บขส. วางเป้าย้ายสถานีเอกมัย ไปนอกเมืองเล็งพื้นที่ไบเทค ชี้เอกชนสนใจพัฒนาที่ดินเชิงพาณิชย์ตรงย่านเอกมัยมากสุด แต่เตรียมนำร่องคือ ย่านปิ่นเกล้าและย่านชลบุรี
24 ส.ค.2565 – นายสัญลักข์ ปัญวัฒนลิขิต กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ขนส่ง จำกัด (บขส.) เปิดเผยว่า เป้าหมายสูงสุดของบขส. ในการพัฒนาพื้นที่เชิงพาณิชย์ คือ ย่านสถานีเอกมัย เพราะเป็นพื้นที่ที่มีศักยภาพตอบโจทย์ในด้านการลงทุนแก่เอกชน ประกอบกับภายในสถานีเอกมัยไม่ค่อยเกิดประโยชน์แล้ว เนื่องจากการเดินรถโดยสารขนาดใหญ่ ทำให้เกิดการจราจรติดขัดและไม่สะดวกต่อประชาชน
“ ปัจจุบันบขส.อยู่ระหว่างศึกษาแผนย้ายรถโดยสารภายในสถานีเอกมัย อาจจะพิจารณาให้สถานีดังกล่าวอยู่บริเวณรอบนอก เช่น บริเวณไบเทคบางนา ซึ่งเป็นพื้นที่ที่มีการรองรับจุดจอดรถโดยสารแทนสถานีเอกมัยได้ โดยเป็นลงนามบันทึกข้อตกลงร่วมกันเพื่อแบ่งผลประโยชน์ของค่าเช่าพื้นที่
ทั้งนี้คงต้องรอความชัดเจนก่อนว่าเป็นอย่างไร คาดว่าจะเห็นผลการศึกษาแล้วเสร็จภายในปี 2566 และจะเริ่มดำเนินการประกาศเชิญชวนให้เอกชนร่วมลงทุนได้ภายในปี 2567 หากดำเนินการได้จะช่วยชดเชยรายได้ในการให้บริการเดินรถโดยสารแก่บขส.ด้วย” นายสัญลักข์ กล่าว
ทั้งนี้พบว่าเอกชนส่วนใหญ่ให้ความสนใจพัฒนาพื้นที่เชิงพาณิชย์บริเวณย่านสถานีเอกมัยมากที่สุด เพราะเป็นพื้นที่ที่อยู่ใจกลางเมือง ซึ่งจะทำให้เกิดประโยชน์ได้มากขึ้น ส่วนการพัฒนาพื้นที่สายแยกไฟฉายนั้น ขณะนี้ติดปัญหาเรื่องการรื้อถอนระหว่างเขตทาง เนื่องจากบริเวณชุมชนโดยรอบมีการคัดค้าน ทำให้บขส.ต้องพิจารณาเรื่องข้อกฎหมายเพิ่มเติมด้วย
ส่วนเรื่องความคืบหน้าแผนพัฒนาพื้นที่เชิงพาณิชย์แปลงอื่นๆ ในย่าน 3 แยกไฟฉาย, ย่านปิ่นเกล้า และย่านชลบุรี เบื้องต้นบขส.จะนำร่องพัฒนาพื้นที่เชิงพาณิชย์ จำนวน 2 แปลงก่อน คือ ย่านปิ่นเกล้าและย่านชลบุรี เพราะเป็นพื้นที่ที่มีศักยภาพในการพัฒนาโครงการฯ
สำหรับพื้นที่ของแผนพัฒนาพื้นที่เชิงพาณิชย์ จำนวน 4 แปลง รวมพื้นที่ 30 ไร่ มูลค่า 7,641 ล้านบาท ประกอบด้วย 1.ย่านเอกมัย มีพื้นที่ 7 ไร่ มูลค่า 2,500 ล้านบาท 2.ย่าน 3 แยกไฟฉาย มีพื้นที่ 3 ไร่ มูลค่า 428 ล้านบาท 3.ย่านปิ่นเกล้า มีพื้นที่ 15 ไร่ มูลค่า 4,600 ล้านบาท และ 4.ย่านชลบุรี มีพื้นที่ 5 ไร่ มูลค่า 113 ล้านบาท
นายสัญลักข์ กล่าวต่อว่า ขณะที่การเช่าพื้นที่บริเวณที่ดินหมอชิต 2 นั้น ทางบขส.จะขออนุญาตกระทรวงคมนาคมเช่าพื้นที่ดังกล่าวต่อไป เพราะเป็นพื้นที่ที่เหมาะสมในการเชื่อมต่อการเดินทางที่สะดวกและเกิดประโยชน์ต่อผู้โดยสารสูงสุด โดยเฉพาะรถไฟสายสีแดงที่มีการเปิดให้บริการจากสถานีกลางบางซื่อก็สามารถเชื่อมต่อกับบขส.ได้ หากมีการย้ายพื้นที่ออกไปอยู่ด้านนอก จะทำให้การจราจรติดขัด ทั้งนี้คาดว่าในอนาคตจะมีรถชัตเตอร์บัสเข้ามาให้บริการร่วมด้วย
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
'คารม' ชวนแอ่วเหนือลอยกระทงบอก บขส.ลดค่าโดยสาร 10%
'คารม' เชิญชวน ปชช. นั่งรถทัวร์เที่ยวงาน 'ลอยกระทง ลงแอ่วเหนือ' ลดค่าโดยสาร 10% หนุนนโยบายรัฐบาลโครงการแอ่วเหนือคนละครึ่ง กระตุ้นเศรษฐกิจท่องเที่ยวในประเทศ
ดีเดย์ 1 ธ.ค. บขส. เพิ่มเที่ยววิ่ง ‘กรุงเทพฯ - แหลมงอบ’ รองรับช่วงไฮซีซั่น
1 ธ.ค.นี้ บขส. ปรับเพิ่มเที่ยววิ่ง เส้นทางกรุงเทพฯ (เอกมัย) - แหลมงอบ จากวันละ 2 เที่ยววิ่ง ไป - กลับ เป็น 4 เที่ยววิ่ง เสริมแกร่งการเดินทางนักท่องเที่ยวสู่เกาะช้าง – เกาะกูดช่วงไฮซีซั่น
’บขส‘ สแกนความพร้อมรถโดยสารรับคนเดินทางช่วงวันหยุดยาว 12 - 14 ต.ค.นี้
‘บขส.’ตรวจเข้มรถโดยสารบริษัท – รถร่วมฯ ก่อนออกให้บริการ เพิ่มความปลอดภัย เตรียมความพร้อมอำนวยความสะดวกประชาชนเดินทางหยุดยาว 12 - 14 ต.ค.นี้ คาดกลับต่างจังหวัดวันละ 8 – 9 หมื่นคน นั่งรถโดยสารกว่า 7 พันเที่ยวต่อวัน