กนอ.กางแผนปี 66 ลุย พัฒนานิคมอัจฉริยะ และท่าเรืออัจฉริยะ

กนอ.เปิดแผนแม่บทปี 66 พัฒนานิคมอุตสาหกรรมอัจฉริยะ และ ท่าเรืออุตสาหกรรมอัจฉริยะ ปั้นท่าเรือบก ” หนุนการเป็นศูนย์กลางโลจิสติกส์ในภูมิภาค เพิ่มความสามารถทางการแข่งขัน

16 ส.ค .2565- นายวีริศ อัมระปาล ผู้ว่าการการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (กนอ.) เปิดเผยว่า เมื่อเร็วๆ นี้ ได้เดินทางไปศึกษาดูงานการผลิตน้ำจืดจากทะเล และการบริหารจัดการท่าเรือ ณ ประเทศสเปน โดยมีภารกิจใน 3 ประเด็นหลัก คือ การเยี่ยมชมท่าเรือบาเลนเซีย เยี่ยมชมระบบการแยกเกลือออกจากน้ำทะเล (Desalination) ประชุมแลกเปลี่ยนความคิดเห็นการบริหารจัดการท่าเรือบก และระบบการขนส่งแบบ multimodal ซึ่งท่าเรือเมืองบาเลนเซีย เป็น 1 ในท่าเรือยุโรปที่มีปริมาณการขนส่งมากที่สุด และยังเป็นท่าเรือที่มีการนำเทคโนโลยีและนวัตกรรม Port Community System (PCS) หรือระบบศูนย์กลางเชื่อมโยงข้อมูลด้านขนส่งทางน้ำและโลจิสติกส์แบบไร้รอยต่อของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องด้านโลจิสติกส์ทั้งภาครัฐและเอกชนมาใช้บริหารจัดการท่าเรือในรูปแบบ Smart Port

ทั้งนี้กนอ. เห็นว่าการดำเนินงานท่าเรือบาเลนเซีย สอดคล้องกับภารกิจของ กนอ.ซึ่งอยู่ระหว่างการขยายท่าเรืออุตสาหกรรมมาบตาพุด เฟส 3 เพื่อรองรับการขนส่งก๊าซ NGV และสินค้าเหลว ตลอดจนการประกอบกิจการอื่นที่เกี่ยวเนื่อง รวมทั้งการพัฒนา“ท่าเรือบก (Dry Port)” เพื่อสนับสนุนการเป็นศูนย์กลางโลจิสติกส์ในภูมิภาค ทั้งนี้ กนอ.จะนำสิ่งที่ได้เรียนรู้จากท่าเรือบาเลนเซีย มาประกอบการพิจารณาจัดทำแผนแม่บทการพัฒนาท่าเรืออุตสาหกรรมอัจฉริยะที่มุ่งสู่ความเป็นกลางทางคาร์บอน ตามเป้ายุทธศาสตร์ปี 2566 ที่มุ่งเน้นพัฒนาด้านสาธารณูปโภค (IEAT4.0) และนิคมอุตสาหกรรมเชิงนิเวศ ให้บริการและสนับสนุนการลงทุนในอุตสาหกรรมโดยนำเทคโนโลยีดิจิทัลเข้ามาประยุกต์ใช้

“แผนแม่บทนี้จะนำไปใช้ในพื้นที่นิคมอุตสาหกรรม/ท่าเรืออุตสาหกรรมมาบตาพุด และนิคมอุตสาหกรรมสมาร์ท ปาร์ค (Smart Park) เป็นพื้นที่นำร่อง รวมถึงเป็นต้นแบบด้านการบริหารจัดการนิคมอุตสาหกรรม/ท่าเรืออุตสาหกรรมโดยใช้ข้อมูล ให้แก่นิคมอุตสาหกรรม/ท่าเรืออุตสาหกรรมอื่นๆ ในประเทศไทย เพื่อดึงดูดนักลงทุนทั้งชาวไทยและต่างชาติให้เข้ามาลงทุนในภาคอุตสาหกรรม” นายวีริศ กล่าว

ขณะเดียวกันยังได้มีการประชุมแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกับสมาคมการผลิตน้ำจืดจากทะเล และการนำน้ำกลับมาใช้แห่งสเปน (La Asociacion Espanola de Desalacion y Reutilizacion – AEDyR) เพื่อหาแนวทางความเป็นไปได้ที่เหมาะสมและมีประสิทธิภาพสูงสุด ทั้งการคัดเลือกพื้นที่ตั้งระบบผลิตน้ำจืดจากน้ำทะเล อัตรากำลังการผลิตที่เหมาะสม การคัดเลือกเทคโนโลยี ผลกระทบการระบายน้ำทิ้ง และการศึกษาในเชิงสังคม สิ่งแวดล้อม เศรษฐศาสตร์ กฎหมาย และการลงทุน

ทั้งนี้ สำหรับพื้นที่ EEC สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (สนทช.) ร่วมกับจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยดำเนินการศึกษาความเป็นไปได้เบื้องต้น พบว่า กระบวนการ RO หรือ Reverse Osmosis ซึ่งเป็นการขับเคลื่อนน้ำทะเลผ่านสู่ระบบเยื่อกรองด้วยแรงดันสูง เป็นกระบวนที่เหมาะสมที่สุด เนื่องจากใช้พลังงานได้อย่างมีประสิทธิภาพที่สุด สามารถใช้ร่วมกับพลังงานทางเลือกได้ และมีความยั่งยืนมากกว่าเทคโนโลยีอื่น ๆ อีกทั้งยังเป็นระบบที่ได้รับการพัฒนาจนมีต้นทุนค่าใช้จ่ายในการดำเนินงาน (OPEX) และค่าใช้จ่ายในการลงทุน (CAPEX) ต่ำกว่ากระบวนการอื่น ๆ อย่างไรก็ตาม พื้นที่ที่มีศักยภาพสูงที่เหมาะสมสำหรับตั้งโรงผลิตน้ำจืดจากทะเล อยู่บริเวณพื้นที่มาบตาพุด อำเภอเมือง จังหวัดระยอง

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

‘วีริศ’ ลุยงานตรวจความคืบหน้าโครงการรถไฟสายอีสาน

‘วีริศ’ลงพื้นที่ตรวจเยี่ยม พร้อมรับรับฟังความคืบหน้าโครงการ ในเส้นทางสายตะวันออกเฉียงเหนือ มอบผู้บริหารร่วมกันวางแผนการใช้ประโยชน์จากโครงการต่างๆ ให้คุ้มค่าสูงสุด ย้ำเร่งผลักดันอุตสาหกรรมระบบรางของไทย เพื่อก้าวสู่การเป็นศูนย์กลางการขนส่งทางรางในภูมิภาคอาเซียน

'กนอ.'โชว์ยอดขาย/เช่าพื้นที่ในนิคมฯ สร้างสถิตินิวไฮ 2 ปีติด

“วีริศ” โชว์ยอดขายและเช่าพื้นที่ในนิคมอุตสาหกรรม ทุบสถิติใหม่ (New High) ต่อเนื่องเป็นปีที่ 2 มั่นใจประเทศไทยเป็นจุดหมายปลายทางที่น่าสนใจสำหรับนักลงทุนต่างชาติ เชื่อแคมเปญ “NOW Thailand” ตอกย้ำศักยภาพประเทศ ในฐานะศูนย์กลางการลงทุนในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

'พิมพ์ภัทรา' นำทีมบุกญี่ปุ่น ศึกษาโมเดล 'นิคมอุตสาหกรรม Circular' มาปรับใช้กับไทย

“พิมพ์ภัทรา”นำทีมเยือนญี่ปุ่น 21 - 27 กรกฎาคม 2567 ปักหมุดดูงานพัฒนาการจัดตั้ง “นิคมอุตสาหกรรม Circular” พร้อมหารือกับองค์การพัฒนาพลังงานใหม่และเทคโนโลยีอุตสาหกรรมประเทศญี่ปุ่น และองค์การส่งเสริมการค้าต่างประเทศของญี่ปุ่น (Japan External Trade Organization : JETRO) เพื่อศึกษาแนวทางพัฒนาการลงทุนในภาคอุตสาหกรรมของไทย ตอบสนองการเปลี่ยนแปลงของโลก ที่มุ่งเน้นการพัฒนาที่ยั่งยืน เศรษฐกิจหมุนเวียน และความเป็นกลางทางคาร์บอน