รัฐบาลปลื้มผลประเมินเงินกู้โควิด19 เกิดความคุ้มค่า 3.24 เท่า

คปก.ประเมินการใช้จ่ายเงินกู้ เผย 19 โครงการภายใต้ พ.ร.ก.กู้เงิน สร้างมูลค่าต่อเศรษฐกิจ 2.65 ล้านล้านบาท เกิดความคุ้มค่า 3.24 เท่า

28 ก.ย.2565 - น.ส.ไตรศุลี ไตรสรณกุล รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า รัฐบาลได้มีการวางกลไกติดตามประเมินผลของโครงการแผนงานตามพระราชกำหนด (พ.ร.ก.)ให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อแก้ไขปัญหา เยียวยาและฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคม ที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ทั้งในแง่ของผลต่อเศรษฐกิจ รวมถึงรวบรวมปัญหาอุปสรรคและข้อเสนอแนะนำเสนอต่อคณะรัฐมนตรี(ครม.) ทุก 6 เดือน โดยมีคณะกรรมการประเมินการใช้จ่ายเงินกู้ตามพระราชกำหนด (คปก.) กระทรวงการคลัง ดำเนินการประเมิน ซึ่งในการประชุม ครม. เมื่อวันที่ 27 ก.ย. คปก.ได้รายงานผลประเมินโครงการ/แผนงานภายใต้ พ.ร.ก.ให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงิน พ.ศ 2563 (พ.ร.ก.กู้เงิน พ.ศ.2563) รอบ 6 เดือน ครั้งที่ 1 โดยได้คัดเลือกโครงการ/แผนงานเพื่อดำเนินการประเมินจากโครงการที่มีขนาดใหญ่ กระจายทั่วประเทศ วงเงินกู้สูงมีผลกระทบต่อเศรษฐกิจและสังคมอย่างมีนัยสำคัญ 19 โครงการ วงเงินดำเนินการรวม 8.05 แสนล้านบาท เทียบกับ พ.ร.ก.กู้เงิน พ.ศ.2563 ที่มีวงเงินรวม 1 ล้านล้านบาท

น.ส.ไตรศุลี กล่าวว่า การประเมินระหว่างเดือน ม.ค.-มิ.ย.2565 พบว่าทั้ง 19 โครงการ มีผลการเบิกจ่ายรวม 7.95 แสนล้านบาท คิดเป็น 98.84% ของวงเงินทั้ง 19 โครงการ มีผลการดำเนินงานอยู่ในระดับดีมาก และสามารถสร้างมูลค่าและผลกระทบต่อเศรษฐกิจ จำนวน 2.65 ล้านล้านบาท มีรายได้กลับคืนภาครัฐ จำนวน 5.12 แสนล้านบาท เกิดความคุ้มค่าต่อการใช้จ่ายงบประมาณ 3.24 เท่า

น.ส.ไตรศุลี กล่าวว่า ยังมีการประเมินแยกตามแผนงาน 3 แผนงาน ประกอบด้วย แผนงานที่ 1 แผนงาน โครงการ ที่มีวัตถุประสงค์ทางการแพทย์และสาธารณสุข เพื่อแก้ไขปัญหาโควิด-19 จำนวน 9 โครงการ อาทิ โครงการค่าตอบแทน เยียวยา ชดเชยและเสี่ยงภัย สำหรับการปฏิบัติงานของ อสม. และ อสส. ในการเฝ้าระวังป้องกันและควบคุมโควิด19 ในชุมชน ระยะที่ 1-4 โครงการค่าบริการสาธารณสุขภายใต้ระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ โครงการจัดหาเครื่องช่วยหายใจเพื่อรักษาผู้ป่วยโควิด19 เป็นต้น กรอบวงเงินรวม 3.37 หมื่นล้าน มีการเบิกจ่าย 3.36 หมื่นล้านบาท คิดเป็น 99.76% ของกรอบวงเงิน มีผลการดำเนินงานอยู่ในระดับดีมาก สามารถสร้างผลกระทบต่อเศรษฐกิจและสังคม โดยการลดภาระค่าใช้จ่ายให้กับประชาชนกลุ่มเสี่ยงและประชาชนที่ติดเชื้อโควิด-19 รวมทั้งประชาชนส่วนใหญ่ได้รับการรักษาอย่างทันท่วงทีและมีความเชื่อมั่นต่อการให้บริการและการรักษาพยาบาล

น.ส.ไตรศุลี กล่าวว่า แผนงานที่ 2 แผนงาน โครงการที่มีวัตถุประสงค์เพื่อช่วยเหลือ เยียวยาและชดเชยให้กับภาคประชาชน เกษตรกร และผู้ประกอบการ ซึ่งได้รับผลกระทบจากโควิด-19 จำนวน 6 โครงการ อาทิ โครงการเพิ่มกำลังซื้อให้แก่ผู้มีบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ และโครงการเพื่อช่วยเหลือ เยียวยา และชดเชย ให้แก่ประชาชนซึ่งได้รับผลกระทบจากการระบาดของโควิด-19 โครงการเราชนะ เป็นต้น กรอบวงเงินรวม 6.36 แสนล้านบาทเบิกจ่ายรวม 6.34 แสนล้านบาท คิดเป็น 99.69% ของกรอบวงเงิน มีผลการดำเนินงานอยู่ในระดับดีมาก สร้างมูลค่าต่อเศรษฐกิจ จำนวน 2.09 ล้านล้านบาท มีรายได้กลับคืนภาครัฐ จำนวน 4.05 แสนล้านบาท รวมทั้งสามารถชะลอการเกิดหนี้เสียและเกิดการกระจายรายได้สู่ภูมิภาค

น.ส.ไตรศุลี กล่าวว่า ในส่วนของ แผนงานที่ 3 แผนงาน โครงการที่มีวัตถุประสงค์เพื่อฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคมที่ได้รับผลกระทบจากโควิด-19 จำนวน 4 โครงการ ประกอบด้วย โครงการกำลังใจ และโครงการคนละครึ่ง ระยะที่1-3 วงเงินรวม 1.35 แสนล้านบาท เบิกจ่าย 1.27 แสนล้านบาท คิดเป็น 94.60% สร้างผลกระทบต่อเศรษฐกิจและสังคม 5.55 แสนล้านบาท มีรายได้กลับคืนภาครัฐ จำนวน 1.07 แสนล้านบาท รวมทั้งลดความตึงเครียดของประชาชน ลดการเลิกการจ้างงาน เพิ่มทักษะการใช้เทคโนโลยีดิจิทัล และส่งเสริมการเป็นสังคมไร้เงินสด

อย่างไรก็ตาม การประเมินด้านประสิทธิภาพและด้านความยั่งยืนของแผนงานที่3 อยู่ในระดับพอใช้ เนื่องจากโครงการกำลังใจไม่ได้รับความสนใจจากกลุ่มเป้าหมายตามที่คาดการณ์ไว้และโครงการกำลังใจและโครงการคนละครึ่งมีลักษณะเป็นการช่วยเหลือหรือมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจในระยะสั้น

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

รัฐบาลเตือนผู้กู้ยืม กยศ.อย่าเบี้ยวหนี้

รัฐบาลเตือนผู้กู้ยืม กยศ.หากไม่ชำระเงินคืนตามกำหนดจะทำให้เกิดภาระดอกเบี้ยและเสียเบี้ยปรับจากการผิดนัดชำระหนี้ รวมถึงถูกฟ้องร้องบังคับคดีตามกฎหมาย ย้ำผู้กู้ยืมต้องมีคุณธรรมมีความรับผิดชอบ

'ครม.'เห็นชอบไทยจัดวอลเลย์หญิงโลก 32ชาติร่วมตบ22ส.ค.-7ก.ย.68 กระจาย4สนามทั่วปท.

เมื่อวันจันทร์ที่ 9 ธ.ค. ที่ที่กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา นายสรวงศ์ เทียนทอง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา แถลงข่าวผลการประชุมคณะรัฐมนตรีเมื่อวันอังคารที่ 3 ธันวาคม ซึ่งคณะรัฐมนตรีพิจารณาเห็นชอบให้ประเทศไทยเป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขันวอลเลย์บอลหญิงชิงแชมป์โลกในปี 2568 ตามที่กระทรวง การท่องเที่ยวและกีฬาเสนอ ซึ่งเป็นไปตามที่สหพันธ์วอลเลย์บอลนานาชาติ ( FIVB ) ได้ให้เกียรติประเทศไทยเป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขันรายการนี้ โดยได้พิจารณาเห็นว่าประเทศไทยมีศักยภาพความพร้อมทุกด้านทั้งสนามแข่งขัน ที่พัก บุคลากร ตลอดจนการอำนวยความสะดวกต่าง ๆ รวมทั้งประเทศไทยมีแฟนคลับวอลเลย์บอลจำนวนมาก ชมและเชียร์อย่างสุภาพให้เกียรตินักกีฬาทุกประเทศ ประกอบกับประเทศไทยมีประสบการณ์ในการจัดการแข่งขันระดับนานาชาติมาหลายรายการ ซึ่งประสบความสำเร็จอย่างดียิ่งมาโดยตลอด โดยเฉพาะอย่างยิ่งความสำเร็จจากการเป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขันวอลเลย์บอลเนชั่นลีก ( VNL) รอบชิงชนะเลิศเมื่อต้นปีที่ผ่านมา

Virtual Bank ..ธนาคารในโลกดิจิทัล มุมมอง..ผ่านวิสัยทัศน์ 'ผยง ศรีวนิช'

ตั้งแต่กระทรวงการคลัง ประกาศ เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการขอใบอนุญาตและการออกใบอนุญาตประกอบธุรกิจ Virtual Bank หรือ ธนาคารพาณิชย์ไร้สาขา เมื่อวันที่ 4 มีนาคม 2567 ..จากวันนั้นจนถึงวันนี้ ธนาคารแห่งประเทศไทยยังอยู่ระหว่างการพิจารณาคุณสมบัติ ศักยภาพ และความสามารถของผู้ขออนุญาต  โดยคาดว่าจะสามารถประกาศรายชื่อได้ภายในช่วงกลางปี 2568 โดยผู้ที่ได้รับความเห็นชอบจะต้องเตรียมความพร้อมเพื่อให้สามารถเปิดดำเนินธุรกิจได้ภายใน 1 ปี นับแต่วันที่รัฐมนตรีให้ความเห็นชอบ

นักเศรษฐศาสตร์ ฉีกหน้า ‘พิชัย’ ย้ำแนวคิดรื้อจัดเก็บภาษี ยิ่งเพิ่มความเหลื่อมล้ำมากขึ้น

นักเศรษฐศาสตร์ฉีกหน้า”ขุนคลัง-พิชัย”ย้ำแนวคิดรื้อจัดเก็บภาษียิ่งเพิ่มความเหลื่อมล้ำมากขึ้นไม่ใช่ลดเตือนลดภาษีเงินได้นิติบุคคลเสี่ยงเกิดวิกฤติการคลังคนสงสัยเอื้อประโยชน์คนในรัฐบาล-กลุ่มทุนใหญ่  แนะเก็บภาษีอสังหาริมทรัพย์ในอัตราก้าวหน้าจะได้ผลกว่า