เกษตรกรโอดรัฐปล่อยนำเข้ากุ้งเอกวาดอร์และอินเดีย ฉุดราคาตกต่ำ

กรมประมงเปิดนำเข้ากุ้งจากเอกวาดอร์และอินเดียกว่า 10,000 ตัน ทั้งที่ยืนกรานปกป้องผลประโยชน์ประเทศมานานกว่าปี หวั่นทำลายแรงจูงใจเกษตรกรเดินหน้าพัฒนาต่อเนื่อง กระทบความสามารถในการแข่งขันและเศรษฐกิจไทยแน่นอน

5 ส.ค. 2565 - นายอักษร ขจรกาญจนกุล ประธานชมรมกุ้งตรังพัฒนา กล่าวว่า เกษตรกรประหลาดใจกับการตัดสินใจของกรมประมงในครั้งนี้มากที่อนุมัตินำเข้ากุ้งจากเอกวาดอร์และอินเดียแบบไม่ทันตั้งตัว ทั้งที่ผ่าน กรมฯ ปกป้องเกษตรกรมาตลอด เนื่องจากกุ้งที่นำเข้าจะทำให้ราคากุ้งในประเทศตกต่ำ ไม่มีเสถียรภาพ มีความเสี่ยงเรื่องโรคที่ติดมากับกุ้ง รวมถึงเกิดปัญหาคุณภาพความปลอดภัย การปนเปื้อนของสารเคมีต้องห้ามและยาปฏิชีวนะ จะสร้างความเสียหายกับผู้เลี้ยงและห่วงโซ่การผลิต  

"เกษตรกรขอเรียกร้องให้รัฐบาลและกระทรวงเกษตรฯ ทบทวนนโยบายการนำเข้ากุ้งจากทั้งสองประเทศนี้อีกครั้ง โดยคำนึงถึงผลประโยชน์ของประเทศและอนาคตของเกษตรกรเลี้ยงกุ้งไทย ที่มุ่งมั่นพัฒนาการเลี้ยงจนเป็นที่่ยอมรับในระดับโลก ก่อนที่การนำเข้าจะเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำลายห่วงโซ่การผลิตตลอดไป" นายอักษร กล่าวย้ำ

รัฐบาลไทยควรปกป้องเกษตรกรในประเทศมากกว่าปกป้องเกษตรกรของทั้ง 2 ประเทศ เพราะที่ผ่านมาทั้ง 2 ประเทศไม่เคยช่วยเหลือประเทศไทย ในทางกลับกันหากสองประเทศประสบปัญหากรณีเดียวกับประเทศไทยก็ต้องยกเรื่องการดูแลเกษตรกรเป็นข้ออ้างในการห้ามนำเข้ากุ้งจากไทย

นายอักษร กล่าวว่า รัฐบาลมีนโยบายส่งเสริมเกษตรกรเลี้ยงกุ้งมาโดยตลอด ทั้งมาตรการส่งเสริมการเลี้ยงกุ้งแบบพัฒนาเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการเลี้ยง เพื่อเป้าหมายผลิตกุ้ง โดยเฉพาะด้านการผลิตที่มีคุณภาพได้มาตรฐาน GAP (Good Aquaculture Practice) และมาตรฐานสากล รวมถึงการเจาะตลาดใหม่เพื่อเพิ่มช่องทางการส่งออก นอกจากนี้ การนำกุ้งจากต่างประเทศมาแปรรูปบรรจุใหม่ และนำไปส่งออกขายต่างประเทศในนามประเทศไทย อาจกระทบภาพลักษณ์กุ้งคุณภาพดีของไทยที่สร้างชื่อเสียงในระดับโลกมายาวนาน

“เป็นเรื่องที่ช็อกเกษตรกรมากที่รัฐบาลอนุญาตให้นำเข้ากุ้ง ทั้งที่ผ่านมากระทรวงเกษตรฯ ระงับการนำเข้ามาโดยตลอด ทำให้เกษตรกรมุ่งมั่นพัฒนาระบบการเลี้ยงเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับผลผลิต โดยมีราคาเป็นแรงจูงใจในการเดินหน้าอย่างต่อเนื่อง หากมีการนำเข้ากุ้ง จะทำให้ราคาในประเทศตกต่ำ ทำลายภาคการผลิตของเกษตรกรทั้งระยะสั้นและระยะยาว” นายอักษร กล่าว

สำหรับคาดการณ์ผลผลิตกุ้งของไทยปี 2565 จะอยู่ที่ 300,000 ตัน เพิ่มขึ้นจาก 280,000 ตัน ในปี 2564 เนื่องจากปัญหาโรคระบาดกุ้ง เป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้ผลผลิตเพิ่มขึ้นไม่มาก./

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

'ปลาหมอคางดำ'ต้องเป็นศูนย์ ก่อนนิเวศย่อยยับ

จากสถานการณ์ปลาหมอคางดำที่กำลังระบาดไปในแหล่งน้ำธรรมชาติและพื้นที่เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในประเทศไทย   ซึ่งปลาหมอคางดำมีต้นกำเนิดอยู่ในทวีปแอฟริกา ประเทศไทยเองมีบริษัทเอกชนนำเข้ามาเมื่อปี 2553  ซึ่งวงจรปลาหมอคางดำขยายพันธุ์รวดเร็ว ทุกๆ 22 วัน

ถึงเวลานักล่า! ปล่อยปลากะพง 3 หมื่นตัว ปราบลูกปลาหมอคางดำ ตัดวงจรขยายพันธุ์

นายเผดิม รอดอินทร์ ประมงจังหวัดสมุทรสาคร เปิดเผยว่าสำหรับมาตรการกำจัดปลาหมอคางดำด้วยปลากระพงนั้น จังหวัดสมุทรสาครได้กำจัดไปแล้วประมาณ 600,000 กิโลกรัมแล้วเพราะฉะนั้นในส่วนของปลาตัวโต

'ภูมิธรรม' ยันยังไม่เลิก 'ไร่ละพัน' แจง 'ปุ๋ยคนละครึ่ง' หวังช่วยชาวนาอีกทาง

'ภูมิธรรม' แจงไม่ได้ยกเลิกไร่ละพัน พร้อมดึงกลับมาใช้ถ้าราคาข้าวตก ย้ำคนละส่วนกับปุ๋ยคนละครึ่ง ชี้ สส. รุมค้าน เหตุไม่เข้าใจถ่องแท้ไปฟังเกษตรกรมา

สมาคมประมงปัตตานีจี้นายกฯ เร่งรัดซื้อเรือคืน หลังผ่านมา 5 ปี กลับเงียบหาย

นายกสมาคมการประมงปัตตานียื่นหนังสือถึง นายกฯ ผ่านรองผู้ว่าฯ เร่งรัดผลักดันให้รัฐบาลดำเนินการซื้อเรือคืน หลังตกลงกับกรมประมง ผ่านมา 5 ปี กลับเงียบหาย