"เวิลด์แบงก์" ขยับจีดีพีไทยปีนี้โตแตะ 3.1% อานิสงส์บริโภค-ท่องเที่ยว-ส่งออกทยอยฟื้น

27 ก.ย.2565 – ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ธนาคารโลก (เวิลด์แบงก์) ได้ปรับเพิ่มคาดการณ์ตัวเลขการเติบโตของเศรษฐกิจไทยในปี 2565 เป็น 3.1% จากเดิมที่ 2.9% เนื่องจากการบริโภคภายในประเทศ การท่องเที่ยว และการส่งออกที่กำลังฟื้นตัวขึ้นอย่างต่อเนื่อง รวมถึงผลผลิตภาคการเกษตรที่ปรับตัวเพิ่มขึ้น แต่ยังคงได้รับผลกระทบจากการชะงักงันของห่วงโซ่อุปทาน (Supply Chain Disruption) ซึ่งประเทศไทยจะได้รับผลกระทบมากกว่าประเทศอื่น ๆ โดยเฉพาะสินค้ายานยนต์ ขณะที่ปี 2566 เวิลด์แบงก์คาดการณ์ว่าเศรษฐกิจไทยจะขยายตัวได้ที่ระดับ 4.1%

นอกจากนี้ เวิลด์แบงก์มองว่ามาตรการด้านการคลังในการกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาลที่มุ่งเป้าสนับสนุนภาคธุรกิจยังเป็นอีกปัจจัยสนับสนุนสำคัญ ขณะที่การอ่อนค่าลงของเงินบาทนั้น ก็สอดคล้องกับค่าเงินสกุลอื่น ๆ ในภูมิภาค ซึ่งเป็นผลมาจากแรงกดดันของเงินเฟ้อ และผลกระทบของการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายของธนาคารกลางในหลายประเทศ โดยเฉพาะธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) ที่ทำให้สกุลเงินดอลล่าร์ปรับแข็งค่าขึ้น

ขณะเดียวกัน ยังได้ปรับลดคาดการณ์การเติบโตของเศรษฐกิจในภูมิภาคเอเชียตะวันออกและแปซิฟิก ทั้งหมด 23 ประเทศในปีนี้ เหลือ 3.2% จากปีก่อน อยู่ที่ 7.2% โดยปัจจัยส่วนใหญ่มาจากการชะลอตัวของเศรษฐกิจจีน แต่หากไม่รวมจีน การเติบโตของเศรษฐกิจในภูมิภาคเอเชียตะวันออกและแปซิฟิก คาดว่าปีนี้จะขยายตัวถึง 5.3% จากปีก่อนหน้าอยู่ที่ 2.6% ขณะที่เศรษฐกิจจีนซึ่งครองสัดส่วน 86% ของจีดีพีภูมิภาค คาดว่าปีนี้จะชะลอตัวเหลือ 2.8% จากปีก่อนอยู่ที่ 8.1%

“การฟื้นตัวของประเทศส่วนใหญ่ในภูมิภาคมาจากการบริโภคของภาคเอกชนที่ฟื้นขึ้นมาหลังจากการระบาดของโควิด-19สายพันธุ์เดลตาในปีที่ผ่านมาและความต้องการจากทั่วโลกสำหรับการส่งออกของภูมิภาคยังคงอยู่ ขณะที่การคุมเข้มนโยบายการเงินหรือการคลังยังคงมีจำกัด” เวิลด์แบงก์ ระบุ

ขณะเดียว เวิลด์แบงก์ ยังคาดการณ์ว่า เวียดนามจะเป็นผู้นำในภูมิภาคด้วยการเติบโตของจีดีพีปีนี้ที่ระดับ7.2%รวมทั้งคาดการณ์ว่าจีดีพีของฟิลิปปินส์ ไทย และกัมพูชา จะกลับสู่ระดับก่อนเกิดโรคระบาดภายในสิ้นปี 2565

อย่างไรก็ดี มี 3 ปัจจัยที่เป็นภัยคุกคามต่อการเติบโตอย่างครอบคลุมและยั่งยืนของภูมิภาคนี้ ได้แก่ 1. แนวโน้มการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลกที่จะกดดันความต้องการส่งออก การผลิต และสินค้าโภคภัณฑ์ของภูมิภาค 2. ขณะที่อัตราเงินเฟ้อในต่างประเทศยังคงเร่งให้ธนาคารกลางขึ้นอัตราดอกเบี้ย ทำให้เกิดการไหลออกของเงินทุน การอ่อนค่าของสกุลเงินท้องถิ่น และทำให้ภาระในการชำระหนี้เพิ่มขึ้น และ 3. มาตรการเพื่อควบคุมอัตราเงินเฟ้อและหนี้สินบางประการกำลังบิดเบือนตลาดอาหาร เชื้อเพลิง และการเงิน

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

พิษณุโลก เปิดงานเทศกาลโคมไฟ 'ง่วนเซียว' สืบสานวัฒนธรรมคนไทยเชื้อสายจีน

เทศบาลนครพิษณุโลก ร่วมกับสหสมาคมไทย - จีน พิษณุโลก ศาลเจ้า ปุนเถ้ากง - ม่า ศาลเจ้าพ่อเสือ หน่วยงานต่าง ๆ จัดงานเทศกาลโคมไฟ “ง่วนเซียว” ซึ่งเป็นประเพณีจีนที่สืบทอดมาอย่างยาวนาน ซึ่งในปีนี้ จัดขึ้น ระหว่างวันที่ 12 – 16 กุมภาพันธ์ 2568 ณ บริเวณศาลเจ้าปุนเถ้ากง - ม่า ศาลเจ้าพ่อเสือ ล

เดินหน้าโครงการ '100 เดียวเที่ยวได้งาน' เปิดรอบใหม่ 20 ก.พ.นี้

การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) จัดเต็มอีกครั้งกับแคมเปญกระตุ้นการท่องเที่ยวในรูปแบบ Workation ที่ส่งเสริมการออกเดินทางท่องเที่ยวพร้อมทำงาน เพื่อสร้างประสบการณ์การทำงานในรูปแบบใหม่และก่อเกิดการเดินทางท่องเที่ยวในช่วงฤดูท่องเที่ยว (High Season)

'ทรัมป์' พ่นพิษ! นายกฯอิ๊งค์ ตั้งทีมเฉพาะกิจ รับมือสหรัฐขึ้นกำแพงภาษีสินค้า

นายกฯแพทองธาร กำชับครม.รับมือ มาตรการกีดกันทางการค้าของสหรัฐฯ ภายใต้การนำของ 'โดนัลด์ ทรัมป์' หวั่นกระทบหนักต่อสินค้าเกษตรและอุตสาหกรรม

ฮือฮา! ทุ่มพันล้านสร้าง 'จูราสสิค เวิลด์' แลนด์มาร์กใหม่กลางกรุง

เจ้าของ 'จูราสสิค เวิลด์' ประกาศลงทุนในกรุงเทพฯ สร้าง 'Jurassic World: The Experienc' แห่งแรกในอาเซียน ทุ่ม 1,200 ล้าน หนุนท่องเที่ยวไทย ปั้นแลนด์มาร์กใหม่ใจกลางกรุง 'บีโอไอ' ไฟเขียวแล้ว