กฟน.ปักหมุดย้ายสายไฟฟ้าลงดินในกทม. เสร็จปี 70

ภาพจากเฟซบุ๊ค การไฟฟ้านครหลวง MEA

กฟน.ปักธงย้ายสายไฟฟ้าลงดิน 236 กม.ให้เสร็จภายในปี70 ลุยจัดระเบียบสายสื่อสาร 1,500 กม.เสร็จภายใน3ปี พร้อมติดตั้ง หัวชาร์จ อีวี เพิ่ม เป้าหมาย 500จุดใน 5ปี

2 ก.ค. 2565 – นายวิลาศ เฉลยสัตย์ ผู้ว่าการการไฟฟ้านครหลวง (กฟน)เปิดเผยในโอกาสครบรอบ 64 ปี วันคล้ายวันสถาปนาการไฟฟ้านครหลวง ว่า กฟน.ได้เร่งดำเนินการเปลี่ยนระบบสายไฟฟ้าอากาศเป็นสายไฟฟ้าใต้ดิน ซึ้งยังคงดำเนินการอย่างต่อเนื่องโดยมีโครงการรวมระยะทางทั้งสิ้นกว่า 236 กิโลเมตร(กม.) มีกำหนดแล้วเสร็จภายในปี 2570 ปัจจุบันดำเนินการแล้วเสร็จรวม 62 กม. ซึ่งมีต้นทุนเฉลี่ยกิโลเมตรละ 300-400 ล้านบาท โดยจะใช้เงินจากงบบริหารจัดการของ กฟน.เองโดยจะไม่มีการผลักภาระไปยังค่าใช้ไฟของประชาชนแต่อย่างใด

“การดำเนินการไม่ใช่แค่เอาสายไฟลงใต้ดินอย่างเดียว ยังต้องมีอุปกรณ์ต่างๆจะต้องทำมาเพื่อสายใต้ดินเท่านั้น สายเคเบิ้ล หรือ หม้อแปลงก็ต้องเป็นเฉพาะสำหรับใต้ดิน ค่าใช้จ่ายจะอยู่ที่ 300-400 ล้านบาท เมื่อเทียบกับสายบนอากาศจะอยู่ที่ 30 ล้านบาท นอกจากนี้ยังมีโครงการการจัดสายสื่อสารที่นำสายเข้าไปในสล็อตแบ่งเป็นกลุ่มแยกเป็นบริษัท โดยมีเป้าหมายในการดำเนินการ 1,500 กม.ภายในระยะเวลา ตั้งแต่ปี65-67 ซึ้งจะดำเนินการปีละ 500 กม.ขณะนี้ได้ทำรวมกับ กสทช”นายวิลาศ กล่าว

นายวิลาศ กล่าวว่า ที่ผ่านมาได้ดำเนินการตามแผนปรับปรุงและขยายระบบจำหน่ายพลังไฟฟ้าให้เหมาะสมกับความต้องการใช้ไฟฟ้าที่เพิ่มขึ้น สามารถให้บริการครอบคลุมทุกพื้นที่ โดยปัจจุบันดำเนินโครงการ ที่สำคัญ เช่นโครงการ “Smart metro Grid” พื้นที่นำร่อง 9 ตารางกิโลเมตร บริเวณถนนพระราม 4 พญาไท เพชรบุรีและรัชดาภิเษก มีการติดตั้ง smart meter จำนวน 33,2650ชุด ทำให้สามารถเชื่อมโยงการบริหารจัดการด้านต่างๆอย่างมีประสิทธิภาพทั้งการตรวจสอบการใช้ไฟฟ้าผ่านระบบออนไลน์ การประมวลผลวิเคราะห์เพื่อวางแผนขยายหรือปรับปรุงโครงข่ายไฟฟ้า และสามารถวิเคราะห์บริเวณที่เกิดเหตุไฟฟ้าขัดข้องเพื่อให้เจ้าหน้าที่แก้ไขได้อย่างตรงจุดและรวดเร็ว

นอกจากนี้ได้มีการส่งเสริมการใช้ยานยนต์ไฟฟ้า(อีวี) เป็นอีกนโยบายสำคัญที่ กฟน.เน้นให้เกิดการใช้พลังงานที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมพร้อมตอบสนองแผนงานด้านพลังงานในการส่งเสริมการใช้การใช้ยานยนต์ไฟฟ้าของไทย โดยปี 2565 เป็นเวลาครบรอบ 10 ปีที่ กฟน. ขับเคลื่อนเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องกับ อีวี โดยได้ศึกษาวิจัยพัฒนาระบบสถานีอาจประจุไฟฟ้าพร้อมจัดทำ MEA EV Application สำหรับการชาร์จและการเข้าถึงข้อมูลการใช้งาน และติดตั้งสถานีอัดประจุไฟฟ้า ภายโครงการ “มหานครสดใส ชาร์จไฟกับ กฟน.”ไปแล้ว 100หัวชาร์จ และมีแผนที่จะติดตั้งเพิ่มขึ้นปีละ100 หัวชาร์จ รวมภายใน 5 ปีมีเป้าหมาย เพิ่มหัวชาร์จประจุไฟฟ้าเป็น 500 หัวชาร์จ

“ กฟน. มีแผนพัฒนาระบบบริการทั้งหมดให้เป็น fully digital service ภายในปี 2568 โดยมีโครงการเพิ่มประสิทธิภาพการให้บริการผ่านระบบ e-service ในทุกช่องทางซึ่งรวมถึงการแจ้งเตือนไฟฟ้าดับผ่านapplication ให้ผู้ได้รับผล กระทบรับรู้ในรูปแบบรายบุคคล สอบถามผ่าน call center1130 ถึงเตรียมพร้อมฟังก์ชันรองรับ smart meter ที่สามารถเข้าถึงข้อมูลและการบริหารจัดการไฟฟ้าได้ในรูปแบบ real time “นายวิลาศ กล่าว

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ครม.เคาะงบ 3,191 ล้านบาท ลดค่าไฟ 4 เดือน ช่วยลดค่าครองชีพกลุ่มเปราะบาง

นายอนุชา บูรพชัยศรี รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรีฝ่ายการเมือง ปฏิบัติหน้าที่โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี แถลงว่า ครม.มีอนุมัติวงเงิน 3,191,740,000 ล้านบาท ให้การไฟฟ้านครหลวง

‘สรรพสามิต’ คาดยอดจองรถอีวีปีนี้พุ่ง 2.5 หมื่นคัน

“สรรพสามิต” ดึง “เบนซ์” โดดร่วมมาตรการสนับสนุนอีวี พร้อมแจงกำลังจีบ “เทสร่า” ร่วมด้วย คาดสิ้นปียอดจอง-ยอดขายยานยนต์ไฟฟ้าทะยาน 2.5 หมื่นคัน จ่อชง ครม. ของบ 1 หมื่นล้านบาท อัดฉีดส่วนลด 1.5 แสนบาทต่อคัน สำหรับอีวีที่เข้าร่วมมาตรการในปีงบประมาณ2567-2568

ปตท. กางแผนลงทุน 9.4 แสนล้าน รุกธุรกิจพลังงานหมุนเวียน - รถอีวี

ปตท.เปิดแผนลงทุนทั้งกลุ่ม 5 ปี 9.4 แสนล้านบาท รุกธุรกิจใหม่ วางแผนพัฒนาอีวีครบวงจร ตั้งเป้าปี 71 ผลิตรถอีวีได้ 5 หมื่นคัน พร้อมคาดผลประกอบการโตจากธุรกิจใหม่ 30% หวังสร้างผลตอบแทนคืนสู่สังคม

MEA ฝ่าดิจิทัลดิสรัปชัน เดินหน้าพัฒนาสู่สมาร์ทเอนเนอร์ยี

การระบาดของโควิด-19 นั้นได้ส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงไปทั่วโลก และยังเป็นตัวกระตุ้นให้การใช้ดิจิทัลมีบทบาทสำคัญมากขึ้น