รฟม. มั่นใจออกแบบสถานีรถไฟฟ้าใต้ดิน MRT พร้อมรับมือปัญหาน้ำท่วมฉับพลันในกรุงเทพฯจัดเตรียมอุปกรณ์-เจ้าหน้าที่พร้อมตลอดเวลา ย้ำปลอดภัย ออกแบบให้สูงมากกว่าค่าระดับน้ำท่วมสูงสุดในรอบ 200 ปี
10 ส.ค.2565-รายงานข่าวจากการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) แจ้งว่า จากกรณีน้ำท่วมพื้นที่ทางใต้ของกรุงโซล ประเทศเกาหลีใต้ ในช่วงค่ำวันที่ 8 ส.ค.65 ซึ่งมีฝนตกหนักกว่า 141.5 มิลลิเมตร ถือเป็นการตกหนักสุดในรอบ 80 ปีนั้น ในการนี้ รฟม. ขอเรียนชี้แจงว่า โครงการรถไฟฟ้าภายใต้การกำกับดูแลของ รฟม. ที่ก่อสร้างในพื้นที่กรุงเทพมหานครนั้น โดยสภาพพื้นที่เป็นพื้นที่ราบลุ่ม แตกต่างจากพื้นที่ทางใต้ของกรุงโซล ที่มีลักษณะภูมิประเทศเป็นพื้นที่ลาดเชิงเขา จึงประสบปัญหาน้ำท่วมฉับพลัน อย่างไรก็ตาม รฟม.ได้คำนึงถึงการป้องกันปัญหาน้ำท่วมฉับพลันไว้ตั้งแต่การออกแบบ โดยมีรายละเอียด ดังนี้
ทางขึ้น – ลงสถานีรถไฟฟ้าใต้ดิน MRT ถูกออกแบบให้มีความสูงมากกว่าค่าระดับน้ำท่วมสูงสุดจากสถิติในรอบ 200 ปี นอกจากนี้ ยังจัดเตรียมอุปกรณ์ป้องกันน้ำท่วม โดยมีความสูงเพิ่มเติมอีก 1.00 เมตร (Flood Protection Board) ซึ่งจะสูงราว 2.50 เมตร จากค่าระดับถนนเฉลี่ยในกรุงเทพฯ ที่พร้อมติดตั้งได้ตลอดเวลา
เมื่อติดตั้งแผ่นป้องกันน้ำท่วมดังกล่าวแล้ว โอกาสที่น้ำจะรั่วเข้าสถานีมีน้อยมาก และ รฟม. ยังได้จัดเตรียมเครื่องสูบน้ำบริเวณทางขึ้น-ลง ของสถานีรถไฟฟ้าใต้ดิน MRT เพื่อรองรับเหตุการณ์ฉุกเฉินอีกขั้นหนึ่ง พร้อมทั้งได้จัดให้มีเจ้าหน้าที่ตรวจสอบอุโมงค์ สถานี และผนังสถานี ในช่วงน้ำหลากทุกวัน
ทั้งนี้จะเห็นได้จากเหตุการณ์น้ำท่วมใหญ่ในกรุงเทพฯ เมื่อปี 2554 ที่ รฟม. ได้ใช้ประโยชน์จากการออกแบบระบบป้องกันน้ำท่วมดังกล่าว ทำให้โครงการรถไฟฟ้าใต้ดิน MRT ไม่ได้รับผลกระทบ และยังสามารถให้บริการประชาชนได้ตามปกติ พร้อมทั้งยืนยันว่า การออกแบบโครงการรถไฟฟ้าภายใต้การกำกับการของ รฟม. เป็นการออกแบบที่คำนึงถึงความปลอดภัยในเหตุการณ์ฉุกเฉิน ซึ่งอ้างอิงตามมาตรฐานสากล และกฎหมายที่เกี่ยวข้องแล้ว
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
'นักวิชาการ' วิเคราะห์ปัญหาน้ำท่วมเกิดจากป่าไม้ลดลงจริงหรือ
ผศ.ดร.ไชยณรงค์ เศรษฐเชื้อ อาจารย์คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม โพสต์เฟซบุ๊กว่า หัวข้อ น้ำท่วมเกิดจากป่าไม้ลดลงจริงหรือ? มีเนื้อหาดังนี้
'ดุสิตโพล' ชี้คนไทยไม่เชื่อมั่น-ไม่พอใจ การทำงานรัฐบาลดูแลเรื่องน้ำท่วม
สวนดุสิตโพล มหาวิทยาลัยสวนดุสิต สำรวจความคิดเห็นประชาชนทั่วประเทศ เรื่อง “คนไทยกับสถานการณ์น้ำท่วม” ระหว่างวันที่ 18 - 20 กันยายน 2567 กลุ่มตัวอย่างจำนวน 1,207 คน สำรวจผ่านทางออนไลน์และภาคสนาม พบว่า กลุ่มตัวอย่างเคยประสบปัญหาน้ำท่วม ร้อยละ 68.77
'หลานมาร์ค' แนะทุกฝ่ายต้องร่วมมือแก้ปัญหาน้ำท่วม
'พริษฐ์' ชี้ทุกฝ่ายต้องร่วมมือกันแก้ปัญหาน้ำท่วม แนะรัฐบาล รักษาความปลอดภัยชีวิต-ทรัพย์สิน-เยียวยาปชช.ด่วน พร้อมเสนอแก้ปัญหาทั้งระบบ
ครม.รับทราบผลพิจารณาญัตติด่วน เรื่องขอให้สภาฯหาแนวทางแก้น้ำท่วมและมาตรการเยียวยา
นางรัดเกล้า อินทวงศ์ สุวรรณคีรี รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า ที่ประชุม ครม. มีมติรับทราบผลการพิจารณาศึกษาหาแนวทางการแก้ไขปัญหาน้ำท่วมและมาตรการเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบอย่างเร่งด่วน ตามที่สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (สทนช.)
นายกฯ เดินตลาดโต้รุ่งขอนแก่น สำรวจปัญหาปากท้อง ย้ำเศรษฐกิจดีขึ้นแน่ ขอมั่นใจเงินดิจิทัล1หมื่นบาท
นายกฯเศรษฐา บินด่วนก่อนกำหนดลงพื้นที่ขอนแก่น หลังรับรายงานกาฬสินธุ์ ฝนตกทำน้ำท่วมหนักจนบ้านเรือนปชช.เสียหาย ดอดเดินตลาดโต้รุ่งกลางเมืองขอนแก่น สำรวจปัญหาปากท้อง ย้ำเศรษฐกิจดีขึ้นแน่นอน ขอมั่นใจเงิน Digital wallet 10,000 บาท ได้แน่ ขณะที่ปชช.แห่ต้อนรับ-ถ่ายรูป
สทนช.เดินหน้าแผนหลักบริหารจัดการน้ำในพื้นที่จังหวัดบึงกาฬ เร่งออกแบบวางโครงการพัฒนาแหล่งน้ำแก้ไขปัญหาน้ำท่วม น้ำแล้งซ้ำซาก พร้อมเตรียมแผนรับมือแอลนิโญยาวถึงปี 68
นายชยันต์ เมืองสง รองเลขาธิการสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (สทนช.) เปิดเผยว่า จังหวัดบึงกาฬมีปริมาณฝนตกในพื้นที่เฉลี่ย 1,557 มิลลิเมตรต่อปี ประกอบกับสภาพพื้นที่เป็นภูเขาที่มีความสูงชัน โดยบริเวณเทือกเขาต่างๆ