แบงก์ชาติไขข้อสงสัยทำไมเงินทุนสำรองฯ ของไทยจึงลดลงมากในช่วงนี้

5 ส.ค. 2565 – ธนาคารแห่งประเทศไทย ได้โพสต์แจ้งข้อมูล ส่อง 3 ปัจจัยที่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงของ #เงินทุนสำรองระหว่างประเทศ แล้วจะส่งผลต่อ #เสถียรภาพการเงินของไทย หรือไม่❓ อย่างไร❓ มาไขข้อสงสัยด้วยกันครับ

โดยในโพสต์ได้อ้างถึง การให้ข้อมูลของนาย เศรษฐพุฒิ สุทธิวาทนฤพุฒิ ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย ระบุในงาน Meet the Press | 22 ก.ค. 65 ว่า

“เงินทุนสำรองฯ ของไทยที่ลดลงมากในปัจจุบัน หลัก ๆ เกิดจากการตีมูลค่าสินทรัพย์ (valuation) เป็นสกุลเงินดอลลาร์สหรัฐฯ เพราะเงินดอลลาร์ที่แข็งค่าขึ้นมาก ทำให้สินทรัพย์ในรูปสกุลเงินอื่น ๆ มีมูลค่าลดลงเมื่อตีกลับเป็นรูปดอลลาร์ และขอย้ำว่าเสถียรภาพด้านต่างประเทศของไทยยังแข็งแกร่งและต่างจากช่วงปี 40 โดยสิ้นเชิง”

โดย 3 ปัจจัยที่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงของเงินทุนสำรองระหว่างประเทศ

1.การตีมูลค่าสินทรัพย์ เป็นดอลลาร์สหรัฐฯ ปัจจัยหลักในปัจจุบัน
-ปกติธนาคารกลางไม่ได้ถือเงินทุนสำรองฯ เฉพาะในรูปสกุลเงินตอลลาร์สหรัฐฯแต่ยังถือรูปสกุลเงินอื่น ๆ ด้วย เช่น ยูโร ปอนด์ และ เยน
-ตั้งแต่ต้นปีที่เงินดอลลาร์สหรัฐฯ แข็งค่า การตีมูลค่าสินทรัพย์สกุลอื่นๆ จึงมีมูลค่าลดลงเมื่อแปลงเป็นรูปสกุลเงินดอลลาร์สหรัฐฯ

2.การดำเนินนโยบายเพื่อดูแลค่าเงิน
ไทยดำเนินนโยบายค่าเงินลอยตัวแบบมีการจัดการ (managed float)
-เน้นดูแลค่าเงินไม่ให้ผันผวนสูงเกินไป จนกระทบการปรับตัวของเศรษฐกิจของแบงก์ชาติ
-มีความจำเป็นในการเข้าดูแลน้อยกว่าระบบค่าเงินแบบคงที่ (เช่น ผูกค่าเงินบาทไว้กับดอลลาร์สหรัฐฯ)

3.ผลตอบแทนจากการนำเงินทุนสำรองฯ ไปลงทุน
-ผลตอบแทนเป็นบวก (กำไร) เงินทุนสำรองฯ เพิ่มขึ้น
-ผลตอบแทนติดลบ (ขาดทุน) เงินทุนสำรองฯ ลดลง

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

โฆษกรัฐบาล ขอบคุณ 'ผู้ว่าแบงก์ชาติ' ยอมรับเศรษฐกิจไทยฟื้นตัวช้า

นายชัย วัชรงค์ โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า ต่อการให้สัมภาษณ์ของนายเศรษฐพุฒิ สุทธิวาทนฤพุฒิ ผู้ว่าธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ให้สัมภาษณ์แก่สื่อมวลชนนั้น รัฐบาลต้องขอบคุณมากที่ ผู้ว่าฯธปท.

ค้าชายแดน/ข้ามพรมแดนภาคเหนือของไทย : ความท้าทายและการปรับตัวที่หลีกเลี่ยงไม่ได้

ปลายเดือนที่ผ่านมาได้ไปร่วมงานเสวนาจัดโดย ธนาคารแห่งประเทศไทย สำนักงานภาคเหนือ ร่วมกับ มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง ที่จังหวัดเชียงราย หัวข้อ “10 ปี การค้าชายแดนกับความสำคัญต่อพัฒนาการเศรษฐกิจภูมิภาค : อดีตที่ผ่านไปกับความท้าทายใหม่ที่กำลังจะมา” จึงขอนำความเห็นที่ได้นำเสนอเพื่อเป็นประโยชน์กับผู้เกี่ยวข้องต่อไป

จี้รัฐบาลไทย เอาอย่าง สิงคโปร์ ปฏิรูปกม.ต่อต้านมิจฉาชีพทางโทรศัพท์ ทางออนไลน์ และไซเบอร์

นายกมล กมลตระกูล นักวิชาการอิสระ เขียนบทความ เรื่อง สิงคโปร์ ปฏิรูปกม.ต่อต้านมิจฉาชีพทางโทรศัพท์ ทางออนไลน์ และไซเบอร์ (Cybersecurity Act) และ (Computer Misuse Act)