ส.อ.ท.ปลื้มดัชนีเชื่อมั่นอุตฯพุ่ง 82.1 สูงสุดในรอบ 5 เดือน

ส.อ.ท.ปลื้มดัชนีอุตฯพุ่งสูงสุดในรอบ 5 เดือน อยู่ที่ระดับ 82.1 ปรับตัวเพิ่มขึ้นจากระดับ 79.0 หลังได้รับอนิสงค์จากมาตรการคลายล็อกดาวน์ โอดทุกอุตสาหกรรมยังขาดแคลนแรงงานกว่า 5 แสนคน แนะรัฐเร่งหาแนวทางช่วยเหลือ

8 พ.ย.2564-นายสุพันธุ์ มงคลสุธี ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) เปิดเผยผลการสำรวจดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรมในเดือนตุลาคม 2564อยู่ที่ระดับ 82.1 ปรับตัวเพิ่มขึ้นจากระดับ 79.0 ในเดือนก.ย.2564 โดยค่าดัชนีฯ ปรับตัวเพิ่มขึ้นต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 2 ในทุกขนาดอุตสาหกรรมและทุกภูมิภาค ส่วนดัชนีคาดการณ์ 3 เดือนข้างหน้าปรับตัวเพิ่มขึ้นอยู่ที่ระดับ 95.0 จากระดับ 93.0 ในเดือนก.ย. 2564 ถือเป็นการคาดการณ์ที่สูงสุดในรอบ 5เดือน เนื่องจากเดือนต.ต.มีการผ่อนคลายล็อคดาวน์

ทั้งนี้มองว่านโยบายเปิดประเทศในวันที่ 1 พ.ย. 2564 อนุญาตให้นักท่องเที่ยวต่างชาติในกลุ่มประเทศที่มีความเสี่ยงต่ำ สามารถเดินทางเข้ามาได้โดยไม่ต้องกักตัว รวมถึงมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของภาครัฐ จะช่วยฟื้นฟูเศรษฐกิจไทยในช่วงที่เหลือของปี 2564 ขณะที่ภาคการส่งออกยังคงขยายตัวตามทิศทางเศรษฐกิจและการค้าโลกขณะที่องค์ประกอบของดัชนีฯ เพิ่มขึ้นเกือบทุกรายการ ทั้งยอดคำสั่งซื้อโดยรวม ยอดขายโดยรวม ปริมาณการผลิต และผลประกอบการ ยกเว้นต้นทุนประกอบการ

สำหรับปัจจัยสนับสนุน ได้แก่ สถานการณ์ระบาดของโควิด-19 ที่มีทิศทางดีขึ้นจากจำนวนผู้ติดเชื้อรายวันลดลง ขณะที่จำนวนผู้ได้รับวัคซีนมีสัดส่วนเพิ่มขึ้น ส่งผลให้ภาครัฐผ่อนคลายมาตรการล็อกดาวน์ต่อเนื่องทำให้กิจกรรมทางเศรษฐกิจทยอยฟื้นตัว ขณะที่อุปสงค์ในประเทศและต่างประเทศขยายตัวต่อเนื่องทั้งสินค้าคงทน อาทิ อุตสาหกรรมยานยนต์ ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ฯ เครื่องจักรกลและโลหะการ เป็นต้น รวมถึงสินค้าไม่คงทนประเภทอาหารและยา นอกจากนี้เริ่มมีคำสั่งซื้อสินค้าล่วงหน้าเพื่อใช้ในช่วงเทศกาลปีใหม่ในกลุ่มสินค้าอาหารและสินค้าแฟชั่น ส่งผลให้ดัชนีปริมาณการผลิตเพิ่มขึ้น ขณะที่มาตรการภาครัฐยังช่วยพยุงกำลังซื้อในประเทศ

นายสุพันธุ์ กล่าวว่า สำหรับสถานการณ์การขาดแคนแรงงานในภาคอุตสาหกรรมยอมรับว่ามีความกังวลเนื่องจากขนาดนี้เศรษฐกิจได้เริ่มทยอยเปิดโรงงาน รวมทั้งหลายๆธุรกิจอุตสาหกรรม ซึ่งยังขาดแคลนแรงงานมากพอสมควร เนื่องจากก่อนเกิดการแพร่ระบากโควิด-19 แรงงานต่างด้าวได้เดินทางกลับประเทศไปก่อนหน้านี้หลายแสนคน และขณะนี้ยังไม่เดินทางกลับเข้ามา มองว่าควรจะมีการลงนาม MOU ระหว่างรัฐต่อรัฐ ในการหาโคต้าแรงงานต่างด้าวเข้ามาเพื่อลดปัญหาการขาดแคลนแรงงงาน โดยมีเงื่อนไขต้องมีการตรวจสุขภาพ ซึ่งทั้งหมดมองว่านายจ้างยินดีที่จะจ่ายในส่วนนี้

“ เป็นการลงนามเพื่อแสดงเจตนารมย์ความต้องการแรงงานต่างด้าวให้เข้ามาทำงานอย่างถูกต้องโดยมีระบบการตรวจเช็คสุขภาพสิ่งเหล่านี้มองว่าภาคเอกชนยินดีจะออกค่าใช้จ่ายในส่วนนี้ ดังนั้นมองว่าหากยังไม่เปิดโอกาสในส่วนนี้จะทำให้มีแรงงานต่างด้าวลักลอบเข้ามาอย่างแน่นอน ซึ่งช่วงที่เกิดการแพร่ระบาดของ โควิด-19 แรงงานต่างด้าวกลับไปเป็นจริงนวนมาก และยังไม่กลับเข้ามาสู่ระบบแรงงาน ซึ่งปัจจุบันหลายธุรกิจและอุตสาหกรรมเริ่มทยอยเปิดแล้วทำให้ยังเป็นอุปสรรค ซึ่งขณะนี้มีความต้องการแรงงานถึง 5 แสนคน โดยอุตสาหกรรมที่ราดแคลนแรงงานมาที่สุดคือ ก่อสร้างและอาหาร เป็นต้น” นายสุพันธ์ กล่าว

ทั้งนี้มองว่าผู้ประกอบการได้มีความกังวลในเรื่องของปัญหาวัตถุดิบและพลังงานตามราคาน้ำมันปรับตัวสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องที่จะส่งผลให้ต้นทุนการผลิตสูงขึ้น ทำให้ต้นทุนการขนส่งตามมา ขณะที่การผันผวนในอัตราแลกเปลี่ยนส่งผลกระทบต่อ ต้นทุนของผู้นำเข้าก็อาจจะดีต่อผู้ส่งออก ขณะที่อัตราการขาดแคลนตู้คอนเทนเนอร์ และอัตราค่าระหว่างเรือสูงยังเป็นปัจจัยที่กดดันผู้ส่งออก

สำหรับข้อเสนอแนะต่อภาครัฐ คือ 1.เร่งรัดการฉีดวัดซีนที่มีคุณภาพให้แก่ประชาชน ตามเกณฑ์ขั้นต่ำ เพื่อสร้างภูมิคุ้มกันหมู่โดยเฉพาะจังหวัดที่เปิดรับนักท่องเที่ยวเพื่อสร้างความเชื่อมั่นให้กับนักท่องเที่ยวทั้งในประเทศและต่างประเทศ 2.ภาครัฐควรมีแผนรองรับการเปิดประเทศ และมาตรการด้านสาธารณสุขที่ชัดเจนเพื่อให้การเปิดประเทศเป็นไปด้วยความเรียบร้อยรวมทั้งควรมีการประชาสัมพันธ์ให้นักท่องเที่ยวและประชาชนรับทราบเพื่อสร้างความเข้าใจ

3.เร่งออกมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจเพิ่มเดิม และส่งเสริมการท่องเที่ยวรวมทั้งผ่อนคลายกิจกรรมทางเศรษฐกิจภายใต้มาตรการควบคุมโรคเพื่อช่วยฟื้นฟูเศรษฐกิจและ4.ขอให้ภาครัฐเร่งแก้ไขปัญหาราคาพลังงาน ราคาวัตถุดิบและค่าขนส่งที่ปรับตัวสูงขึ้นจนส่งผลกระทบต่อดันทุนประกอบการภาคอุดสาหกรรม

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

สถาบันอาหาร - ส.อ.ท. - สภาหอการค้าฯ ชี้ส่งออกอาหารไทยครึ่งปีแรก 67 โต 9.9% มูลค่า 8.5 แสนล้านบาท

สถาบันอาหาร สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย(ส.อ.ท.) และสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย เผยการส่งออกสินค้าอาหารของไทย 6 เดือนแรกปี 2567 มีมูลค่า 852,432 ล้านบาท