‘กรมท่าอากาศยาน’ยันมติ ครม. โอน3 สนามบิน’อุดรธานี บุรีรัมย์ กระบี่’ไม่ได้โอนทรัพย์สินรัฐให้ ทอท. ย้ำแค่มอบให้บริหารจัดการ 3 สนามบิน ลุยศึกษาสร้างสนามบินใหม่เรองรับการเดินทาง-ขนส่งทางอากาศของประเทศในอนาคต
4 ก.ย.2565-รายงานข่าวจากกรมท่าอากาศยาน(ทย.)แจ้งว่าตามที่คณะรัฐมนตรีมีมติ(ครม.)เห็นชอบในหลักการแนวทางให้ บริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) หรือ ทอท. เป็นผู้รับผิดชอบในการดูแลและบริหารจัดการ ท่าอากาศยานอุดรธานี,บุรีรัมย์ และกระบี่ แทนกรมท่าอากาศยาน ตามที่กระทรวงคมนาคมเสนอ
ทั้งนี้เพื่อลดภาระงบประมาณภาครัฐในการลงทุนพัฒนาท่าอากาศยาน และเพิ่มประสิทธิภาพการใช้ประโยชน์ห้วงอากาศ (Air Space) และโครงข่ายท่าอากาศยานของประเทศในภาพรวมให้เกิดประโยชน์สูงสุด ตามแนวทางการเพิ่มศักยภาพในการพัฒนาโครงข่ายระบบท่าอากาศยานของประเทศในภาพรวม (National Airport System) และการดำเนินธุรกิจในรูปแบบ Cluster ด้านการขนส่งทางอากาศ
ซึ่งจะช่วยเพิ่มขีดความสามารถท่าอากาศยานของประเทศไทย สนับสนุนยุทธศาสตร์ด้านการขนส่งและโลจิสติกส์เพื่อขับเคลื่อนเศรษฐกิจ การค้า การลงทุน รวมทั้งรองรับการพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษของประเทศ
สำหรับมติ ครม.ที่เห็นชอบในครั้งนี้ เป็นการมอบความรับผิดชอบในบริหารจัดการ ไม่ได้มีการโอนทรัพย์สินของรัฐไปให้กับทาง ทอท. แต่อย่างใด แต่เป็นการมอบความรับผิดชอบในการบริหารจัดการ โดยในส่วนของทรัพย์สินที่เป็นที่ราชพัสดุ ทอท. ต้องไปดำเนินการทำสัญญาเช่าโดยตรงกับกรมธนารักษ์ และทอท.ต้องมีการจ่ายค่าตอบแทนจากการใช้ทรัพย์สินให้กับรัฐ ตามกฏหมาย
ส่วนรายได้ของกรมท่าอากาศยานที่หายไป ทาง ทอท. จะเข้ามาสนับสนุนเงินให้ ทย. สามารถนำเงินมาใช้จ่ายตามภารกิจของ ทย. ในการพัฒนา ท่าอากาศยานที่เหลือ โดยต้องเป็นการดำเนินการตามพ.ร.บ. วินัยการเงินการคลังของรัฐ ซึ่งหลังจากนี้ การดำเนินการเพื่อให้ ทอท. เข้าไปดูและบริหารจัดการท่าอากาศยานทั้ง 3 แห่ง แทน ทย. นั้น
โดย ทอท. และ ทย. จะมีการประชุมหารือร่วมกันในเรื่องการเข้าใช้พื้นที่อันเป็นที่ตั้งของท่าอากาศยาน การจัดการทรัพย์สินที่เป็นสังหาริมทรัพย์ (ครุภัณฑ์) การบริหารจัดการด้านบุคลากร การดำเนินการขอใบรับรองการดำเนินงานสนามบินสาธารณะ และการดำเนินการเกี่ยวกับงบประมาณของ ทย. ที่ได้รับจัดสรรแล้ว โดยจะดำเนินการตามกฎหมาย กฎ ระเบียบ มติ ครม. และหลักธรรมาภิบาล หลักเกณฑ์ ที่เกี่ยวข้องในเรื่องนั้น ๆ
และต้องคำนึงถึงประโยชน์ของประเทศชาติ ประชาชนที่มาใช้บริการ เพื่อรองรับด้านเศรษฐกิจ ซึ่งตามมติคณะรัฐมนตรี ยังต้องจัดทำข้อมูลเพิ่มเติมตามความเห็นของกระทรวงการคลังและหน่วยงานต่าง ๆ ในการประกอบการพิจารณาดำเนินการอีกด้วย
สำหรับ ทย. ยังคงมีภารกิจในการพัฒนาท่าอากาศยานในความรับผิดชอบให้มีความปลอดภัย และมีประสิทธิภาพตามมาตรฐานสากล รวมถึงการศึกษาวิเคราะห์ความจำเป็นและความเป็นไปได้ในการจัดสร้างสนามบินแห่งใหม่ เพื่อรองรับการเดินทางและการขนส่งทางอากาศของประเทศในอนาคต และยังคงดำเนินการตามแผนพัฒนาท่าอากาศยานในสังกัดอย่างต่อเนื่อง เพื่อรองรับปริมาณเที่ยวบินและผู้โดยสาร รวมถึงกิจกรรมที่เกี่ยวเนื่องกับการบินเพิ่มมากขึ้น
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
ระทึก! สาวโปแลนด์ ขู่บึ้มเครื่องบินกลางอากาศ ทสภ. งัดแผนเผชิญเหตุ
ศูนย์วิทยุสุวรรณภูมิภาคพื้นดิน รับแจ้งจากกัปตันเครื่องบิน เที่ยวบิน VZ 961 ของสายการบินไทยเวียตเจ็ทแอร์ มีผู้โดยสารขู่วางระเบิด ระหว่างบินบนอากาศ
'สนามบินสุวรรณภูมิ' ซ้อมแผนเผชิญเหตุกราดยิง
เมื่อเวลา 01.00 น. นายกิตติพงศ์ กิตติขจร ผู้อำนวยการท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ บริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) (ทอท.) เป็นประธานในจัดการฝึกซ้อมเต็มรูปแบบ (Full Scale Exercise)
ท่องเที่ยวฟื้น 'ทอท.' กางแผนลุยสร้างอาคารผู้โดยสารทางด้านทิศใต้รับผู้โดยสาร 150 ล้านคน
อุตสาหกรรมการบินโตต่อเนื่อง ทอท.เปลี่ยนแผนแม่บทขยายขีดความสามารถสนามบินระยะ 10 ปีใหม่ ชะลอสร้างอาคารผู้โดยสารในประเทศ “North Expansion” กลับมาหยิบสร้างอาคารผู้โดยสารทางด้านทิศใต้ก่อน เหตุผู้โดยสารระหว่างประเทศพุ่งทะลัก เชื่อเป็นการแก้ปัญหาลดความแออัดในสนามบินสุวรรณภูมิ หวังรองรับผู้โดยสาร 150 ล้านคนต่อปี
'ทอท.' ตั้งธงภายในปีนี้จ่อเข้าบริหาร 3 ท่าอากาศยานภูมิภาค
ทอท.กางแผนเข้าบริหาร 3 ท่าอากาศยานภูมิภาคไตรมาส 3 ปีนี้ หลัง กพท.จ่อออกใบรับรองอากาศยานสาธารณะกลางปี เตรียมทุ่มงบลงทุนกว่า 1 หมื่นล้านบาท ลุยปรับบริการ - เพิ่มขีดความสามารถรองรับผู้โดยสาร