เอกชนแนะรัฐหนุนประชาชนใช้อี 20 เป็นน้ำมันพื้นฐาน ยกเลิกแก๊สโซฮอล์ 91

สมาคมเอทานอลแนะรัฐหนุนประชาชนใช้อี 20 เป็นน้ำมันพื้นฐาน ยกเลิกแก๊สโซฮอล์ 91 ถ่างส่วนต่างราคา อี 20 กับโซฮอล์ 95 และปล่อยเอทานอลเป็นตลาดเสรี พร้อมเปลี่ยนกฎให้ผลิตเป็นเกรดอุตสาหกรรมได้ หวังเพิ่มการใช้เพิ่ม ช่วยประเทศลดนำเข้าน้ำมัน และช่วยเกษตรกรระยะยาว

1 ส.ค. 2565 – น.ส.สุรียส โควสุรัตน์ นายกสมาคมเอทานอลจากมันสำปะหลัง เปิดเผยว่า สมาคมฯ เตรียมหารือกระทรวงพลังงาน เพื่อเสนอให้รัฐกำหนดให้แก๊สโซฮอล์ อี 20 เป็นน้ำมันเกรดพื้นฐานในกลุ่มน้ำมันเบนซิน และให้ยกเลิกการใช้แก๊สโซฮอล์ 91 รวมทั้งเพิ่มส่วนต่างราคาแก๊สโซฮอล์ อี 20 กับแก๊สโซฮอล์ 95 มากขึ้น เพื่อกระตุ้นการใช้แก๊สโซฮอล์ อี 20 ทำให้ปริมาณการใช้เอทานอลในประเทศเพิ่มขึ้น จากปัจจุบันอยู่ที่ 4.5 ล้านลิตรต่อวัน เพิ่มเป็น 6-7 ล้านลิตรต่อวัน จะช่วยลดการนำเข้าน้ำมันจากต่างประเทศ และช่วยเหลือเกษตรในประเทศได้อย่างยั่งยืน

“ ปัจจุบันประเทศไทยมีโรงงานเอทานอลทั้งจากมันสำปะหลังและกากน้ำตาล (โมลาส) รวม 27 แห่ง กำลังการผลิตรวมอยู่ที่ประมาณ 7 ล้านลิตรต่อวัน หากรัฐมีนโยบายส่งเสริมการใช้แก๊สโซฮอล์ อี 20 เป็นน้ำมันพื้นฐานจะทำให้ปริมาณการใช้เอทานอลใกล้เคียงกับกำลังการผลิตที่มีอยู่ในปัจจุบัน ขณะเดียวกันยังลดการนำเข้าน้ำมันจากต่างประเทศ มีเงินช่วยเหลือเกษตรกรในประเทศด้วย ทำให้ประเทศไทยลดการพึ่งพาน้ำมันจากต่างประเทศที่ต้องนำเข้ามาผสม และสร้างเสถียรภาพความมั่นคงด้านพลังงานในช่วงราคาน้ำมันผันผวน”น.ส.สุรียส กล่าว

อย่างไรก็ตามขณะนี้ราคาเอทานอลอยู่ที่ 27.54 บาทต่อลิตร ใกล้เคียงกับราคาน้ำมันหน้าโรงกลั่นฯ เนื่องจากในช่วงนี้ราคาน้ำมันตลาดโลกปรับลดลง เทียบกับในช่วง 2 สัปดาห์ที่ผ่านมาที่ราคาน้ำมันดิบอยู่ที่ประมาณ 110 เหรียญสหรัฐต่อบาร์เรล ราคาน้ำมันหน้าโรงกลั่นจะอยู่ที่ 33 บาทต่อลิตร และสมาคมฯ ต้องการผลักดันให้ภาครัฐเปิดเสรีเอทานอลเป็นเกรดอุตสาหกรรม จากปัจจุบันเป็นเกรดเชื้อเพลิง หากรัฐอนุญาตเชื่อว่าโรงงานผลิตเอทานอลทั้ง 27 โรงจะมีความพร้อมเพื่อผลิตเอทานอลเกรดอุตสาหกรรมได้ ปัจจุบันกลุ่มเบนซินมีปริมาณการใช้รวม 30 ล้านลิตรต่อวัน แบ่งเป็นแก๊สโซฮอล์ อี 20 ประมาณ 5 ล้านลิตรต่อวัน แก๊สโซฮอล์ อี 85 ประมาณ 1 ล้านลิตรต่อวัน แก๊สโซฮอล์ 95 ประมาณ 5-7 แสนลิตรต่อวัน และที่เหลือเป็นแก๊สโซฮอล์ 91 และน้ำมันเบนซิน

“เอทานอลยังเป็นพลังงานสะอาด ช่วยลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ลดฝุ่นละออง เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ส่วนภาคเกษตรกรรม การสนับสนุนการใช้เอทานอล จะส่งผลให้มีการใช้ผลผลิตทางเกษตรในประเทศเพิ่มขึ้น โดยประเทศไทยมีพื้นที่ในการปลูกอ้อยและมันสำปะหลัง มากเป็นอันดับ 1 ของอาเซียน โดยในฤดูกาล 63/64 มีพื้นที่ปลูกอ้อยและมันสำปะหลัง คิดเป็น 14% ของพื้นที่เกษตรกรรม เป็นการเพาะปลูกมันสำปะหลัง 35.09 ล้านตัน คิดเป็นมูลค่า 80,000 ล้านบาท และการเพาะและการเพาะปลูกอ้อยปีละ 66.84 ล้านตัน คิดเป็นมูลค่า 67,000 ล้านบาท รวมแล้วสร้างเศรษฐกิจหมุนเวียนในประเทศด้วยเม็ดเงินมากกว่า 147,000 ล้านบาท การส่งเสริมการใช้ผลผลิตทางเกษตรภายในประเทศ จึงถือเป็นการกระจายรายได้ให้กับทั้งห่วงโซ่อุตสาหกรรม”น.ส.สุรียส กล่าว

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

แม่ค้าส้มตำสุดจะทน โดนพิษผงชูรสขึ้นราคา

แม่ค้าส้มตำ ยอมรับผงชูรสขึ้นราคากระทบลูกค้าแน่ แต่ที่ร้านยังคงราคาจำหน่ายเท่าเดิม  ขณะที่ลานมันเชื่อ ผงชูรสขึ้นราคา เพราะการปลูกมันที่ไม่ถูกต้องตามกรรมวิธี ส่งผลให้แป้งในหัวมันต่ำ-หัวฝ่อ

นายกฯ หารืออายิโนะโมโต๊ะพร้อมหนุนไทยเป็นศูนย์กลางสินค้าเกษตรและอาหาร

นายกฯ หารือบริษัท Ajinomoto เชื่อมั่นศักยภาพของไทย พร้อมลงทุนไทยต่อเนื่อง ร่วมสนับสนุนไทยสู่การเป็น Agriculture and Food Hub อย่างยั่งยืน

กรมการค้าต่างประเทศคุมเข้มคุณภาพมันเส้นนำเข้า-ส่งออก

กรมการค้าต่างประเทศ (คต.) ไม่แผ่ว เดินเครื่องคุมเข้มคุณภาพมันเส้นนำเข้า-ส่งออกต่อเนื่อง ล่าสุดพบผู้นำเข้ามันเส้นด้อยคุณภาพเพิ่มอีก 7 ราย รวมเป็น 23 ราย สั่งลงโทษทันที

นายกฯ ปลื้ม 5 สินค้าไทยยึดหัวหาดส่งออกเป็นอันดับ 1 ของโลก

โฆษกรัฐบาลเผย นายกฯ ยินดี 5 สินค้าไทยโดดเด่นครองส่วนแบ่งการค้าส่งออกสูงเป็นอันดับ 1 ในตลาดโลกในปี 2565 โดยทุเรียนมีส่วนแบ่งในตลาดโลกถึง 93% สะท้อนคุณภาพสินค้าไทย

จับตา 'ปาล์มน้ำมัน - ยางพารา' ความต้องการลด ฉุดเกษตรกรรายได้ตกในปีนี้

ศูนย์วิเคราะห์เศรษฐกิจ ทีทีบี หรือ ttb analytics คาดว่า ปี 2566 รายได้เกษตรกร 5 พืชเศรษฐกิจหลักของไทย จะลดลง 4.7% อยู่ที่ 8.33 แสนล้านบาท