ส.อ.ท. จับมือ ดีป้า ลุยส่งเสริมบุคลากรด้านไอทีเตรียมช่วยจ่ายเงินเดือน 50% กลุ่มเด็กจบใหม่

ส.อ.ท. จับมือ ดีป้า ลุยส่งเสริมการจ้างงาน ผ่านการสนับสนุนค่าจ้างเงินเดือนสูงสุด 50% พร้อมเครือข่ายพันธมิตรสร้างทักษะกำลังคนดิจิทัลใหม่ เรียนจบไม่ตกงาน

19 ส.ค. 2565 – นายณัฐพล นิมมานพัชรินทร์ ผู้อำนวยการใหญ่ สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล(ดีป้า) เปิดเผยในงานเสวนาในหัวข้อ “Technology, Skills, and the New Trend of Work” ภายใต้โครงการรัฐร่วมเอกชนสร้างทักษะดิจิทัลใหม่ เรียนจบไม่ตกงาน ที่ร่วมกับสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย(ส.อ.ท.) พร้อมกับเครือข่ายพันธมิตรด้านการพัฒนากำลังคนระดับประเทศว่า ดีป้าได้เล็งเห็นถึงสถานการณ์การขาดแคลนบุคลากรด้านดิจิทัลในปัจจุบัน จึงได้มีมาตรการส่งเสริมและสนับสนุนผ่านการดำเนินงานโครงการต่างๆ เพื่อยกระดับทักษะสำหรับนักศึกษาใกล้จบหรือจบแล้ว ไม่เกิน 2 ปี และยังไม่มีงานทำ ในสาขาขาดแคลน จำนวน 5 สาขา ได้แก่ AI IoT ML Cloud Computing และ Digital Marketing รวมทั้งสิ้นกว่า 1,000 คน

ทั้งนี้เพื่อมุ่งเน้นการพัฒนากำลังคนให้มีทักษะที่ตรงกับความต้องการของภาคเอกชน โดยเมื่อผ่านการยกระดับทักษะแล้ว ผู้เข้าร่วมโครงการจะมีโอกาสได้พบกับผู้ประกอบการที่ต้องการบุคลากรในสาขาดังกล่าว ผ่านกิจกรรม Job Fair การันตีให้เกิดการจ้างงานจริงในระบบเศรษฐกิจ ซึ่งดีป้าได้ส่งเสริมการจ้างงานผ่านการสนับสนุนเงินเดือนไม่เกิน 50% ให้แก่ภาคเอกชนที่ต้องการจ้างงาน ทั้งในสาขาเทคโนโลยีดิจิทัล (IT) และสาขาทั่วไป (Non-IT) ที่ต้องการเปลี่ยนผ่านมาทำงานในสายงานที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีดิจิทัล โดยมีทุนสนับสนุนทั้งสิ้นกว่า 120 ทุน

สำหรับโครงการส่งเสริมการจ้างงานนักศึกษาวัยหางานสาขา Non-IT ดำเนินการโดย สถาบัน ICTI ส.อ.ท. มีเป้าหมายในการสนับสนุนค่าจ้างเงินเดือนไม่เกิน 50% สูงสุด 6,500 บาทต่อเดือน สนับสนุนระยะเวลา 1 ปี ให้แก่นายจ้างที่ต้องการจ้างงาน นักศึกษาชั้นปีสุดท้ายหรือจบใหม่ไม่เกิน 2 ปี ในสาขาทั่วไป (NON-IT) ที่ต้องการเปลี่ยนผ่านมาทำงานในสายงานที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีดิจิทัล โดยมีทุนสนับสนุนทั้งสิ้น 100 ทุน เปิดรับสมัครตั้งแต่วันนี้ – 15 ก.ย. 2565 หรือจนกว่าทุนจะครบเป้าหมาย ท่านใดสนใจสามารถสอบถามข้อมูลได้ที่สถาบัน ICTI หรืออ่านรายละเอียดได้ที่เว็บไซต์ www.icti.fti.or.th

ด้านนายไพฑูรย์ ศิริฉัตรชัยกุล รองประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย(ส.อ.ท.) กล่าวว่า สภาอุตสาหกรรมฯ ในฐานะศูนย์รวมของภาคส่วนผู้ประกอบการที่เป็นนายจ้างในระบบเศรษฐกิจของประเทศ ซึ่งเมื่อปี 2562 ได้มีการสำรวจข้อมูลความพร้อมและความต้องการบุคลากรด้านเทคโนโลยีดิจิทัลในภาคอุตสาหกรรม จำนวนกลุ่มตัวอย่าง 201 องค์กร พบว่า ส่วนใหญ่มีบุคลากรด้านไอทีในองค์กรเฉลี่ยอยู่ที่ 1-5 คน สัดส่วนถึง 61% ถือเป็นองค์กรขนาดกลางค่อนไปทางใหญ่ และกว่า 64% คิดว่าองค์กรตัวเองมีบุคลากรด้านไอทีไม่เพียงพอ

โดยมีรูปแบบของการบริหารจัดการที่หลากหลายผสมผสาน ทั้งการจัดจ้างแบบ Outsource Service การพัฒนาทักษะแก่พนักงานที่มีอยู่เดิม (Upskill/Reskill) และการรับพนักงานใหม่ ส่วนตำแหน่งงานที่ความต้องการสูงสุด 5 อันดับ ได้แก่ งานบริหารด้านไอที (IT Management), งานนักเขียนโปรแกรม (Programmer)ม งานผู้ดูแลระบบและเครือข่าย (Network Admin Jobs), งานด้านพัฒนาและดูแลระบบ CRM / ERP และงานเว็บไซต์ (Website) ตามลำดับ

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

'ดีป้า' ลุยขอนแก่น นำร่องจัดโรดโชว์เรียนรู้ทักษะโค้ดดิ้ง ประสบความสำเร็จเกินคาด

ผศ.ดร.ณัฐพล นิมมานพัชรินทร์ ผู้อำนวยการใหญ่ สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล หรือ ดีป้า เปิดเผยว่า โครงการ Coding for Better Life สร้างรากฐานอนาคตประเทศไทย จะเป็นกุญแจสำคัญในการสร้างกำลังคน

ส.อ.ท.โอดดัชนีเชื่อมั่นอุตฯ ลดต่ำอีกระลอก

ส.อ.ท.โอดดัชนีเชื่อมั่นอุตฯ ลดต่ำอีกระลอก งวดพ.ค. อยู่ที่ระดับ 88.5 รับอานิสงส์เศรษฐกิจไทยยังผันผวน กำลังซื้อเปราะบางจากหนี้ครัวเรือน-หนี้เสีย ผนวกราคาน้ำมันแพงดันต้นทุนสูง คาดการณ์ไตรมาสหน้าไม่ฟื้นหวังรัฐเข้าช่วย ผุดมาตรการลดผลกระทบจากราคาพลังงาน

มพช. แจงปมของบ ส.อ.ท. ทำวิจัย

ดร.สุวิทย์ ธรณินทร์พานิช ประธานคณะกรรมการมูลนิธิพลังงานสะอาดเพื่อประชาชน (มพช.) พร้อมด้วยคุณพรอรัญ สุวรรณพลาย กรรมการและเหรัญญิก มพช.

'อัลฟ่าเซค' จับมือ 'ส.อ.ท.' ทำระบบมาตรฐานความปลอดภัยสารสนเทศของงาน Made in Thailand

อัลฟ่าเซค ร่วมมอบ “ใบรับรองระบบมาตรฐานด้านความมั่นคงปลอดภัยสารสนเทศ ISO27001:2022” ให้กับ ส.อ.ท. ในฐานะที่ปรึกษาด้านความมั่นคงปลอดภัย เพื่อสร้างความมั่นใจให้ผู้ประกอบการ MiT และเตรียมรับมือกับ ภูมิทัศน์ไซเบอร์ในปี 2567