ทรู–ดีแทคโต้ทุกประเด็นเคลียร์ทุกข้อกล่าวหายันศึกษากรณีการรวมธุรกิจมาอย่างรอบด้านและดำเนินการถูกต้องตามกฎหมายที่เกี่ยวข้องทุกประการสวนเอไอเอสอย่ายกประเด็นควบรวม 3BB มาเทียบเพราะเป็นคนละเรื่อง
2 สิงหาคม 2565 – การรวมธุรกิจในกิจการโทรคมนาคมในไทยเกิดขึ้นมาอย่างต่อเนื่องโดยตั้งแต่มีประกาศกสทช. ปี 2561 มีผลบังคับใช้ในปี 2561 มีการรวมธุรกิจเกิดขึ้นมาแล้วกว่า 9 กรณีซึ่งกสทช. ก็ได้ดำเนินการตามประกาศเรื่องการรวมธุรกิจฯ ปี 2561 มาโดยตลอด โดยมีมติรับทราบการรายงานการรวมธุรกิจในทุกกรณีที่ผ่านมาเท่านั้น และไม่เคยมีการพิจารณาอนุมัติหรือปฏิเสธ และอาศัยอำนาจตามประกาศ กสทช. ปี 2549 มาประกอบการพิจารณาเลย ทั้ง 9 กรณี ซึ่งเชื่อว่า กสทช. จะมีความเป็นธรรมไม่เลือกปฏิบัติเป็นการเฉพาะกับกรณีการพิจารณารวมธุรกิจของทรูและดีแทคในครั้งนี้
การอ้างถึงกฎระเบียบในอุตสาหกรรมอื่น (ทั้งอุตสาหกรรมพลังงานและอุตสาหกรรมการเงินธนาคาร) และนำมาใช้กดดันการดำเนินงานในต่างอุตสาหกรรมนั้นจะทำให้เกิดความสับสนและไม่ถูกต้องเพราะแต่ละอุตสาหกรรมมีหน่วยงานกำกับดูแลการควบรวมและกฎระเบียบที่แตกต่างกัน จึงควรยึดกฎระเบียบและแนวทางตามอุตสาหกรรมโทรคมนาคมที่เอกชนทุกรายในอุตสาหกรรมฯ ยึดถือในการดำเนินธุรกิจ โดยในกรณีของอุตสาหกรรมโทรคมนาคมนั้น กสทช. มีอำนาจในการออกมาตรการตามที่กฎหมายกำหนดให้อำนาจไว้ ซึ่งเป็นไปตามประกาศ กสทช. ปี 2561 ที่ออกมาเพื่อกรณีของการควบรวมในอุตสาหกรรมโทรคมนาคมโดยเฉพาะ ซึ่งทรูและดีแทคได้ปฏิบัติตามขั้นตอนในการรวมธุรกิจในครั้งนี้อย่างครบถ้วนในทุกกฎหมายที่เกี่ยวข้อง ทั้งด้านการกำกับดูแลโดย กสทช. และ พ.ร.บ.บริษัทมหาชนจำกัด
การอ้างถึงกรณีเอไอเอสเข้าซื้อกิจการ 3BB (Acquisition) เป็นกรณีที่แตกต่างกับการควบรวมระหว่างทรูและดีแทค (Amalgamation) อย่างสิ้นเชิงไม่สามารถนำมาเปรียบเทียบกันได้เพราะ กฎหมายและระเบียบของกสทช. ได้เขียนไว้ในประกาศต่างฉบับกัน กล่าวคือ ประกาศ กสทช. ปี 2549 เรื่อง การเข้าซื้อกิจการ ซื้อขายหุ้นและทรัพย์สินที่มีนัยยะสำคัญจากกันและกัน ซึ่งกรณีที่ เอไอเอส เข้าซื้อกิจการของ 3BB เป็นไปตามประกาศกสทช. ปี 2549 ที่มีการระบุถึง กรณีผู้รับใบอนุญาตเข้าซื้อหุ้นและทรัพย์สินของผู้รับใบอนุญาตอีกราย จำเป็นต้องขออนุญาตจาก กสทช.
ส่วนการรวมธุรกิจระหว่างทรูและดีแทคนั้นเป็นการควบบริษัท (Amalgamation) จึงต้องพิจารณาตามประกาศ กสทช. ปี 2561 เรื่องการควบรวม ซึ่งได้ออกมายกเลิกประกาศ กสทช. ปี 2553 ดังนั้น การนำประกาศ กสทช. ปี 2553 ขึ้นมาอ้างอิง จะทำให้เกิดความสับสน เพราะเป็นประกาศที่ได้มีการยกเลิกไปแล้ว
กรณีที่ นายสมชัย ผู้บริหาร AIS ได้กล่าวในสื่อว่า ผู้ถือหุ้นต่างชาติของทั้งสองบริษัทมีความเข้าใจระเบียบและกฎหมายไทยเพียงพอหรือไม่นั้น ขอยืนยันว่า ทรู-ดีแทคตลอดจนผู้ถือหุ้นของสองบริษัทให้ความสำคัญต่อการดำเนินธุรกิจโดยยึดมั่นในหลักบรรษัทภิบาลอย่างเคร่งครัดมาโดยตลอดนอกจากนี้เรายังให้เกียรติคู่แข่งคู่ค้าและยึดมั่นหลักการแข่งขันอย่างเป็นธรรมและมีธรรมาภิบาลและเคารพในกฎระเบียบและกฎหมายของทุกประเทศที่เข้าไปดำเนินกิจการเป็นอย่างดี ไม่เคยท้าทายกฎหมายเหล่านั้น ขอยืนยันว่า การควบรวมในครั้งนี้ได้มีการศึกษาทุกกฎระเบียบของไทยอย่างรอบคอบและดำเนินการตามกฎหมายของไทยอย่างถูกต้องทุกขั้นตอน บริษัท ลิ้งค์เลเทอร์ส (ประเทศไทย) จำกัด ที่ปรึกษากฎหมายของบริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) และบริษัท อัลเลน แอนด์ โอเวอรี่ (ประเทศไทย) จำกัด ที่ปรึกษากฎหมายของบริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) ได้ให้ความเห็นทางกฎหมายเกี่ยวกับการรวมธุรกิจระหว่างทรูและดีแทคที่ได้ให้กับบริษัททั้งสองในครั้งนี้ว่า
“เมื่อพิจารณาจากแนวปฏิบัติของ กสทช. ในการพิจารณาการควบรวมกิจการหรือการรวมธุรกิจที่ผ่านมา จะพบว่าภายหลังจากที่ประกาศเรื่องการรวมธุรกิจฯ ปี 2561 มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 20 มกราคม 2561 มีผู้ประกอบกิจการโทรคมนาคมไม่น้อยกว่า 9 รายดำเนินการแจ้งการรวมธุรกิจภายใต้ประกาศดังกล่าว ซึ่ง กสทช. ก็มีมติเพียง “รับทราบ” การแจ้งการรวมธุรกิจเหล่านั้นเท่านั้น โดยมิได้ออกคำสั่ง “อนุญาต” และมิได้อาศัยอำนาจตามประกาศเรื่องมาตรการป้องกันการผูกขาดฯ ปี 2549 มาประกอบการพิจารณาแต่อย่างใด”
“ถึงแม้ กสทช. จะไม่มีอำนาจในการอนุญาตหรือไม่อนุญาต แต่กสทช. มีอำนาจในการกำกับดูแลตามข้อ 12 แห่งประกาศเรื่องการรวมธุรกิจฯ ปี 2561 ในการกำหนดเงื่อนไขหรือนำมาตรการเฉพาะสำหรับผู้มีอำนาจเหนือตลาดอย่างมีนัยสำคัญในตลาดโทรคมนาคมที่เกี่ยวข้องมาบังคับใช้เพื่อป้องกันความเสียหายต่อประโยชน์สาธารณะได้”
ทรู-ดีแทค ขอยืนยันว่า การควบรวมในครั้งนี้ ทั้งสองบริษัทได้ดำเนินการทุกอย่างตามขั้นตอน ทั้งผ่านการพิจารณาอนุมัติจากคณะกรรมการของทั้งสองบริษัทให้ดำเนินการ และได้รับอนุมัติจากผู้ถือหุ้นของทั้งสองบริษัท รวมทั้งผู้บริหารก็ได้ดำเนินการตามกระบวนการเรื่องนี้อย่างครบถ้วนแล้ว และเชื่อมั่นว่า เราจะขับเคลื่อนบริษัทเทคโนโลยีใหม่นี้ เพื่อสร้างประโยชน์และคุณค่าเพิ่มให้แก่ผู้บริโภคประชาชนชาวไทย ภาคธุรกิจ สังคมและประเทศไทยได้อย่างยั่งยืน
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
AIS ประกาศเคาะดอกเบี้ยหุ้นกู้เพื่อความยั่งยืนครั้งแรกของอุตสาหกรรมโทรคมนาคมไทย อายุ 4 ปี ที่ 2.74% และอายุ 7 ปี ที่ 2.92% เสนอขายต่อผู้ลงทุนทั่วไป ระหว่างวันที่ 8 และ 11-12 พ.ย. นี้
บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) (“บริษัท” หรือ “AIS”) ผู้ให้บริการโทรคมนาคม และพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานดิจิทัลชั้นนำของประเทศไทยทั้งโครงข่ายมือถือและอินเทอร์เน็ตความเร็วสูง
AIS รายงานผลการดำเนินงานไตรมาส 3/2567
AIS รายงานผลประกอบการไตรมาส 3 ปี 2567 ทำรายได้รวมอยู่ที่ 52,209 ล้านบาท มีกำไรสุทธิ 8,788 ล้านบาท ในขณะที่กำไร EBITDA หรือกำไรจากการดำเนินงานก่อนหักดอกเบี้ย
AIS eSports ปิดฉากทัวร์นาเมนต์อีสปอร์ต ระดับมัธยมศึกษาที่ใหญ่ที่สุดในไทย ปีที่ 4 รร.วัฒโนทัยพายัพ คว้าแชมป์ศึกตีป้อม “AIS eSports S Series Thailand Championship 2024 By Dutch Mill”
AIS ตอกย้ำภารกิจขับเคลื่อนการเติบโตของอุตสาหกรรมอีสปอร์ตในประเทศไทย ด้วยการเปิดพื้นที่ให้เยาวชนได้โชว์ศักยภาพด้านอีสปอร์ต ผ่านเวทีการแข่งขันกีฬาอีสปอร์ตเกม RoV
AIS PLAY เปิดลิสต์ 5 คอนเทนต์ชวนขนหัวลุก ต้อนรับฮาโลวีน มัดรวมความสนุกสุดระทึก ให้ฮาโลวีนนี้หลอนกว่าที่เคย
ปลุกความความสยองต้อนรับเทศกาลวันปล่อยผี AIS PLAY ชวนเปิดประสบการณ์สุดระทึกขวัญ เอาใจคอหนังผี ด้วยการยกทัพสารพัดคอนเทนต์หลากหลายรูปแบบ
AIS เอาใจนักท่องเที่ยวสายมู ครั้งแรกกับ “ซิมโรมมิ่งเบอร์มงคล SIM2Fly 5G Max” ชูบริการ 5G โรมมิ่งที่ครอบคลุมมากสุด และเบอร์มงคลที่ใช่สำหรับคุณ
AIS ตอกย้ำความเป็นที่ 1 ตัวจริง ด้านการให้บริการข้ามแดนอัตโนมัติหรือโรมมิ่งที่ครอบคลุมพื้นที่การใช้งาน ด้วยโครงข่ายสัญญาณที่ดีที่สุดและครอบคลุมประเทศต่างๆ มากเป็นอันดับ 1 ของโลก