โฆษกรัฐบาลบอก ครม.รับทราบผลงาน กนง. ทั้งเรื่องแนวโน้มเศรษฐกิจฟื้นตัว อัตราเงินเฟ้อที่เกินเป้า และคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ 0.50% ต่อปี
28 ก.ย.2565 - นายอนุชา บูรพชัยศรี รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรีฝ่ายการเมือง ปฏิบัติหน้าที่โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า คณะรัฐมนตรี (ครม.) เมื่อวันอังคารรับทราบรายงานผลการดำเนินงานของคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ประจำครึ่งแรกของปี พ.ศ.2565 (1 มกราคม- 30 มิถุนายน 2565 ) สรุปสาระสำคัญได้ ดังนี้
1.เป้าหมายนโยบายการเงินสำหรับปี 2565 โดย ครม. เคยมีมติอนุมัติให้ใช้อัตราเงินเฟ้อทั่วไปในช่วง% 1-3% เป็นเป้าหมายนโยบายการเงิน และ กนง.เคยประเมินว่า อัตราเงินเฟ้อทั่วไปเฉลี่ย 12 เดือนข้างหน้า ตั้งแต่ไตรมาสที่ 2 (เมษายน-มิถุนายน) ปี 2565 ถึงไตรมาสที่ 1 (มกราคม-มีนาคม) ปี 2566 จะอยู่ที่ 4.1% ซึ่งสูงกว่ากรอบเป้าหมายนโยบายการเงิน
2.เรื่องการประเมินภาวะเศรษฐกิจการเงินและเสถียรภาพระบบการเงิน เศรษฐกิจไทยในไตรมาสที่ 1 ปี 2565 ขยายตัวร้อยละ 2.2 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน และในไตรมาสที่ 2 ปี 2565 เศรษฐกิจไทยมีแนวโน้มขยายตัวต่อเนื่อง โดยการบริโภคภาคเอกชนปรับเพิ่มขึ้นจากหมวดบริการเป็นสำคัญ ประกอบกับจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติที่เพิ่มขึ้นต่อเนื่อง ส่งผลให้ภาคการค้าและภาคบริการฟื้นตัว ขณะที่การลงทุนภาคเอกชนปรับดีขึ้นตามการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ และภาคการส่งออกมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นตามอุปสงค์ของประเทศคู่ค้าที่ขยายตัว อีกทั้ง เศรษฐกิจไทยมีแนวโน้มฟื้นตัวต่อเนื่องในปี 2565 และ 2566 โดยจะขยายตัวที่ 3.3% และ 4.2% ตามลำดับ จากการฟื้นตัวของการบริโภคภาคเอกชน โดยเฉพาะในหมวดบริการและจากภาคท่องเที่ยวที่มีจำนวนนักท่องเที่ยวเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง ด้านตลาดแรงงานมีสัญญาณดีขึ้น โดยจำนวนผู้ว่างงานปรับลดลงเข้าใกล้ระดับก่อนสถานการณ์โควิด-19
นอกจากนี้ อัตราเงินเฟ้อทั่วไปในช่วงครึ่งปีแรกของปี 2565 เฉลี่ยอยู่ที่ 5.6% สูงกว่ากรอบเป้าหมาย โดยเป็นผลมาจากอัตราเงินเฟ้อในหมวดพลังงาน ซึ่งเป็นผลจากราคาน้ำมันดิบโลกที่ปรับสูงขึ้นเนื่องจากสถานการณ์ความขัดแย้งระหว่างสหพันธรัฐรัสเซียและยูเครน ประกอบกับราคาน้ำมันขายปลีกในประเทศและอัตราเงินเฟ้อในหมวดอาหารสดที่ปรับเพิ่มขึ้น โดยอัตราเงินเฟ้อทั่วไปในปี 2565 คาดว่าจะอยู่ที่ 6.2% และมีแนวโน้มสูงเกินกรอบเป้าหมายตลอดปี จากราคาน้ำมันโลกที่มีแนวโน้มอยู่ในระดับสูงนานกว่าที่คาดไว้ อย่างไรก็ตาม คาดว่าอัตราเงินเฟ้อทั่วไปจะทยอยลดลง และกลับเข้าสู่กรอบเป้าหมายในปี 2566 ที่ 2.5%
ส่วนเรื่องเสถียรภาพระบบการเงิน ในช่วงครึ่งแรกของปี 2565 ระบบการเงินโดยรวมมีเสถียรภาพ แต่ยังมีความเปราะบางในบางจุด โดยเฉพาะภาคครัวเรือนและบางภาคธุรกิจ อย่างไรก็ตาม ระบบธนาคารพาณิชย์ยังกระจายสภาพคล่อง เพื่อสนับสนุนการฟื้นตัวของเศรษฐกิจได้ต่อเนื่อง ส่วนเสถียรภาพด้านต่างประเทศยังคงเข้มแข็ง โดยสะท้อนจากเงินสำรองระหว่างประเทศที่อยู่ในระดับสูง และหนี้ต่างประเทศที่อยู่ในระดับต่ำ และสถาบันการเงินไทยในภาพรวม มีสภาพคล่องและมีฐานะทางการเงินที่สามารถรองรับภาวะวิกฤตได้
3.การดำเนินนโยบายการเงิน โดย กนง. ให้คงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ 0.50% ต่อปี เพื่อสนับสนุนให้เศรษฐกิจฟื้นตัวได้ต่อเนื่อง สำหรับการดำเนินนโยบายอัตราแลกเปลี่ยนนั้น เห็นควรผลักดันการสร้างระบบนิเวศใหม่ของตลาดอัตราแลกเปลี่ยน (FX Ecosystem) อย่างต่อเนื่อง เพื่อสนับสนุนผู้ประกอบการ SMEs ให้มีการป้องกันความเสี่ยงจากความผัวผวนของอัตราแลกเปลี่ยน ส่วนการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับการรักษาเสถียรภาพระบบการเงิน เห็นควรให้มีมาตรการเฉพาะสำหรับกลุ่มเปราะบาง โดยเฉพาะภาคครัวเรือนและภาคธุรกิจบางกลุ่ม ที่ยังฟื้นตัวไม่เต็มที่และภาระหนี้ที่อยู่ในระดับสูง เช่น การปรับโครงสร้างหนี้ให้สอดคล้องกับความสามารถในการชำระหนี้ระยะยาวของลูกหนี้ และประการสุดท้ายคือ การสื่อสารแนวนโยบายการเงินในประเด็นที่ประชาชนให้ความสนใจ ซึ่งจะช่วยสร้างความเชื่อมั่นต่อนโยบายการเงินด้วย
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
รัฐบาลดี๊ด๊า! เปิดทำเนียบฯ รับม็อบเชียร์ 'กิตติรัตน์' นั่งปธ.บอร์ดแบงก์ชาติ
เครือข่ายภาคประชาสังคมฯ ยื่น 1.5 หมื่นรายชื่อ หนุน 'กิตติรัตน์' นั่งประธานบอร์ดแบงก์ชาติ 'รองเลขาฯนายกฯ' รีบหอบส่ง ธปท.ทันที แย้มวันนี้ไม่เลื่อนแล้ว
‘อนุสรณ์’ วิเคราะห์ ‘ทรัมป์2.0’ ไทยต้องปรับยุทธศาสตร์ ศก. พึ่งพาตัวเองมากขึ้น
ทรัมป์ 2.0 ไทยต้องปรับยุทธศาสตร์เศรษฐกิจหันพึ่งพาตัวเองมากขึ้น สินค้านอกข้อตกลงเอฟทีเอกระทบรุนแรง สงครามการค้าระหว่างจีนกับสหรัฐฯรอบใหม่อาจนำไปสู่สงครามเย็นรอบใหม่ในไม่ช้า
เศรษฐกิจไทย ทำไมยังไม่ไปไหนเสียที
ก่อนหน้าที่ดิฉันจะเข้าทำงานที่องค์การสหประชาชาติเมื่อเกือบ 8 ปีก่อน ดิฉันเป็นคนหนึ่งที่ไม่ค่อยได้ชื่นชมประเทศไทยมากนัก เพราะรถติดมากแทบทุกวัน
'พิชัย' ติง 'ผู้ว่าฯธปท' จ้อสื่อนอกไม่มีนโยบายลดดอกเบี้ย ห่วงคนเทรดเงินได้ประโยชน์
'พิชัย'ติง 'ผู้ว่าฯธปท' จ้อสื่อนอก ปมไม่มีนโยบายลดดอกเบี้ยต่อเนื่อง ห่วงคนเทรดเงินได้ประโยชน์ เผย เตรียมถกกรอบนโยบายเงินเฟ้ออีกไม่กี่วันนี้
ข่าวดี กรุงไทย ประกาศลดดอกเบี้ยเงินกู้สูงสุด 0.25%
ธนาคารกรุงไทย ขานรับมาตรการภาครัฐ ประกาศลดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ MOR MLR และ MRR พร้อมต่ออายุมาตรการช่วยเหลือกลุ่มเปราะบาง
เกษตรกรเฮ! ธ.ก.ส. ปรับลดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ สูงสุด 0.25%
ธ.ก.ส. ปรับลดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ สูงสุดร้อยละ 0.25 พร้อมตรึงอัตราดอกเบี้ยเงินฝาก ส่งเสริมวินัยการออม