16 ก.ย. 2565 – นายธานี มณีนุตร์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท พริ้นซิเพิล แคปิตอล จำกัด (มหาชน) หรือ PRINC เปิดเผยว่า กิจกรรม PRINC Next-Gen Hackathon ที่ร่วมผนึกกำลังทีมแพทย์ พยาบาลและบุคลากรจากโรงพยาบาลในเครือทั่วประเทศ เฟ้นหาไอเดียออกแบบสินค้าและบริการของโรงพยาบาล ตลอดจนสนับสนุนการเป็น Digital Hospital ให้ไปสู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน โดยโครงการPRINC Next-Gen Hackathon จัดขึ้นภายใต้แนวคิด “ทุกวินาทีที่โรงพยาบาล คือสุขภาพของคนไข้” ในรูปแบบ Hackathon เพื่อที่จะ (hack) ให้เกิดแนวทางการรักษา การบริการทางสุขภาพที่ดียิ่งขึ้น ภายใต้กรอบเวลาที่จำกัด ทันต่อสถานการณ์โรคภัยไข้เจ็บ และ (marathon) เพื่อส่งแรงขับเคลื่อนอย่างต่อเนื่องไม่มีที่สิ้นสุด เพื่อให้ชุมชนและสังคมมีรากฐานทางสุขภาพที่ดีอย่างยั่งยืนบนพื้นฐานของการทำความเข้าใจความต้องการของชุมชนอย่างแท้จริง หลอมรวมเข้ากับการวิเคราะห์สภาพสังคมในปัจจุบัน
โดยโครงการที่โดดเด่นที่เป็นผลผลิตทางความคิดจนนำมาสู่การต่อยอดนวัตกรรมสินค้าและบริการ โดยบุคลากรการแพทย์ของโรงพยาบาลในเครือจากทั่วประเทศในกิจกรรมโครงการ PRINC Next-Gen Hackathon ครั้งนี้ ประกอบด้วย
1. ผลิตภัณฑ์เจลลี่พร้อมทาน โดยโรงพยาบาลพิษณุเวช พิษณุโลก ผลิตภัณฑ์นวัตกรรมดูแลผู้ป่วยกลุ่มผู้สูงอายุ ซึ่งจากข้อมูลสถิติพบผู้ป่วยภาวะทุพโภชนาการ (Malnutrition) กว่าร้อยละ 20 เป็นผู้สูงอายุสอดคล้องกับผู้ที่มาเข้ารักษาที่โรงพยาบาลพิษณุเวช ซึ่งกว่าครึ่งเป็นผู้สูงอายุที่มีภาวะดังกล่าว
2. Doctor Specialist Teleport (DST) โดยโรงพยาบาลวิรัชศิลป์ ชุมพร เป็นการนำเอาเทคโนโลยีระบบสารสนเทศในโรงพยาบาลมาประยุกต์ใช้ ผนวกกับการนำองค์ความรู้ด้าน healthcare solution เพื่ออำนวยความสะดวกต่อการรักษาผู้ป่วย โดยเฉพาะผู้ป่วยที่ต้องรับการวินิจฉัยจากแพทย์เฉพาะทางในช่วงคลินิกนอกเวลา เป็นต้น
3.ศูนย์ส่งเสริมสุขภาพผู้ป่วยโรคเรื้อรัง (NCD Center) โดยโรงพยาบาลพิษณุเวช อุตรดิตถ์ รองรับผู้ป่วยโรคเบาหวานที่มีอัตราเข้ารับการรักษาพยาบาลที่โรงพยาบาลรัฐกว่า 200 รายต่อวัน รวมถึงจำนวนผู้ป่วยโรคเบาหวานในจังหวัดอุตรดิตถ์ที่มีมากกว่า 30,000 ราย มุ่งหวังที่จะทำให้ผู้ป่วยกลุ่มโรคเรื้อรังสามารถเข้ารับการรักษาพยาบาลได้อย่างรวดเร็ว ไม่ต้องใช้เวลาเดินทางนาน และราคาสมเหตุสมผล
4. Myer’s Cocktails – IV Nutrition Therapy วิตามินบำบัดผ่านทางหลอดเลือดดำ โดยโรงพยาบาลพริ้นซ์ ปากน้ำโพ บริการด้านการให้วิตามินบำบัดที่ไม่ได้มุ่งเน้นเฉพาะด้านความงาม แต่รวมถึงการให้วิตามินบำบัดสำหรับการฟื้นฟูร่างกาย และออกแบบให้เหมาะสมกับความต้องการเฉพาะบุคคลโดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ
นายธานี กล่าวต่อว่า สำหรับโครงการ PRINC Next-Gen Hackathon นี้ถือเป็นโครงการที่เกิดจากการร่วมมือระหว่าง PRINC และ Startup ที่ร่วมออกแบบกระบวนการคิดค้น สร้างสรรค์นวัตกรรมการให้บริการ ผ่านเครื่องมือสำหรับการวิเคราะห์และออกแบบที่สามารถเข้าถึงได้ทุกที่ ทุกเวลา ผ่านการจัดกิจกรรมออนไลน์เต็มรูปแบบ โดยมีทีมแพทย์ พยาบาล และบุคลากรจากโรงพยาบาลในเครือเข้าร่วม นับได้ว่าโครงการ PRINC Next-Gen Hackathon เป็นโครงการนำร่องริเริ่มการออกแบบธุรกิจ Healthcare โดยมีชุมชนเป็นหัวใจสำคัญ ซึ่งเป็นเส้นทางที่จะนำไปสู่การสร้างระบบนิเวศน์ด้านเฮลท์แคร์ (Healthcare Sociosystem) ในระดับประเทศต่อไปได้ในอนาคต
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
PRINC ปักหมุดอีสานล่าง เตรียมเปิด “ศูนย์มะเร็งและรังสีรักษา” แห่งแรกของศรีสะเกษ ธ.ค. นี้ มุ่งครอบคลุมทุกสิทธิการรักษาโรคมะเร็งและให้บริการครบวงจร
โรคมะเร็งเป็นปัญหาสุขภาพที่สำคัญ กระทบชีวิตของประชาชนเป็นอันดับที่ 1 ในพื้นที่เขตสุขภาพที่ 10 ซึ่งครอบคลุมจังหวัดภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (อีสาน) ตอนล่าง จำนวน 5 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดอุบลราชธานี ศรีสะเกษ ยโสธร อำนาจเจริญ และมุกดาหาร (ที่มา: กองยุทธศาสตร์และแผนงาน กระทรวงสาธารณสุข, มี.ค. 66)