“ธอส.” เดินเครื่องออก 7 มาตรการช่วยลูกค้าที่ได้รับผลกระทบจากพายุมู่หลาน สั่งลดเงินงวด 50% ลดดอกเบี้ย พักชำระหนี้ ปลอดหนี้บางส่วน พร้อมอัดฉีดสินไหมเร่งด่วน
16 ส.ค. 2565 – นายฉัตรชัย ศิริไล กรรมการผู้จัดการ ธนาคารอาคารสงเคราะห์ (ธอส.) เปิดเผยว่า ธนาคารได้จัดทำมาตรการช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติทางธรรมชาติ ปี 2565 กรอบวงเงินรวม 1 พันล้านบาท เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนให้แก่ลูกค้าประชาชนจากผลกระทบของพายุมู่หลาน ประกอบด้วย 7 มาตรการ ได้แก่ มาตรการที่ 1 สำหรับลูกค้าปัจจุบันของ ธอส. ที่อยู่ระหว่างการใช้อัตราดอกเบี้ยลอยตัว(MRR -0.50%, MRR -1.00% หรือ MRR เป็นต้น) กรณีหลักประกัน (ที่อยู่อาศัยที่จดจำนองกับธนาคาร) ของตัวเองหรือคู่สมรสได้รับความเสียหายจากการประสบภัยพิบัติทางธรรมชาติสามารถขอลดเงินงวด 50% จากเงินงวดที่ชำระปกติ และลดอัตราดอกเบี้ยเหลือ 3% ต่อปี เป็นระยะเวลา 6 เดือน
มาตรการที่ 2 สำหรับลูกค้ากู้ใหม่ หรือลูกค้าปัจจุบันของ ธอส. ที่หลักประกันของตนเองหรือคู่สมรสได้รับความเสียหายจากการประสบภัยพิบัติทางธรรมชาติ สามารถขอกู้เพิ่ม หรือกู้ใหม่ เพื่อปลูกสร้างอาคารทดแทนหลังเดิม หรือกู้ซ่อมแซมอาคารที่ได้รับความเสียหาย วงเงินให้กู้ต่อรายไม่เกิน 1 ล้านบาท ต่อ 1 หลักประกันคิดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้คงที่ 3% ต่อปี นาน 1 ปี ปีที่ 2 – 3 อัตราดอกเบี้ย MRR –3.15% ต่อปี(ปัจจุบันเท่ากับ
3% ต่อปี) และปีที่ 4 จนถึงตลอดอายุสัญญาเงินกู้กรณีลูกค้าสวัสดิการ ดอกเบี้ยเท่ากับ MRR -1% ต่อปีกรณีลูกค้ารายย่อยทั่วไป ดอกเบี้ยเท่ากับ MRR – 0.50% ต่อปี พร้อมยกเว้นค่าธรรมเนียมในรายการที่เกี่ยวข้องให้ทั้งหมด
มาตรการที่ 3 ลูกค้าสถานะ NPL ที่หลักประกันได้รับความเสียหาย ให้ประนอมหนี้ระยะเวลาไม่เกิน 1 ปี 6 เดือน โดยคิดอัตราดอกเบี้ย 0% ต่อปี นาน 6 เดือนแรก และไม่ต้องชำระเงินงวด จากนั้นเดือนที่ 7-18 อัตราดอกเบี้ย 1% ต่อปี โดยให้ผ่อนชำระเงินงวดไม่น้อยกว่าดอกเบี้ยรายเดือน และเมื่อครบระยะเวลาประนอมหนี้ให้กลับมาใช้อัตราดอกเบี้ยตามสิทธิเดิมก่อนที่จะใช้มาตรการนี้ และ
มาตรการที่ 4 ลูกค้าสถานะ NPL ที่ได้รับผลกระทบด้านรายได้ ให้ประนอมหนี้เป็นระยะเวลาไม่เกิน 1 ปี โดยคิดอัตราดอกเบี้ย 0% ต่อปี นาน 6 เดือนแรก และผ่อนชำระเงินงวดเพียง 1 พันบาท (ตัดเงินต้นทั้งหมด) จากนั้นเดือนที่ 7-12 อัตราดอกเบี้ย 1% ต่อปี โดยให้ผ่อนชำระเงินงวดไม่น้อยกว่าดอกเบี้ยรายเดือน บวกอีก 100 บาท และเมื่อผ่อนชำระครบระยะเวลาประนอมหนี้ ให้ลูกค้ากลับมาใช้อัตราดอกเบี้ยตามสิทธิเดิมก่อนที่จะใช้มาตรการนี้
มาตรการที่ 5 ลูกค้าสถานะบัญชีปกติและสถานะ NPL ที่เสียชีวิตหรือทุพพลภาพถาวร ให้ผ่อนชำระโดยใช้
อัตราดอกเบี้ย 0.01% ต่อปี ตลอดระยะเวลาที่คงเหลือ (พิจารณาเป็นรายกรณี)
ส่วนมาตรการที่ 6 ลูกค้าสถานะบัญชีปกติและสถานะ NPL หากที่อยู่อาศัยได้รับความเสียหายทั้งหลังและไม่สามารถซ่อมแซมได้ ให้ปลอดหนี้ในส่วนของราคาอาคาร และให้ผ่อนชำระต่อเฉพาะในส่วนของที่ดินที่คงเหลือเท่านั้น (พิจารณาเป็นรายกรณี)
มาตรการที่ 7 พิจารณาสินไหมเร่งด่วน (Fast Track) สำหรับลูกค้าที่ทำกรมธรรม์ประกันอัคคีภัยสำหรับที่อยู่อาศัยซึ่งคุ้มครองภัยธรรมชาติ รวมถึงกรณีน้ำท่วม หรือ ลมพายุ พิจารณาจ่ายค่าสินไหมให้กับลูกค้าที่เป็นผู้ประสบภัยทุกรายอย่างเร่งด่วนเป็นกรณีพิเศษ โดยผู้เอาประกันยื่นเอกสารแจ้งความเสียหาย จ่ายตามความ เสียหายจริงตามภาพถ่าย รวมทุกภัยธรรมชาติไม่เกิน 2หมื่นบาทต่อปี และสำหรับลูกค้าที่มีกรมธรรม์ เริ่มความคุ้มครองตั้งแต่วันที่ 1 พ.ย. 2562 เพิ่มความคุ้มครองภัยธรรมชาติตามความเสียหายจริงจากหลักฐานภาพถ่าย แต่ไม่เกินภัยละ 3 หมื่นบาทต่อปี
ทั้งนี้ ลูกค้าที่ประสงค์ขอรับบริการตามมาตรการที่ 1-6 สามารถติดต่อได้ที่สาขาของ ธอส. ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไปถึงวันที่ 30 ก.ย. 2565 และมาตรการที่ 7 ติดต่อได้ที่สาขาของ ธอส. ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
ผู้ใช้แรงงานเฮ! พิพัฒน์เผยเริ่ม 1 พ.ย.นี้ ประกันสังคมลงทุนหมื่นล้าน! จับมือ ธอส.ปล่อยกู้ ให้ผู้ประกันตนมาตรา 33, 39, 40 ซื้อบ้าน ซื้อที่ดิน ซ่อมบ้าน วงเงินไม่เกินคนละไม่เกิน 2 ล้านบาท ดอกเบี้ยต่ำ เฉลี่ยผ่อนคืนแค่เดือนละ 4 พันบาท เท่านั้น
นายพิพัฒน์ รัชกิจประการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน กล่าวถึงเรื่องสินเชื่อบ้านให้ผู้ประกันตนมาตรา 33, 39, 40 ได้มีที่อยู่อาศัย
'ธอส.' ปล่อยกู้คนอยากมีบ้านดอกเบี้ยถูก 1.90%
ธอส. จัดทำ 6 ผลิตภัณฑ์สินเชื่ออัตราดอกเบี้ยต่ำ เอาใจคนอยากมีบ้านเป็นของตนเองเริ่มต้นเพียง 1.90% ต่อปี กู้ 1 ล้านบาท ผ่อนชำระเงินงวด 3,000 บาท เท่านั้น!!
"พิพัฒน์" จับมือ ธอส. ปล่อยสินเชื่อซื้อบ้าน ดอกเบี้ยต่ำ 1.59% ต่อปี วงเงิน 10,000 ล้านบาท เพื่อเพิ่มสิทธิประกันสังคม ให้ผู้ประกันตนมีที่อยู่อาศัยเป็นของตัวเอง
วันที่ 26 กันยายน 2567 เวลา 13.30 น. นายพิชัย ชุณหวชิร รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง และ นายพิพัฒน์ รัชกิจประการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน