รฟท.เดินหน้าวางแผนขยายขนส่งเชื่อมต่อจีน–ลาว ผ่านสะพานมิตรภาพไทย–ลาว ธ.ค.นี้ พร้อมทดลองขบวนรถไฟขนส่งสินค้าความยาว 25 แคร่ เผยปี 64-65 เพิ่มขนส่งไป–กลับ 10 ขบวนและเป็นไป–กลับ 24 ขบวนในปี 69 เป็นต้นไป หนุนไทยเป็นฮับโลจิสติกส์ในอนุภมิภาคลุ่มน้ำโขง
9 พ.ย. 2564 นายนิรุฒ มณีพันธ์ ผู้ว่าการรถไฟแห่งประเทศไทย(รฟท.) เปิดเผยว่า ได้ลงพื้นที่จังหวัดหนองคายร่วมประชุมวางแผนงานและบูรณาการแผนงานระหว่าง รฟท., กรมศุลกากร และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อเตรียมพร้อมรองรับปริมาณการขนส่งสินค้าด้วยระบบรางเชื่อมระหว่าง จีน-ลาว-ไทย จากรถไฟลาว-จีน ผ่านสะพานมิตรภาพไทย-ลาว (หนองคาย-เวียงจันทน์) โดยเฉพาะภายหลังการเปิดให้บริการรถไฟ ลาว-จีน ที่จะเริ่มให้บริการวันที่ 2 ธ.ค.2564
สำหรับการเปิดบริการขบวนรถไฟขนส่งสินค้าข้ามสะพานมิตรภาพไทย-ลาว ถือเป็นความสำเร็จในการเชื่อมโยงการขนส่งสินค้าระบบราง ซึ่งสอดรับกับยุทธศาสตร์การพัฒนาโลจิสติกส์ของประเทศในการสนับสนุนให้ไทยเป็นศูนย์กลางการคมนาคมขนส่งของกลุ่มอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขง ตลอดจนรองรับปริมาณการขนส่งสินค้าข้ามแดนระหว่างไทย-ลาว ที่มีแนวโน้มขยายตัวเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง
นายนิรุฒ กล่าวต่อว่า เบื้องต้นในปี 64-65 รฟท. เพิ่มขบวนรถไฟขนส่งสินค้า ช่วงหนองคาย-ท่านาแล้ง(สปป.ลาว) จากเดิมวันละ 4 ขบวน (ไป – กลับ) เป็น 10 ขบวนไป-กลับ พ่วงขบวนละ 25 แคร่ ส่วนในปี 66-68 จะปรับเพิ่มขบวนรถขนส่งสินค้าเป็นวันละ 16 ขบวน (ไป – กลับ) พ่วงขบวนละ 25 แคร่ และตั้งแต่ปี 69 เป็นต้นไป จะเพิ่มขบวนรถเป็น 24 ขบวน (ไป – กลับ) พ่วงขบวนละ 25 แคร่ ไม่รวมขบวนรถโดยสารระหว่างประเทศเดิมปกติให้บริการวันละ 4 ขบวน (ไป – กลับ) ทั้งนี้การเพิ่มขบวนรถไฟ จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการขนส่งข้ามแดนทางรถไฟ และอำนวยความสะดวกต่อการพัฒนาระบบขนส่งโลจิสติกส์ของทั้ง 2 ประเทศได้อย่างดี
นอกจากนี้ รฟท. ยังมีแผนงานร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องบูรณาการพัฒนาพื้นที่ย่านสถานีหนองคาย และพื้นที่ CY หรือศูนย์รวบรวมและเปลี่ยนถ่ายสินค้าที่สถานีรถไฟนาทา เพื่อเพิ่มศักยภาพการขนส่งสินค้าทางรางในพื้นที่ ให้เชื่อมโยงการขนส่งสินค้าทางรถไฟ จากท่าเรือแหลมฉบัง มายังสถานีหนองคาย และต่อขยายถึงที่ลานตู้สินค้า ที่ท่านาแล้ง สปป.ลาว ได้โดยตรง เพื่อรองรับการเติบโตทางเศรษฐกิจ การค้า การลงทุนในอนาคตด้วย
สำหรับแผนพัฒนาย่านสถานีหนองคาย ทั้งหมด 80 ไร่ รองรับการขนส่งผ่านสะพานเดิม และการเปลี่ยนถ่ายจากถนนสู่ระบบรางเชื่อมโยงภายในประเทศ ช่วยเสริมศักยภาพระบบขนส่งในภูมิภาค สร้างงานสร้างอาชีพ ก่อให้เกิดการพัฒนาเศรษฐกิจในท้องถิ่น สนับสนุนให้ไทย เป็นศูนย์กลางโลจิสติกส์ของภูมิภาคตามนโยบายรัฐบาล
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
'มท.2' ควงอธิบดีที่ดิน ลงพื้นที่เขากระโดง พิสูจน์ปมพิพาทกับ รฟท.
'มท.2' ควงอธิบดีกรมที่ดิน ลงพื้นที่เขากระโดง พิสูจน์ปมพิพาทที่ดิน รฟท. ชาวบ้าน 2 ตำบล โชว์เอกสารสิทธินส.3 หลักฐานยันอาศัยอยู่ตั้งแต่ปู่ย่าตายาย เรียกร้องความยุติธรรม
บอร์ด รฟท. เคาะจัดซื้อรถโดยสาร 182 คัน ปักหมุดใช้ล็อตแรกพ.ค.71
บอร์ด รฟท. เคาะจัดซื้อรถโดยสาร 182 ตู้ 14 ขบวน 1.05 หมื่นล้าน อัพเกรดชั้น 3 ติดแอร์ขบวนแรกในไทย หวังนำมาวิ่งทดแทนรถเก่าใช้งานมากว่า 50 ปี วิ่งให้บริการ 5 เส้นทาง ชี้เป็นรถชั้น 3 แอร์ชุดแรก เล็ง เสนอ ครม. ขอกู้เงิน มี.ค.ปีหน้า ปักธงรับมอบขบวนรถล็อต 2 ขบวน พ.ค.71
'สุริยะ' ย้ำที่เขากระโดงเป็นของรฟท. ส่วนที่ดินอัลไพน์ ยันไม่ผิดกฎหมาย
ที่ทำเนียบรัฐบาล นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รองนายกรัฐมนตรี และรมว.คมนาคม ให้สัมภาษณ์ถึงความคืบหน้าภายหลังการรถไฟ
บอร์ด รฟท. ไฟเขียวรถไฟทางคู่เฟส 2 รวม 3 เส้นทาง 1.33 แสนล้าน
บอร์ด รฟท. ไฟเขียวรถไฟทางคู่เฟส 2 รวม 3 เส้นทาง 634 กม. 1.33 แสนล้าน ปากน้ำโพ-เด่นชัย, ชุมทางถนนจิระ-อุบลฯ, หาดใหญ่-ปาดังเบซาร์‘ ชงคมนาคม ก.พ.นี้ ก่อนเสนอครม. ต่อไปเคาะ ยันรายงานอีไอเอผ่านฉลุย
'สุริยะ' ตั้งธงศึกษา 'สถานีขนส่งบขส.' ใหม่เสนอครม.ภายในปี67
“สุริยะ” สั่ง รฟท.ทบทวนแผนพัฒนาพื้นที่พหลโยธินใหม่ แนะเกลี่ยพื้นที่ให้ บขส.สร้างรวมสถานีขนส่งผู้โดยสาร”เหนือ-อีสาน-ใต้”แห่งใหม่ที่สถานีกลางกรุงเทพอภิวัฒน์ คาดศึกษา