จของรัฐบาล ผ่านมาตรการการคลัง และมาตรการลดผลกระทบจากการปรับตัวขึ้นของราคาสินค้า ฟื้นฟูผลกระทบจากการแพร่ระบาดโควิด-19 เกิดผลเป็นรูปธรรม ปชช.พึงพอใจ
30 ก.ย.2565 - นางสาวทิพานัน ศิริชนะ รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด – 19) ที่เริ่มมีการระบาดในประเทศไทยในช่วงเดือนกุมภาพันธ์ 2563 และมีการระบาดอยู่จนถึงปัจจุบัน รัฐบาลได้ดำเนินการเพื่อแก้ไขภาวะวิกฤตที่เกิดขึ้นเพื่อบรรเทาความเดือนของประชาชน โดยเฉพาะด้านปากท้อง ซึ่งที่ผ่านมารัฐบาลได้ดำเนินมาตรการการคลังเพื่อเยียวยาและฟื้นฟูผลกระทบจาการแพร่ระบาดของโควิด-19 และมาตรการเพื่อลดผลกระทบจากการปรับตัวขึ้นของราคาสินค้า ดังนี้
1.มาตรการรักษาระดับการบริโภคภายในประเทศและเพิ่มกำลังซื้อให้แก่ กลุ่มผู้มีรายได้น้อย และประชาชนทั่วไป ได้แก่ โครงการเราไม่ทิ้งกัน เพื่อช่วยเหลือเยียวยาให้กับลูกจ้างที่ได้รับผลกระทบจากการหยุดประกอบกิจการของสถานประกอบการที่เสี่ยงต่อการแพร่ระบาดของโควิด– 19 หรือผู้ได้รับผลกระทบอื่น ๆ โดยชดเชยรายได้ให้แก่ผู้ได้รับสิทธิ จำนวน 5,000 บาทต่อเดือน เป็นระยะเวลา 3 เดือน (เดือนเมษายน – มิถุนายน 2563) รวมเป็นเงินจำนวน 15,000 บาทต่อคน มีผู้ได้รับสิทธิประมาณ 15.27 ล้านคน คิดเป็นวงเงินประมาณ 228,919 ล้านบาท
2.โครงการช่วยเหลือผู้มีบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ เพื่อช่วยเหลือเยียวยาให้แก่ผู้มีบัตรสวัสดิการแห่งรัฐที่ยังไม่ได้รับความช่วยเหลือเยียวยาจากโครงการใดๆ ของภาครัฐในช่วงที่มีการแพร่ระบาดของโควิด – 19 ซึ่งทำให้กลุ่มคนดังกล่าว มีรายได้ลดลงและไม่สามารถหารายได้จากแหล่งอื่นมาทดแทนได้ โดยจ่ายเงินเยียวยา จ่านวน 1,000 บาทต่อเดือน เป็นระยะเวลา 3 เดือน (เดือนพฤษภาคม - กรกฎาคม 2563) รวมเป็นเงิน จำนวน 3,000 บาทต่อคน มีผู้ได้รับสิทธิตามโครงการ จำนวน 1.03 ล้านคน คิดเป็นวงเงินประมาณ 3,080 ล้านบาท
3.โครงการเพิ่มกำลังซื้อให้แก่ผู้มีบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ เป็นการช่วยเหลือวงเงินค่าซื้อสินค้าบริโภคอุปโภคที่จำเป็นจากร้านธงฟ้าราคาประหยัดพัฒนาเศรษฐกิจท้องถิ่น (ร้านธงฟ้าฯ) ให้แก่ผู้มีบัตรฯ จำนวน 14 ล้านคน เป็นระยะเวลา 3 เดือน โดยดำเนินงานอย่างต่อเนื่องมาแล้วรวม 4 ระยะ เพื่อให้การช่วยเหลือ เยียวยา และลดภาระค่าใช้จ่ายให้แก่กลุ่มผู้มีบัตรฯ เป็นไปอย่างต่อเนื่อง ได้แก่ ระยะที่ 1 เดือนตุลาคม - เดือนธันวาคม 2563 ช่วยเหลือในวงเงินจ่านวน 500 บาทต่อคนต่อเดือน ระยะที่ 2 เดือนมกราคม - เดือนมีนาคม 2564 ช่วยเหลือในวงเงินจ่านวน 500 บาทต่อคนต่อเดือน ระยะที่ 3 เดือนกรกฎาคม – ธันวาคม 2564 ช่วยเหลือในวงเงิน จ่านวน 200 บาทต่อคนต่อเดือน และระยะที่ 4 เดือนกุมภาพันธ์ – เมษายน 2565 ช่วยเหลือในวงเงิน จ่านวน 200 บาทต่อคนต่อเดือน
4.โครงการคนละครึ่ง เป็นโครงการที่ประชาชนที่เข้าร่วมโครงการจะได้รับสิทธิภาครัฐร่วมจ่ายร้อยละ 50 สำหรับการซื้ออาหาร เครื่องดื่ม สินค้าทั่วไป ไม่รวมถึงสลากกินแบ่งรัฐบาล เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ยาสูบ โดยจะต้องช่าระเงินผ่านระบบช่าระเงินอิเล็กทรอนิกส์โดยภาครัฐ (g-Wallet) บนแอปพลิเคชัน “เป๋าตัง” กับร้านค้าที่เข้าร่วมโครงการที่ติดตั้งแอปพลิเคชัน “ถุงเงิน” ปัจจุบันดำเนินงานไปแล้ว 4 ระยะ ได้แก่ ระยะที่ 1 ประชาชนที่เข้าร่วมโครงการไม่เกิน 10 ล้านคน ผู้เข้าร่วมได้รับสิทธิภาครัฐร่วมจ่ายไม่เกิน 150 บาทต่อคนต่อวัน หรือไม่เกิน 3,000 บาทต่อคน ระยะเวลาการใช้สิทธิตั้งแต่วันที่ 23 ตุลาคม – 31 ธันวาคม 2563 ระยะที่ 2 ประชาชนที่เข้าร่วมโครงการไม่เกิน 15 ล้านคน ผู้เข้าร่วมได้รับสิทธิภาครัฐร่วมจ่ายไม่เกิน 150 บาทต่อคนต่อวัน หรือไม่เกิน 3,500 บาทต่อคน ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม - 31 มีนาคม 2564 ระยะที่ 3 ประชาชนที่เข้าร่วมโครงการไม่เกิน 31 ล้านคน ผู้เข้าร่วมได้รับสิทธิภาครัฐร่วมจ่าย ไม่เกิน 150 บาทต่อคนต่อวัน หรือไม่เกิน 1,500 บาท ต่อคน ตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม – 31 ธันวาคม 2564 ระยะที่ 4 ประชาชนที่เข้าร่วมโครงการจากระยะที่ 3 และลงทะเบียนใหม่ 1 ล้านคน ผู้เข้าร่วมได้รับสิทธิภาครัฐร่วมจ่าย ไม่เกิน 150 บาทต่อคนต่อวัน หรือไม่เกิน 1,200 บาทต่อคน ตั้งแต่วันที่ 1 กุมภาพันธ์ – 30 เมษายน 2565
5.มาตรการสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำของสถาบันการเงินเฉพาะกิจสำหรับลูกค้ำรายย่อย ประกอบด้วย โครงการสินเชื่อเพื่อเป็นค่าใช้จ่ายฉุกเฉินสำหรับผู้มีอาชีพอิสระและผู้มีรายได้ประจำที่ได้รับผลกระทบโควิด-19 วงเงินรวม 25,000 ล้านบาท โครงการสินเชื่อกู้ภัยโควิด-19 เพื่อช่วยเหลือและบรรเทาผลกระทบการแพร่ระบาดของโควิด-19 ระลอกใหม่ วงเงิน 20,000 ล้านบาท มาตรการสินเชื่อสู้ภัยโควิด-19 ส่าหรับผู้มีรายได้ประจำประกอบอาชีพอิสระ และเกษตรกรรายย่อยหรือลูกจ้างภาคการเกษตร วงเงิน 20,000 ล้านบาท (ธ.ก.ส.) และมาตรการภาษี เพื่อช่วยเหลือ เยียวยา และบรรเทาผลกระทบประกอบด้วย มาตรการลดค่าธรรมเนียมจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมสาหรับที่อยู่อาศัย โดยการลดค่าธรรมเนียมการโอนจากร้อยละ 2 ลงเหลือร้อยละ 0.01 และลดค่าธรรมเนียมการจานองจากร้อยละ 1 ลงเหลือร้อยละ 0.01 มาตรการขยายเวลาลดอัตราภาษีสรรพสามิตน้ำมันเครื่องบิน (ถึง 30 มิถุนายน 2565) การยกเว้นอากรศุลกากรสำหรับของที่นำเข้ามาเพื่อใช้รักษา วินิจฉัย หรือป้องกันโรคติดเชื้อโควิด-19 การยกเว้นอัตราค่าปรับเป็นอัตราร้อยละ 0 สำหรับงานก่อสร้างของภาครัฐที่มีการส่งมอบงานงวดสุดท้าย จนถึง 30 มิถุนายน 2565 มาตรการยกเว้นค่าธรรมเนียมการอนุญาตขายสุรา ยาสูบและไพ่ สาหรับการต่ออายุใบอนุญาตของสถานประกอบการเดิมในปี 2565
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
'อดีตขุนคลัง' กังขาแจกเงินสดเข้าข่าย 'สัญญาว่าจะให้' ไม่มีการตรวจสอบคุณสมบัติซ้ำ
นายธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ประธานกรรมการด้านวิชาการ พรรคพลังประชารัฐ โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ก ว่า
กลุ่มเปราะบางดีใจ ลุ้น 'เงินดิจิทัล' เข้าลอตแรกเร็วๆนี้ หวังได้เป็นเงินสดยิ่งดี
กลุ่มเปราะบางดีใจ หลังรัฐบาลระบุว่า เงินดิจิทัลจะเข้าลอตแรกเร็วๆนี้ พร้อมบอกว่าถ้าได้เป็นเงินสดยิ่งดี เพราะทุกคนต้องการเงินสดสามารถใช้จ่ายได้ทุกอย่าง
ครม.อนุมัติงบกลาง 3,500 ล้านบาท เติมกองทุน 'บัตรสวัสดิการแห่งรัฐ'
ในการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ที่มีนายภูมิธรรม เวชยชัย รองนายกรัฐมนตรีและรมว.พาณิชย์ ปฏิบัติหน้าที่แทนนายกรัฐมนตรี เป็นประธานการประชุม ได้อนุมัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 งบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น
ประเดิมวันแรก! สแกนใบหน้า ใช้บัตรสวัสดิการแห่งรัฐ
นายคารม พลพรกลาง รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า เพื่อให้การรับชำระค่าสินค้าและบริการผ่านสิทธิสวัสดิการแห่งรัฐจากแอปพลิเคชันถุงเงินเป็นไปด้วยความเรียบร้อยและโปร่งใส