กรมการค้าภายในไฟเขียว “บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป” ปรับขึ้นราคาไม่เกิน 1 บาท นำร่อง 3 ยี่ห้อ “มาม่า-ไวไว-ยำยำ” เริ่ม 25 ส.ค.นี้ พร้อมกำหนดเงื่อนไขเข้ม ต้องแจ้งข้อมูลการรับซื้อวัตถุดิบ และหากต่อไปต้นทุนวัตถุดิบลดลง จะมีหนังสือแจ้งให้ปรับลดราคาลงด้วย ส่วนอีก 2 ราย หากยื่นข้อมูลครบ จะพิจารณาด้วยหลักเกณฑ์เดียวกัน
25 ส.ค. 2565 – นายวัฒนศักย์ เสือเอี่ยม อธิบดีกรมการค้าภายใน เปิดเผยว่า กรมฯ ได้ประชุมร่วมกับผู้ผลิตบะหมี่กึ่งสำเร็จรูป 3 ราย ได้แก่ บริษัท ไทยเพรซิเด้นท์ฟู้ด จำกัด (มหาชน) ตรามาม่า บริษัท โรงงานผลิตภัณฑ์อาหารไทย จำกัด ตราไวไว และบริษัท วันไทย อุตสาหกรรม อาหาร จำกัด ตรายำยำ เพื่อพิจารณากรณีที่ผู้ผลิตยื่นขอปรับขึ้นราคาแบบซองจาก 6 บาทเป็น 8 บาท โดยหลังจากพิจารณาต้นทุนร่วมกันอย่างละเอียดแล้ว ทั้งต้นทุนวัตถุดิบ เช่น ข้าวสาลี น้ำมันปาล์ม แพกเกจจิ้ง รวมถึงต้นทุนพลังงาน และแรงงาน เห็นว่าต้นทุนปรับเพิ่มขึ้นจริง จึงได้อนุมัติให้ปรับขึ้นราคาทั้ง 3 ราย ไม่เกิน 1 บาทต่อซองสำหรับขนาดปกติ ส่วนรายการอื่น ไม่อนุมัติให้ปรับขึ้น มีผลตั้งแต่วันที่ 25 ส.ค.2565 เป็นต้นไป
“ราคาที่ผู้ผลิตที่ยื่นขอมา 8 บาท ถือว่าสูงไป จึงอนุมัติให้ขึ้นได้ไม่เกิน 1 บาทต่อซอง หรือสูงสุดไม่เกินซองละ 7 บาท เพราะต้องคำนึงถึงพี่น้องประชาชนภายใต้นโยบาย วิน-วิน โมเดล ที่ผู้ผลิตอยู่ได้ ผลิตต่อได้ และประชาชนต้องไม่ได้รับผลกระทบมากจนเกินไป จึงออกมาอย่างที่ได้ตกลงกัน”
ทั้งนี้ กรมฯ ยังได้เพิ่มเงื่อนไขให้ผู้ผลิตปฏิบัติ คือ ถ้าต้นทุนวัตถุดิบลดลง ต้นทุนพลังงานลดลง ก็ต้องปรับลดราคาลงมา โดยกรมฯ จะมีการติดตามอย่างใกล้ชิด และจะมีหนังสือแจ้งให้ผู้ผลิตปรับลดราคาต่อไป หากมีกรณีเกิดขึ้น และกรมฯ ได้แจ้งผู้ผลิตไปแล้ว แต่ผู้ผลิตไม่ปรับลดราคาลง จะเป็นการเข้าข่ายขายสินค้าแพงเกินสมควร มีโทษตามพ.ร.บ.ว่าด้วยราคาสินค้าและบริการ ม.26 และ 29
สำหรับผู้ผลิตอีก 2 รายที่เหลือ คือ บริษัท นิชชิน ฟูดส์ (ไทยแลนด์) จำกัด ตรานิชชิน และบริษัท โชคชัยพิบูล จำกัด ตราซื่อสัตย์ จะพิจารณาตามหลักเกณฑ์เดียวกันนี้ โดยล่าสุดนิชชิน ได้ยื่นรายละเอียดต้นทุนเข้ามามาครบถ้วนแล้ว กรมฯ จะพิจารณาต่อไป ส่วนซื่อสัตย์ ยังไม่ได้ยื่นรายละเอียดเข้ามา
นายพันธ์ พะเนียงเวทย์ ผู้จัดการสำนักผู้อำนวยการ บริษัท ไทยเพรซิเดนท์ฟูดส์ จำกัด (มหาชน) ผู้ผลิตบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปมาม่า กล่าวว่า หากมองในจุดที่ผู้ผลิตขอปรับขึ้นราคาไป 8 บาทต่อซอง ได้ปรับไม่เกิน 1 บาท หรือไม่เกิน 7 บาทต่อซอง ก็ถือว่าแย่ แต่ถ้ามองจากจุดที่ผู้ผลิตขอปรับขึ้นราคามา 18 เดือน ก็ถือว่าดี และเข้าใจว่าภาครัฐ ต้องดูแลพี่น้องประชาชนทั้งประเทศ ไม่ให้ได้รับผลกระทบจากภาระค่าครองชีพที่จะเพิ่มขึ้น ถือว่าต่างคนต่างทำหน้าที่ ซึ่งผู้ผลิต ก็ยอมรับได้ เพราะยังดีกว่าไม่ได้ปรับขึ้นราคาเลย เพราะที่ผ่านมา มาม่าขายเกือบขาดทุน บางรายต้องขาดทุนไปแล้ว
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
พาณิชย์คุยปิดฤดูกาลผลไม้ราคาพุ่งทุกรายการ มูลค่า 1.5 แสนล้านบาท
ปิดฤดูกาลผลไม้ปี 67 อย่างงดงาม เกษตรกรยิ้ม ราคาพุ่งทุกรายการ ส่งออกผลไม้ 8 เดือนแรกเป็นบวก รวมมูลค่า 1.5 แสนล้านบาท “พิชัย”สั่งเตรียมมาตรการเชิงรุกปี 68 ต่อ
'พิชัย' ปลื้ม Live Commerce โกยเงิน 1,510 ล้านบาทเข้าประเทศ
“พิชัย” ปลื้ม “5 วัน โกยเงินกว่า 1,510 ล้านบาท” เข้าประเทศ ผ่านงาน International Live Commerce Expo 2024 พร้อมขยายโครงการ Live Commerce อย่างต่อเนื่องหนุนสินค้าไทยตีตลาดโลก
'พิชัย' ประเดิมภารกิจเร่งด่วน แก้ราคาสินค้าแพง พร้อมเข้มสินค้าจีนทะลัก
นายพิชัย นริพทะพันธุ์ รัฐมนตรรีว่าการกรทะรวงพาณิชย์ กล่าวภายหลังจากเข้าเฝ้าถวายสัตย์ปฏิญาณฯ เมื่อวานนี้ ว่าในการทำงานของกระทรวงพาณิชย์จะเร่งรัดการทำงานในหลายเรื่องที่เป็นปัญหากระทบ
'วรงค์' เดือดง้างปาก 'ภูมิธรรม' ตอบมาข้าว 10 ปีเอาไปทำอะไร
นพ.วรงค์ เดชกิจวิกรม ที่ปรึกษาพรรคไทยภักดี โพสต์เฟซบุ๊ก ถึงนายภูมิธรรม เวชชชัย รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ ว่า