รัฐบาลตั้งเป้าปี 73 มี 1.3 พันสถานีชาร์จเปิดแล็บทดสอบ EV Charger กำลังสูง ส่งเสริมยานยนต์ไฟฟ้า

รัฐบาล ตั้งเป้าปี 73 มี1.3 พันสถานีชาร์จ เปิดแล็บทดสอบ EV Charger กำลังสูง รองรับธุรกิจหัวชาร์จไฟฟ้า ต่อยอดนโยบายรัฐบาลส่งเสริมยานยนต์ไฟฟ้า

5ส.ค.2565- นางสาวรัชดา ธนาดิเรก รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า ตามนโยบายรัฐบาลที่ต้องการผลักดันให้ประเทศไทยเป็นฐานการผลิตรถยนต์ไฟฟ้าที่สำคัญแห่งหนึ่งของโลก จึงได้มีการออกมาตรการจูงใจเพื่อให้มีการซื้อรถยนต์ไฟฟ้ามากขึ้น รวมถึงหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้ระดมสรรพกำลังส่งเสริมการผลิตที่เกี่ยวข้องกับยานยนต์ไฟฟ้า ทั้งการผลิตแบตเตอรี่ การประกอบยานยนต์ไฟฟ้าในประเทศ และการนำยานยนต์ไฟฟ้าไปใช้ขนส่งในระบบสาธารณะ ซึ่งขณะนี้ การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) ร่วมกับ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) พร้อมเปิดตัวศูนย์ทดสอบอุปกรณ์อัดประจุรถยนต์ไฟฟ้ากำลังสูง 150 กิโลวัตต์ ตามมาตรฐาน IEC 61851 ณ ศูนย์ทดสอบผลิตภัณฑ์ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ (PTEC) สำหรับยานยนต์ไฟฟ้า อุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย จ.ปทุมธานี เริ่มให้บริการทดสอบ 15 ก.ค.2565 เป็นต้นไป

การร่วมมือครั้งนี้นับเป็นอีกก้าวสำคัญของการผลักดันระบบนิเวศน์ของการผลิตยานยนต์ไฟฟ้าในประเทศไทย โดยมีเป้าหมายคือ การสร้างบรรทัดฐานด้านความปลอดภัยของระบบชาร์จสำหรับยานยนต์ไฟฟ้าโดยสารสาธารณะ ทั้งบนถนนและแม่น้ำให้ได้ระดับมาตรฐานสากล ซึ่งสถานีชาร์จ นอกจากต้องมีทำเลที่ตั้งที่เหมาะสม ปลอดภัย ครอบคลุมพื้นที่การเดินทางแล้ว สิ่งสำคัญคือ “มาตรฐาน” ที่ต้องสร้างความมั่นใจให้กับผู้ใช้บริการ ทั้งยานยนต์ไฟฟ้าทั่วไป และยานยนต์ไฟฟ้าดัดแปลง โดยศูนย์ทดสอบฯจะเปิดให้ผู้ผลิตหัวชาร์จไฟฟ้านำผลิตภัณฑ์มาทดสอบเพื่อให้ได้มาตรฐาน ครอบคลุมการทดสอบหัวชาร์จไฟฟ้าแบบกระแสตรงขนาดใหญ่ 150 กิโลวัตต์ สำหรับการใช้งานของรถโดยสารสาธารณะไฟฟ้า หัวรถลากไฟฟ้า และเรือเฟอร์รี เพื่อลดค่าใช้จ่ายของผู้ประกอบการในการส่งหัวชาร์จไปรับรองมาตรฐานที่ต่างประเทศ ลดต้นทุนในการผลิต ลดระยะเวลาในการพัฒนา ส่งผลให้ราคาของหัวชาร์จไฟฟ้าไม่สูงมาก สามารถแข่งขันในตลาดได้

นางสาวรัชดา กล่าวต่อว่า นายกรัฐมนตรีชื่นชมความร่วมมือของสองหน่วยงานดังกล่าว ที่ได้ขับเคลื่อนงานสำคัญและเป็นปัจจัยสู่ความสำเร็จตามเป้าหมายส่งเสริมการใช้ยานยนต์ไฟฟ้าและเป็นฐานการผลิตรถยนต์ไฟฟ้าที่สำคัญแห่งหนึ่งของโลก อนึ่ง ศูนย์ทดสอบฯแห่งนี้ จะนำไปสู่การพัฒนาองค์ความรู้ การสร้างนวัตกรรมเครื่องอัดประจุไฟฟ้า ช่วยส่งเสริมอุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้าในประเทศให้เข้มแข็งและยั่งยืนต่อไปอีกด้วย ขณะเดียว รัฐบาลยังได้ส่งเสริมการลงทุนสถานีอัดประจุไฟฟ้า ซึ่งจะเป็นโครงสร้างพื้นฐานสำคัญที่จะสร้างความเชื่อมั่นให้กับผู้ซื้อมากขึ้น โดยกระทรวงพลังงานได้ศึกษาจำนวนสถานีอัดประจุไฟฟ้าที่เหมาะสมเพื่อรองรับการขยายตัวของยานยนต์ไฟฟ้า กำหนดเป้าหมายให้ปี 2573 ควรมีสถานี 1,394 แห่ง และมีเครื่องอัดประจุไฟรวม 13,251 เครื่อง ปัจจุบันมี 944 แห่งทั่วประเทศ (ข้อมูล ณ วันที่ 4 มี.ค.2565)

 

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

'โรงไฟฟ้าพลังน้ำแบบสูบกลับ' แบตเตอรี่ยักษ์กักเก็บพลังงานสะอาด

ความท้าทายในการก้าวข้ามขีดจำกัดของการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนที่กำลังมีสัดส่วนเพิ่มมากขึ้นในระบบไฟฟ้าเพื่อเดินหน้าสู่เป้าหมายความเป็นกลางทางคาร์บอนของประเทศ คือ การบริหารจัดการความผันผวนของพลังงานหมุนเวียนที่สามารถผลิตไฟฟ้าได้เพียงบางช่วงเวลา การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย

'โรงไฟฟ้า SMR' ตัวเปลี่ยนเกมพลังงานสะอาด

ภาวะโลกร้อนที่ทวีความรุนแรงขึ้นอย่างต่อเนื่องและแรงกดดันจากมาตรการทางการค้าถือเป็นปัจจัยสำคัญที่เร่งให้ทั่วโลกพยายามดำเนินมาตรการต่าง ๆ เพื่อลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ เดินหน้าเปลี่ยนผ่านสู่พลังงานสะอาดอย่างเป็นรูปธรรมมากขึ้น

“สวนผักทางไฟ” พลิกพื้นที่แห้งแล้งใต้แนวสายส่งไฟฟ้าสู่แหล่งอาหารบ้านโนนยาง

“เคล” ราชินีแห่งผักใบเขียว หรือคะน้าใบหยิก ที่กำลังเตรียมตัดขายในอีกไม่กี่สัปดาห์ข้างหน้า เป็นภาพที่เกษตรกรบ้านโนนยาง อ.เสลภูมิ จ.ร้อยเอ็ด

‘พิชัย’ เร่งเครื่องเจรจาเอฟทีเอ อาเซียน-แคนาดา

‘พิชัย’ จับมือทูตแคนาดา เร่งเครื่องเจรจาเอฟทีเอ อาเซียน-แคนาดา พร้อมนัดถกรัฐมนตรีการค้าแคนาดาช่วงประชุมเอเปคที่เปรู ขยายโอกาสการค้าในตลาดอเมริกาเหนือ

นายกฯ นั่งหัวโต๊ะ ถกสภานโยบายอุดมศึกษาฯ หวังพัฒนาองค์ความรู้ขั้นสูง

น.ส.แพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี เป็นประธานการประชุมสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ ครั้งที่ 3/2567 โดยมี น.ส.ศุภมาส อิศรภักดี รมว.การอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.)