รฟท. กางงบปี 66 วงเงิน 2.27 หมื่นล้าน ทุ่มเวนคืนที่ดินสร้าง‘ทางคู่-ไฮสปีด’

รฟท.เปิดงบปี 66 วงเงิน 2.27 หมื่นล้าน ไม่มีแผนลงทุนโครงการใหม่ ทุ่มเวนคืนที่ดินใน 4 โปรเจกต์วงเงิน 1.03 หมื่นล้าน เตรียมชง ครม.กู้เสริมสภาพคล่อง 1.52 หมื่นล้าน

31 ส.ค.2565 – นายนิรุฒ มณีพันธ์ ผู้ว่าการรถไฟแห่งประเทศไทย(รฟท.) เปิดเผยถึงงบประมาณปี2566 ของ รฟท. ที่ได้รับการจัดสรรงบประมาณ วงเงิน 22,727.3827 ล้าน เพิ่มขึ้นจากปี 2565 ที่ได้รับ 18,700 ล้านบาท ในส่วนของ พ.ร.บ.งบประมาณ ไม่มีรายการใหม่ที่ได้รับการจัดสรรในกานลงทุน ส่วนใหญ่เป็นรายงานที่ผูกพันต่อเนื่อง โดยมีโครงการใหญ่ มีค่าเวนคืนที่ดินในส่วนของโครงการรถรถไฟทางคู่สายใหม่ 2 เส้นทาง ได้แก่ สายเหนือ ช่วงเด่นชัย-เชียงราย-เชียงของ และสายอีสานช่วงบ้านไผ่-มหาสารคาม โครงการรถไฟความเร็วสูง(ไฮสปีด) ไทย-จีน และโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน แบบไร้รอยต่อ (ดอนเมือง – สุวรรณภูมิ – อู่ตะเภา)

สำหรับการดำเนนิการช่วงเด่นชัย-เชียงราย-เชียงของ ค่าเวนคืน วงเงิน 4,326 ล้านบาท ช่วงบ้านไผ่-มหาสารคาม ค่าเวนคืน วงเงิน 3,615 ล้านบาท ส่วนโครงการรถไฟไทย-จีน ค่าเวนคืน วงเงิน 2,020 ล้านบาท ส่วนโครงการรถไฟเชื่อมสามสนามบิน ค่าเวนคืน วงเงิน 424 ล้านบาท รวมวงเงิน ค่าเวนคืน 10,386 ล้านบาท อย่างไรก็ตามส่วนโครงการทางคู่เฟส2 ขณะนี้ยังไม่ได้เสนอเรื่องไปยังที่ประชุมคณะรัฐมนตรี(ครม) จึงยังไม่มีการตั้งวงเงินในส่วนของค่าเวนคืนที่ดิน

ทั้งนี้ในส่วนของการตั้งวงเงินชำระหนี้ในปี 2566 แบ่งเป็นเงินต้นอยู่ที่ 4,351 ล้านบาท ส่วนดอกเบี้ยอยู่ที่ 3,966 ล้านบาท ซึ่งรัฐจะเป็นผู้จัดสรรงบประมาณในส่วนที่รัฐรับภาระการลงทุนด้านโครงสร้างพื้นฐาน ส่วนประมาณการรายได้ปี 2566 ประมาณการรวมโครงการรถไฟสายสีแดง รายได้จากค่าโดยสาร ขนส่งสินค้า รายได้จากบริหารทรัพย์สิน 9,620 ล้าน บาท รายจ่าย ค่าบำรุงรักษาทาง สัญญาณ ขบวนรถ และ ค่าดำเนินการเดินรถ 16,355 ล้านบาท EBIDA ขาดทุน 6,735 ล้าน ไม่รวมค่าบำนาญ ดอกเบี้ยเงินกู้ และค่าเสื่อมราคา ซึ่งคาดว่าจะขาดสภาพคล่องประมาณ 15,200 ล้านบาท ซึ่งอยู่ระหว่างสรุปข้อมูลเพื่อนำเสนอคณะรัฐมนตรี (ครม.) ขออนุมัติต่อไป

นายนิรุฒ กล่าวว่า กิจการ รฟท. ยังประสบกับปัญหาขาดทุน เพราะค่าโดยสารไม่สะท้อนต้นทุนที่แท้จริง ขณะเดียวกันการให้รัฐชดเชยในส่วนที่ขาดทุน ก็ไม่เพียงพอ ดังนั้น รฟท. จึงต้องกู้เงินทุกปี เพราะต้องใช้จัดหาเกี่ยวกับอุปกรณ์ และเครื่องมือในการบริหาร เช่น รถตรวจสภาพทาง และรถเจียราง เป็นต้น โดยส่วนนี้ต้องใช้เงินรายได้จัดหา ไม่สามารถของบประมาณแผ่นดินได้ เพราะไม่เกี่ยวกับโครงสร้างพื้นฐาน ทำให้ขาดสภาพคล่องทุกปี

“การประมาณการรายได้ปี2566 โดยมองว่าสถานการณ์การคลี่คลายของโควิด-19 หลังจากนี้จะทำให้รายได้ดีขึ้น จะเกิดการเดินทางเพิ่มมากขึ้น ส่วนด้านขนส่งสินค้า ทางฝ่านวินค้าได้พยายามหาตลาดมากขึ้น ขณะที่การพัฒนาศูนย์การขนส่งตู้สินค้าทางรถไฟ (SRTO) ที่ท่าเรือแหลมฉบัง (ทลฉ.) สนับสนุนนโยบายการปรับเปลี่ยนรูปแบบการขนส่ง (Shift Mode) จากทางถนนเป็นทางราง เพื่อพัฒนาระบบโลจิสติกส์โดยรวมของประเทศให้มีการประหยัดพลังงานมากขึ้น หากทำได้จะทำให้รถไฟฯมีรายได้เพิ่มขึ้น ขณะนี้ยังมีอุปสรรคอยู่เนื่องจากยังไม่มีผู้ประกอบการ”นายนิรุฒ กล่าว

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

รฟท.โชว์ขบวนรถไฟท่องเที่ยวสุดหรู “SRT ROYAL BLOSSOM”ปักหมุดเปิดบริการกลางปีนี้

ได้รับความสนใจไม่น้อย หลังจากการรถไฟแห่งประเทศไทย ได้เปิดวาร์ปรถไฟท่องเที่ยวขบวนใหม่ SRT ROYAL BLOSSOM ที่ดัดแปลงมาจากขบวนรถญี่ปุ่น Hamanasu

บอร์ด รฟท. ไฟเขียวรถไฟทางคู่เฟส 2 รวม 3 เส้นทาง 1.33 แสนล้าน

บอร์ด รฟท. ไฟเขียวรถไฟทางคู่เฟส 2 รวม 3 เส้นทาง 634 กม. 1.33 แสนล้าน ปากน้ำโพ-เด่นชัย, ชุมทางถนนจิระ-อุบลฯ, หาดใหญ่-ปาดังเบซาร์‘ ชงคมนาคม ก.พ.นี้ ก่อนเสนอครม. ต่อไปเคาะ ยันรายงานอีไอเอผ่านฉลุย

รฟท. จ่อลงนามไฮสปีด ไทย-จีน สัญญา 4-5 ยันเปิดใช้ปี 71

“การรถไฟฯ” เล็งลงนามไฮสปีดไทย-จีน สัญญา 4-5 งานโยธา “บ้านโพ-พระแก้ว” มูลค่า 1.03 หมื่นล้านภายในเดือนนี้ ส่วนสัญญา 4-1 พื้นที่ทับซ้อนเชื่อมสามสนามบิน เร่งถกเอกชน ปูแนวทาง รฟท. ลงทุนสร้างเอง คาดสรุปจบสิ้นปีนี้ ยันเปิดใช้ไฮสปีดเส้นแรกของไทยตามแผนในปี 71

ปิดตำนาน 72 ปี ‘ตำรวจรถไฟ' เตรียมยุติการปฏิบัติหน้าที่ 17 ต.ค.นี้

รฟท.ร่วมขอบคุณปิดตำนาน 72ปี กองบังคับการตำรวจรถไฟ ที่ช่วยดูแลผู้โดยสาร เตรียมยุติการปฏิบัติหน้าที่บนขบวนรถไฟ-สถานีรถไฟ ทั่วประเทศ 17 ต.ค. นี้

คมนาคมลุยกู้ขบวนรถไฟตกรางเล็งเปิดเดินรถสายเหนือเย็นนี้

‘สุรพงษ์’ ลงพื้นที่ติดตามการกู้ขบวนรถไฟตกราง สั่งการเร่งซ่อมแซมทางรถไฟที่เสียหายช่วงสถานีแก่งหลวง - บ้านปิน อ.ลอง จ.แพร่ คาดจะซ่อมแล้วเสร็จพร้อมเปิดให้บริการเดินรถสายเหนือได้ตามปกติวันนี้ ย้ำประชาชนหากไม่ประสงค์เดินทางแล้วขอคืนเงินค่าตั๋วได้เต็มจำนวน