'ศักดิ์สยาม' สั่ง 'กทพ.' เร่งแก้ปัญหาจราจรบนทางด่วน

“ศักดิ์สยาม” สั่ง กทพ. เร่งแก้ปัญหาจราจรบนทางด่วน หวั่งเพิ่มประสิทธิภาพการเดินทาง กางแผน 3 เส้นทาง พร้อมแบ่งปัญหา 5 ลักษณะ เร่งหาแหล่งเงินทุน จ่อชงครม. ภายใน ก.พ. 65

8 พ.ย.2564 – นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รมว.คมนาคม เปิดเผยภายหลังการประชุมติดตามนโยบายการแก้ไขปัญหาการจราจรบนทางพิเศษ (ทางด่วน) ว่า การทางพิเศษแห่งประเทศไทย (กทพ.) ได้รายงานความก้าวหน้าการศึกษาเพื่อแก้ไขปัญหาการจราจรบนโครงข่ายทางพิเศษในภาพรวมทั้งระบบ ตามมติคณะรัฐมนตรี (ครม.) เมื่อวันที่ 18 ก.พ.63 ที่ได้มอบให้กระทรวงคมนาคมเร่งดำเนินการศึกษาแนวทางการดำเนินการที่เหมาะสมและเป็นไปได้

ทั้งนี้เพื่อแก้ไขปัญหาการจราจรติดขัดในภาพรวมทั้งระบบ รวมทั้งศึกษาแนวทางการดำเนินโครงการก่อสร้างทางด่วนในเส้นทางอื่นๆ เพิ่มเติม โดยดำเนินการศึกษาให้แล้วเสร็จภายใน 2 ปี และเสนอ ครม. พิจารณาต่อไป

นายศักดิ์สยาม กล่าวว่า ปัจจุบัน กทพ. อยู่ระหว่างศึกษาวิเคราะห์ และจัดทำแผนการแก้ไขปัญหาการจราจรบนโครงข่ายทางพิเศษในภาพรวมทั้งระบบ มีความก้าวหน้าของการศึกษาประมาณ 75.05% ทั้งนี้จากการวิเคราะห์สภาพปัญหาการจราจรบนโครงข่ายทางพิเศษในปัจจุบัน ทางขึ้น-ลง และถนนระดับดินที่ต่อเนื่อง รวมทั้งพิจารณาถึงโครงข่ายทางพิเศษและทางหลวงพิเศษระหว่างเมืองในอนาคต พบว่า ปัญหาการจราจรบนทางพิเศษ มี 5 ลักษณะ

คือ 1.ปัญหาด้านความจุของทางพิเศษไม่เพียงพอ (Over Section Capacity) 2.ปัญหาจุดตัดกระแสจราจรบริเวณทางร่วม และทางแยก (Weaving & Merging) 3.ปัญหาการจราจรติดขัดบริเวณทางลงทางพิเศษ (Off-Ramp Congestion) 4.ปัญหาการไหลเวียนจราจรบริเวณด่านเก็บค่าผ่านทาง (Over Toll Plaza Capacity) และ 5.ปัญหาจุดคอขวดทางกายภาพบนทางพิเศษ (Bottleneck)

นายศักดิ์สยาม กล่าวอีกว่า สำหรับเส้นทางหลักที่มีปัญหาการจราจรบนทางพิเศษ 3 เส้นทาง ได้แก่ 1.ทางพิเศษศรีรัช ช่วงงามวงศ์วาน-พญาไท-พระราม 9, 2.ทางพิเศษเฉลิมมหานคร ช่วงมักกะสัน-ท่าเรือ-บางนา และ 3.ทางพิเศษฉลองรัช ทั้งนี้ได้ศึกษาและกำหนดโครงการแก้ไขปัญหาการจราจรที่สอดคล้องกับสภาพปัญหา วิเคราะห์ความเหมาะสม จัดลำดับความสำคัญ และจัดทำแผนการแก้ไขปัญหาการจราจรในภาพรวมทั้งระบบ แบ่งเป็น 2 กลุ่ม ได้แก่ 1. โครงการแก้ไขปัญหาการจราจรบนโครงข่ายทางพิเศษในปัจจุบัน 21 โครงการ แบ่งเป็น แผนระยะที่ 1 (ปี 65-69) 16 โครงการ และแผนระยะที่ 2 (ปี 70 เป็นต้นไป) 5 โครงการ และ 2.โครงการทางพิเศษเพิ่มเติมที่จะช่วยแก้ไขปัญหาการจราจรและเพิ่มประสิทธิภาพการเดินทาง 11 โครงการ แบ่งเป็น แผนระยะที่ 1 (ปี 65-69) 5 โครงการ และแผนระยะที่ 2 (ปี 70 เป็นต้นไป) 6 โครงการ

นายศักดิ์สยาม กล่าวว่า ได้เน้นย้ำให้ กทพ. เร่งรัดการดำเนินการศึกษาแก้ไขปัญหาการจราจรบนโครงข่ายทางพิเศษทั้งระบบให้แล้วเสร็จ และนำเสนอคณะกรรมการจัดระบบการจราจรทางบก (คจร.) และ ครม.ให้ทันตามกรอบเวลาที่กำหนดในเดือน ก.พ.65 โดยจะต้องคำนึงด้วยว่าโครงการแต่ละโครงการตามผลการศึกษาต้องมีศักยภาพในการแก้ไขปัญหาการจราจรติดขัดบนทางพิเศษได้อย่างมีประสิทธิภาพและยั่งยืน

นอกจากนี้ได้สั่งการให้ กทพ. พิจารณาเรื่องแหล่งเงินในการพัฒนาโครงการแต่ละโครงการให้ชัดเจน เช่น การบริหารสัญญาของโครงการทางพิเศษเดิม การให้เอกชนร่วมลงทุน หรือการใช้แหล่งเงินจากกองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐานเพื่ออนาคตประเทศไทย (Thailand Future Fund : TFF) และให้พิจารณาเพิ่มเติมถึงปัจจัยด้านการขนส่งสาธารณะ เช่น รถไฟ รถไฟฟ้า เรือ และรถโดยสารสาธารณะ ซึ่งอาจส่งผลต่อภาพรวมในการแก้ไขปัญหาการจราจรบนทางพิเศษด้วย.

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

‘สามารถ’ ชำแหละ ‘ลดค่าผ่านทาง’ แลก ‘ขยายสัมปทาน’ ใครได้ประโยชน์ ?

ใกล้ถึงเวลาจะขึ้นค่าผ่านทางไม่ว่าจะเป็นทางด่วนหรือดอนเมืองโทลล์เวย์คราใด ภาครัฐมักจะเจรจากับเอกชนผู้รับสัมปทานให้ชะลอการขึ้นค่าผ่านทาง เพื่อลดภาระค่าครองชีพของผู้ใช้บริการ

4 พ.ค. ขึ้นทางด่วนฟรี 3 สายทาง รวม 60 ด่าน

การทางพิเศษแห่งประเทศไทย (กทพ.) แจ้งว่าได้ยกเว้นค่าผ่านทางพิเศษของทางพิเศษ รวม 3 สายทาง ดังนี้ ทางพิเศษเฉลิมมหานคร (ทางด่วนขั้นที่ 1) จำนวน 19 ด่าน ทางพิเศษศรีรัช (ทางด่วนขั้นที่ 2)

ตีแสกหน้า 'ครม.สัญจร' พกข้อมูลไม่ถูกต้องเจื้อยแจ้วนักลงทุนขายฝันแลนด์บริดจ์ 'ฉบับศักดิ์สยาม'  

“ศิริกัญญา” แนะ ’รัฐบาล‘ ลองไปสบตา ปชช.ที่ต้องถูกเวรคืนที่ดินก่อน ค่อยกลับมาทบทวน ‘รื้อรายงาน-คุัมค่าจริงหรือไม่’ หากต้องการเดินหน้าต่อ