1 ก.ย. 2565 -นายธนิต โสรัตน์ รองประธานกรรมการในเครือบริษัทวี-เซิรฟ กรุ๊ป และรองประธานสภาองค์การนายจ้างผู้ประกอบการค้าและอุตสาหกรรมไทย เปิดเผยถึงกรณีคณะกรรมการค่าจ้าง(ไตรภาคี) ได้บรรลุข้อตกลงปรับค่าจ้างขั้นต่ำอัตราใหม่มีผล 1 ต.ค. 65 ที่แบ่งออกเป็นกลุ่มจังหวัด 9 โซนแตกต่างกันไปอัตราตั้งแต่ 4.18%-6.65% หรือเฉลี่ยเพิ่มขึ้น 5.02% ว่า ผลกระทบที่เกิดขึ้นไม่ได้จำกัดอยู่ที่ธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (เอสเอ็มอี) อย่างเดียว แต่ขึ้นอยู่กับประเภทอุตสาหกรรมและบริการที่ใช้แรงงานเป็นสัดส่วนเท่าใด หากใช้สัดส่วนสูงก็กระทบมากดังนั้นธุรกิจที่มีการใช้แรงงานเข้มข้นและมีการแข่งขันราคาสูงและกำไรต่ำจะกระทบมากสุด
“แรงงานอาจมองว่าการปรับค่าแรงครั้งนี้เล็กน้อยไม่พอกับค่าค่าชีพที่สูงแต่สำหรับนายจ้างกลุ่มที่กำลังอ่อนแอจะยิ่งซ้ำเติมให้ไปไม่รอดจากต้นทุนต่างๆที่เพิ่มรอบด้าน ซึ่งหากคิดค่าจ้างขั้นต่ำโดยใช้เกณฑ์กรุงเทพฯ และปริมณฑลจะมีผลต่อต้นทุนการผลิตราว 1.5-2% มากน้อยอยู่ที่จำนวนแรงงาน และผลกระทบที่มีต่อราคาสินค้าโดยทั่วไปจะอยู่ราว 1-1.5% ซึ่งหากดูแล้วผลกระทบอาจไม่มากแต่ท่ามกลางตลาดที่มีความไม่แน่นอนของกำลังซื้อโดยรวมที่ยังอ่อนแอภาคการท่องเที่ยวที่มีต่างชาติเข้ามาจับจ่ายใช้สอยสูงที่ก่อนหน้ามีถึง 40 ล้านคนปีนี้คงมาได้มากสุดแค่ไม่เกิน 10 ล้านคน ดังนั้น ผู้ประกอบการบางส่วนอาจไม่อยู่ในวิสัยที่จะปรับราคาสินค้าให้ครอบคลุมกับค่าแรงที่เพิ่มขึ้นได้ทั้งหมด”นายธนิต กล่าว
นอกจากนี้ ภาคการผลิตยังต้องแบกรับภาระเพิ่มขึ้นที่ไม่ใช่แค่ค่าแรงขั้นต่ำที่ไม่อาจส่งผ่านไปยังราคาสินค้าไปยังผู้บริโภคได้ทั้งหมดได้แก่ ราคาวัตถุดิบต่างๆที่ต้องนำเข้าในราคาสูงจากผลกระทบห่วงโซ่การผลิตที่ชะงักงัน ภาวะอัตราแลกเปลี่ยนค่าเงินบาทต่อเหรียญสหรัฐที่อ่อนค่าลงทำให้การนำเข้าสินค้าและวัตถุดิบต่างๆ สูงขึ้น ราคาพลังงานที่ยังอยู่ในเกณฑ์สูงทั้งดีเซล ค่าไฟฟ้า และยังมีอัตราดอกเบี้ยที่จะเป็นต้นทุนทางการเงินที่เป็นขาขึ้นอีกด้วย
สำหรับกลุ่มธุรกิจที่ใช้แรงงานเข้มข้นจะได้รับผลกระทบจากการขึ้นค่าแรงมากสุดเช่น ธุรกิจเกษตร-เกษตร แปรรูป, อุตสาหกรรมแปรรูปอาหารพื้นฐาน, ธุรกิจก่อสร้าง, โรงแรมและที่พัก, ร้านอาหาร, โลจิสติกส์ , อุตสาหกรรม รับจ้างการผลิต, โรงงานสิ่งทอ, โรงงานทำเครื่องหนังต่างๆ ฯลฯ การเอาตัวรอดของผู้ประกอบการอาจต้องพิจาณาถึงการเพิ่มทักษะนำระบบ “Niche & Lean Process” เกี่ยวข้องกับการปรับกระบวนการทำงานและหรือกระบวนการผลิตให้กระชับ ลดขั้นตอนคอขวดต่างๆ ให้งานไม่สะดุดและให้มีส่วนสูญเสียในการผลิตต่ำสุด
“เทคโนโลยีง่ายๆ สำหรับเอสเอ็มอีเช่น การนำระบบสายพานลำเลียง ซึ่งมีตั้งแต่ระบบพื้นฐานแบบลูกกลิ้งไปจนถึงระบบออโตเมชั่น, เครื่องแพ็คกิ้ง-บรรจุภัณฑ์ ประเภทต่างๆ, การใช้แขนกลอัตโนมัติ ซึ่งเป็นโรบอตประเภทหนึ่งมีตั้งแต่ระดับราคาครึ่งล้านไปจนถึงหลายล้านบาท เทคโนโลยีเหล่านี้ปัจจุบันถูกลงมาก เหล่านี้ล้วนเป็นทางเลือกหนึ่งในการที่จะลดการใช้แทนกำลังคนและลดผลกระทบต่อการขาดแคลนแรงงานไร้ทักษะที่ไทยกำลังประสบปัญหาขาดแคลนมาก ขณะเดียวกันผู้ประกอบการต้องพัฒนาสินค้าให้มีมูลค่าเพิ่มเพื่อหลีกหนีตลาดล่างที่จะแข่งขันราคารุนแรง และใช้ดิจิทัลเป็นช่องทางเพิ่มการจำหน่าย” นายธนิต กล่าว
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
ปัดเตะถ่วง! นายกฯแพทองธาร ยันค่าแรง 400 บาท จะขึ้นภายในปีนี้
น.ส.แพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ให้สัมภาษณ์ภายหลังการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ถึงความชัดเจนในเรื่องของค่าแรงขั้นต่ำ 400 บาทที่ดูเหมือนจะเลื่อนการจ่ายเงินจากวันที่ 1 ต.ค. 2567 ออกไป
ขึ้นค่าแรง 400 สะดุด! ไม่ทัน 1 ต.ค. 'บอร์ดไตรภาคี' เลื่อนยาว
'ปลัดแรงงาน' รับขึ้นค่าจ้าง 400 สะดุด ไม่ทัน 1 ต.ค. นี้ เหตุต้องรอ ธปท. ส่งตัวแทนคนใหม่ ร่วม คกก. ไตรภาคี
ถกค่าแรง 400 บาทล่ม ประชุม 3 ฝ่ายสะดุด!
นายไพโรจน์ โชติกเสถียร ปลัดกระทรวงแรงงาน ในฐานะประธานคณะกรรมการค่าจ้าง (บอร์ดค่าจ้าง) ชุดที่ 22 เป็นประธานการประชุมบอร์ดค่าจ้าง ครั้งที่ 9/2567 ที่กระทรวงแรงงาน เพื่อพิจารณาปรับอัตรา
พิพัฒน์ เรียกร้องนายจ้าง เห็นใจลูกจ้าง ขึ้นค่าแรง 400 บาท วอนเข้าร่วมประชุมไตรภาคี พรุ่งนี้ 13.30 น. แย้ม ก.คลัง เห็นด้วยมาตรการบรรเทาผลกระทบนายจ้าง
วันที่ 19 กันยายน 2567 นายพิพัฒน์ รัชกิจประการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน เปิดเผยถึงความคืบหน้าการขึ้นค่าแรง 400 บาทว่า ในวันพรุ่งนี้ (20 ก.ย.67) เวลา 13.30
พิพัฒน์ ย้ำ 1 ต.ค.ค่าแรง 400 บาท เผยมีข้อเสนอ 7 มาตรการ ช่วยบรรเทาผลกระทบทั้งนายจ้าง-ลูกจ้าง
นายพิพัฒน์ รัชกิจประการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน เปิดเผยถึงข้อเสนอจากกระทรวงแรงงาน เกี่ยวกับมาตรการช่วยเหลือนายจ้างกรณีขึ้นค่าแรง 400 บาทในช่วงเดือนตุลาคม 2567 ว่า กระทรวงแรงงานได้รับข้อหารือจากผู้ประกอบการ