กฟภ.เผยสถานการณ์ใช้ไฟเริ่มดี ปีนี้กลับมาโต 10% เมื่อเทียบกับช่วงโควิด-19 ลั่นต้นทุนผลิตไฟฟ้าแพง คาด กฟภ.แบกรับภาระไตรมาส 4 เพิ่ม 7 พันล้านบาท ‘ศุภชัย’ ลุยปรับองค์กรสู่ดิจิทัล เน้นพลังงานทดแทน จ่อเปิดปั๊มชาร์จอีวีเพิ่ม 190 สถานีในปี 66
9 ก.ย. 2565 – นายศุภชัย เอกอุ่น ผู้ว่าการการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค(กฟภ.) เปิดเผยภายหลังงานวันคล้ายวันสถาปนา การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ครบรอบ 62 ปี กล่าวว่าสถานการณ์การใช้ไฟฟ้าในปัจจุบันเริ่มกลับมาเพิ่มมากขึ้นเมื่อเทียบกับช่วงที่เกิดสถานการณ์โควิด-19 โดยปริมาณการใช้เพิ่มขึ้นกว่า 10% เมื่อวัดจากหน่วยไฟฟ้า ทั้งนี้มองว่าประชาชนอาจจะต้องแบกรับภาระเพิ่มขึ้นจากราคาค่าไฟต่อหน่วยที่สูงขึ้น ขณะเดียวกันที่ผ่านมา กฟภ. ก็ได้มีการเข้าไปช่วยเหลือในการลดต้นทุนค่าไฟฟ้าในช่วงที่ผ่านมา โดยแบกรับภาระต้นทุนการผลิตไฟฟ้าไปกว่า 4,000 ล้านบาท
ซึ่งในระยะต่อไปในไตรมาสที่ 4 ของปี 2565 ที่มีมติจากคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน(กกพ.) คิดค่าไฟฟ้าผันแปรอัตโนมัติ(Ft) อยู่ที่ 68.66 สตางค์ต่อหน่วย รวมเป็น 93.43 สตางค์ต่อหน่วยนั้น แม้จะส่งผลให้ราคาค่าไฟฟ้าที่ประชาชนต้องจ่ายเพิ่มขึ้น แต่เมื่อเทียบกับต้นทุนการผลิตถือว่าเป็นแนวทางที่กระทบน้อยที่สุดกับประชาชน ในขณะที่ กฟภ. เองก็ยังต้องแบกรับภาระเพิ่มขึ้นจากมาตรการช่วยเหลือค่าไฟฟ้าเพื่อบรรเทาผลกระทบต่อประชาชนของกลุ่มผู้ใช้ไฟฟ้าบ้านอยู่อาศัยที่ใช้ไฟฟ้าไม่เกิน 500 หน่วยต่อเดือน ซึ่งคาดว่าจะอยู่ที่ประมาณ 7,000 ล้านบาท โดยจำเป็นต้องมาบริหารด้านกระแสเงินสดขององค์กรเพื่อให้สามารถรับภาระในส่วนนี้ โดยมองผลกระทบกับประชาชนเป็นหลัก
นายศุภชัย กล่าวว่า กฟภ.เตรียมเดินหน้าเข้าสู่ระบบไฟฟ้ากดิจิทัล โดยได้มีการพัฒนาองค์กร ควบคู่ไปกับการพัฒนาสัง และประเทศชาติ โดยเลือกใช้พลังงานสะอาดที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมมากยิ่งขึ้น ทั้งนี้ กฟภ. ตั้งเป้าจะเพิ่มการติดตั้งสถานีชาร์จรถยนต์ไฟฟ้า(อีวี) ในพื้นที่ทั่วประเทศไทย ในปี 2566 เพิ่ม ขึ้นอีก 190 สถานี โดยตั้งเป้าให้ทุก 100 กิโลเมตรจะต้องมีสถานีชาร์จของ กฟภ. กระจายอยู่ทุกเส้นทางการเดินรถ เพื่อสร้างความมั่นใจให้กับผู้ใช้รถอีวี
“การตั้งสถานีชาร์จไฟฟ้าสำหรับรถอีวี จะต้องใช้งบประมาณ 3 ล้านบาทต่อสถานี ซึ่งปัจจุบันเปิดให้ใช้แล้วมากกว่า 70 สถานี ซึ่งอัตราค่าไฟฟ้าจะคิดเรตอยู่ที่ ช่วงพีกวันจันทร์-ศุกร์เวลา 09.00 น. – 22.00 น. อยู่ที่ 7.9778 บาท/หน่วย และช่วง ออฟพีกวันจันทร์-ศุกร์ เวลา 22.00 น. – 09.00 น. และวันเสาร์-อาทิตย์ เวลา 00.00 น. – 24.00 น. จะเก็บอยู่ที่ 4.5952 บาท/หน่วย”นายศุภชัย กล่าว
นอกจากนี้ กฟภ. ยังเดินหน้า PEA Solar Rooftop ที่เป็นบริการติดตั้งระบบผลิตไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์บนหลังคา(โซลาร์ รูฟท็อป) โดยที่ผ่านมาได้ดำเนินการติดตั้งในอาคารสำนักงานการไฟฟ้าทั่วประเทศแล้วจำนวนทั้งสิ้น 205 แห่ง ซึ่งส่งผลให้สามารถลดค่าใช้จ่ายด้านพลังงานรวม และส่งเสริมการประหยัดไฟฟ้าเพิ่มขึ้นกว่า 10% โดยเป้าหมายในอนาคตจะดำเนินการติดตั้งเพิ่มขึ้นให้ครอบคลุมอาคารสำนักงานการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค และสถานีไฟฟ้า จำนวน 406 แห่ง ทั่วประเทศ ซึ่งคาดว่าจะผลิตพลังงานไฟฟ้าได้ไม่ น้อยกว่า 18.03 ล้านหน่วย/ปี
“นอกจากนี้เรายังนำโมเดลเดียวกันเข้าไปให้บริการกับผู้ใช้ไฟฟ้า โดยจะเข้าไปติดตั้งแผงโซลาร์บนหลังคาให้ และให้เจ้าของพื้นที่เลือกได้ว่าจะลงทุนเอง หรือให้ กฟภ. เป็นผู้ดำเนินการ โดยเราจะติดตั้งมิตเตอร์ไฟฟ้าเพิ่มให้เป็นลูกที่ 2 ด้วย เพื่อป้องกันการรวนของระบบไฟฟ้าเดิม รวมถึงเพื่อเก็บสถิติเช็คว่าสามารถประหยัดพลังงานได้จริง ๆ ซึ่งมั่นใจว่าจะลดใช้ไฟฟ้าได้ถึง 10% เช่นเดียวกัน”นายศุภชัย กล่าว
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
PEA นำทัพภาคีเครือข่ายฟื้นฟูระบบไฟฟ้าให้ผู้ประสบอุทกภัยภาคเหนือ
วันที่ 26 กันยายน 2567 นายศุภชัย เอกอุ่น ผู้ว่าการการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ประธานในพิธีแถลงข่าวโครงการ PEA ฟื้นฟู ห่วงใย ความปลอดภัยของประชาชน
'กรมธุรกิจพลังงาน' จับมือ 5 หน่วยงาน ลุยตั้งสถานีชาร์จรถไฟฟ้า
'รัดเกล้า' เผยกรมธุรกิจพลังงาน เตรียมจับมือ 5 หน่วยงาน ติดตั้งสถานีชาร์จไฟฟ้า ให้ได้มาตรฐาน รองรับผู้ใช้รถ EV
ศูนย์วิจัยกสิกรฯ จับตาจุดชาร์จอีวี อาจไม่พอกับปริมาณรถไฟฟ้าที่เติบโตก้าวกระโดด
ตลาดรถยนต์ EVs แบบเสียบปลั๊กชาร์จไฟได้ในไทยกำลังเติบโตก้าวกระโดด
OR ผนึก GWM พัฒนาแพลตฟอร์มเชื่อมโยงสถานีชาร์จไฟฟ้า
OR ร่วมมือ GWM พัฒนาแพลตฟอร์มเชื่อมโยงระบบโครงข่าย อำนวยความสะดวกผู้ใช้รถไฟฟ้า ปักหมุดสถานีชาร์จ EV Station PluZ
โออาร์ จับมือ แมริออท อินเตอร์เนชั่นแนล ขยายเครือข่ายสถานีชาร์จไฟฟ้า EV Station PluZ อำนวยความสะดวกผู้ใช้รถไฟฟ้า ในโรงแรมและรีสอร์ท 30 แห่งทั่วประเทศไทย
นายภาณุพันธ์ ทรัพย์จรัสแสง ผู้จัดการฝ่ายวิศวกรรมสถานีบริการและผู้อำนวยการ โครงการ EV Station PluZ พร้อมด้วย นายพีรเวท ณ ระนอง
ศูนย์วิจัยกสิกรฯ คาดมาตรการรัฐดันขายรถยนต์ BEV ปี 2565 ได้สูง 4-5 พันคัน
ณ ตอนนี้ จะเห็นได้ว่าภาพอนาคตของรถยนต์ไฟฟ้าแบตเตอรี่ (BEV) ที่จะกลายมาเป็นรถยนต์มาตรฐานใหม่ในตลาดนั้นเข้ามาใกล้ตัวมากขึ้นเรื่อยๆ สังเกตได้จากทิศทางการแข่งขันกันอย่างรุนแรงในการรุกตลาดรถยนต์ BEV ของค่ายต่างๆ ในปัจจุบัน ทั้งญี่ปุ่น จีน และตะวันตก