'บีอีเอ็ม-ช.การช่าง-ITD’ ลุยประมูลสายสีส้ม ด้าน บีทีเอสปัดเข้าร่วม

‘บีอีเอ็ม’ ผนึก ‘ช.การช่าง’ โผล่รายแรกชิงประมูลสายสีส้ม ฟุ้งมีประสบการณ์ความรู้ในระบบรถไฟฟ้าใต้ดินมาเยอะ ด้าน’อิตาเลียนฯ’ จับมือเกาหลี ย้ำมั่นใจด้านประสบการณ์เดินรถ ด้าน’บีทีเอส’ลั่นไม่ร่วมประมูลรถไฟฟ้าสายสีส้มรอบสอง หลัง รฟม.ปรับเงื่อนไขกำหนดคุณสมบัติคัดผู้รับเหมา

27 ก.ค.2565-ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เมื่อ เวลาประมาณ 9.09 น. นายวิทูรย์ หทัยรัตนา รองกรรมการผู้จัดการปฏิบัติการและวิศวกรรมระบบราง บริษัท ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือ BEM นำทีมเดินทางมายื่นข้อเสนอประมูลโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงบางขุนนนท์ – มีนบุรี (สุวินทวงศ์) โดยยื่นข้อเสนอในนาม BEM มีผู้รับเหมางานโยธาคือ บริษัท ช.การช่าง จำกัด (มหาชน) มีเอกสารประกอบการยื่นข้อเสนอรวมกว่า 300 กล่อง

นายวิทูรย์ กล่าวว่า การยื่นซองข้อเสนอของบริษัทฯ ในครั้งนี้ โดยมีพันธมิตร คือ บริษัท ช.การช่าง จำกัด (มหาชน) ซึ่งเรามีมั่นใจและมีประสบการณ์ความรู้ในการทำงานในระบบรถไฟฟ้าใต้ดินเยอะ จากที่ผ่านมามีผลงานการพิสูจน์แล้ว เชื่อว่าโครงการที่ผ่านมา จะทำให้สายสีส้มสามารถดำเนินการได้ดียิ่งขึ้น

“เรามีความพร้อมอยู่แล้ว โดยเฉพาะในเรื่องของบุคลากร และงบประมาณในการลงทุนไว้แล้ว ส่วนกรณีที่มีการฟ้องร้องของโครงการฯ เป็นอีกประเด็น ส่วนกระบวนการการประมูลก็ยังเดินหน้าต่อ ส่วนหลักเกณฑ์ที่ การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) เคร่งครัดในเรื่งของเทคนิค ด้านอุโมง มองว่าทาง ช.การช่างฯ มีประสบการณ์ด้านการทำอุโมง เห็นได้จากผลงานโครงการรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน ซึ่งเรื่องนี้เรามีความมั่นใจมาก”นายวิทูรย์ กล่าว

นายวิทูรย์ กล่าวอีกว่า อย่างไรก็ตาม บริษัทฯยังโฟกัสโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้มเป็นหลัก ส่วนโครงการรถไฟฟ้าสายสีมม่วงใต้ ช่วง เตาปูน-ราษฎร์บูรณะ ที่มีการประมูลงานโยธาในช่วงที่ผ่านมา หลังจากนั้น จะดำเนินการเชื่อมต่อผู้ประกอบการเดินรถ (โอเปอเรเตอร์) ต่อไป

ในเวลาต่อมา เมื่อเวลา 10.25 น. นายประคิน อรุโณทอง รองประธานบริหาร สายงานธุรกิจก่อสร้างระบบขนส่งมวลชน บริษัท อิตาเลียนไทย ดีเวล๊อปเมนต์ จำกัด (มหาชน) หรือ ITD กล่าวว่า สำหรับการยื่นซองข้อเสนอ โครงการรถไฟฟ้าสายสีส้มในครั้งนี้ บริษัทฯ ได้ร่วมพันธมิตรกับ Incheon Transit Corporation บริษัทเดินรถจากประเทศเกาหลีใต้ สาเหตุการร่วมทุนในครั้งนี้ เนื่องจากที่ผ่านมาบริษัทฯ ได้มีการติดต่อกับบริษัทดังกล่าวไว้ก่อนหน้านี้แล้ว ซึ่งเป็นบริษัทฯ ที่มีประสบการณ์ด้านการเดินรถในเกาหลี สอดคล้องกับแนวทางการประมูลโครงการในครั้งที่ ที่บริษัทฯ จะยื่นข้อเสนอพอดี

“ส่วนการมายื่นซองในคร้งนี้ถือฤกษ์สะดวก และเราเชื่อว่าบริษัทเกาหลีเขามีประสบการณ์ด้านเทคโนโลยีค่อนข้างเยอะไม่ว่าจะเป็นเรื่องการเดินรถ หวังว่าเราจะเป็นหนึ่งในทางเลือกในกับ รฟม.พิจารณา ส่วนกรณีที่ รฟม.ตั้งหลักเกณฑ์เอกสารการประกาศประกวดราคา (ทีโออาร์) ด้านเทคนิค ค่อนข้างสูง นั้น มองว่าเรามีประสบการด้านงานอุโมง ซึ่งไม่น่าจะมีประเด็นอะไรที่กังวล เพราะเคยดำเนินการมาแล้ว  อย่างโครงการรถไฟฟ้่สายสีนำเงิน และสายสีส้มตะวันออก ช่วมีนบุรี (สุวินทวงศ์)-ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย ซึ่งยืนยันว่าการมาในครั้งนี้เราก็สู้เต็มที่” นายประคิน กล่าว

นายประคิน กล่าวว่า ส่วนกรณีข้อพิพาทในชั้นศาลของโครงการนี้ นั้น เราขอไม่ออกความคิดเห็น แต่ขอให้เป็นไปตามกะบวนการ เพราะไม่อยากก้าวล่วงอำนาจศาล โดยการประมูลในรอบที่ผ่านมา บริษัทฯ ไม่ได้เข้าร่วมการประมูล แต่ครั้งนี้ที่ตัดสินใจเข้าร่วมปะมูล เนื่องจากคิดว่าเรามีความพร้อมด้านการเดินรถ ที่มีบริษัทเกาหลีร่วมเป็นพาร์ทเนอร์

ด้านนายสุรพงษ์ เลาหะอัญญา กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บมจ.ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ (BTSC) ผู้ให้บริการรถไฟฟ้าบีทีเอส กล่าวว่าตามที่ รฟม.เปิดรับซองข้อเสนอเอกชนในโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงบางขุนนนท์ – มีนบุรี (สุวินทวงศ์) วันนี้ 27 ก.ค.กลุ่มบีทีเอสไม่ได้เข้าร่วมยื่นข้อเสนอดังกล่าว เนื่องจากหลังการศึกษารายละเอียดข้อกำหนดในเอกสารประกวดราคา (RFP) ฉบับใหม่ พบว่ามีเงื่อนไขแตกต่างไปจากเดิม และเป็นเงื่อนไขที่มีข้อกำหนดคุณสมบัติแบบเลือกผู้รับเหมา

อย่างไรก็ตามอีกทั้งในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมาบีทีเอสได้ยื่นคำร้องต่อศาลปกครองกลาง และเพื่อขอให้พิจารณาเงื่อนไขการประกวดราคารถไฟฟ้าสายสีส้มรอบใหม่นี้ ข้อกำหนดเงื่อนไขในสาระสำคัญเกี่ยวกับคุณสมบัติของผู้ยื่นข้อเสนอมีเจตนากีดกันบริษัทฯ ไม่ให้มีโอกาสเข้าแข่งขันราคาอย่างเป็นธรรม และยังเป็นการเอื้อประโยชน์ให้ผู้เสนอราคารายหนึ่งรายใดอย่างชัดเจนที่อาจเป็นความผิดตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดเกี่ยวกับการเสนอราคาต่อหน่วยงานของรัฐ พ.ศ.2542

สำหรับการเปิดรับซองข้อเสนอในวันที่ 27 ก.ค.นี้ นั้น การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) จะเปิดรับข้อเสนอตั้งแต่เวลา 9.00 – 15.00 น. หลังจากนั้นจะเปิดซองข้อเสนอในวันที่ 1 ส.ค.นี้ โดยคาดว่าจะสามารถลงนามสัญญาร่วมลงทุนได้ภายในปลายปี 2565 โดยมีข้อกำหนดผู้ยื่นข้อเสนอต้องได้รับคะแนนประเมินในแต่ละหมวดไม่น้อยกว่า 85 %และได้รับคะแนนการประเมินรวมทุกหมวดไม่น้อยกว่า90% ของคะแนนรวมทั้งหมด จึงจะถือว่าผ่านเกณฑ์การพิจารณาข้อเสนอซองที่ 2 และจะได้รับการพิจารณาข้อเสนอในซองที่ 3 ด้านการลงทุนและผลตอบแทน

ทั้งนี้ มีเอกชนที่ซื้อซองเอกสารและมีสิทธิในการยื่นข้อเสนอครั้งนี้รวม 14 ราย ดังนี้ 1. บริษัท ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ จำกัด (มหาชน)2. บริษัท ซิโน–ไทย เอ็นจีเนียริ่ง แอนด์ คอนสตรัคชั่น จำกัด (มหาชน) 3. บริษัท อิตาเลียนไทย ดีเวล๊อปเมนต์ จำกัด (มหาชน)4. บริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน)5. บริษัท ช.การช่าง จำกัด (มหาชน) 6. China Harbour Engineering Company Limited7. บริษัท บีทีเอส กรุ๊ป โฮลดิ้งส์ จำกัด (มหาชน) 8. โตคิว คอนสตรัคชั่น คัมพานี ลิมิเต็ด9. Incheon Transit Corporation10. บริษัท ยูนิค เอ็นจิเนียริ่ง แอนด์ คอนสตรัคชั่น จํากัด (มหาชน)11. บริษัท กัลฟ์ เอ็นเนอร์จี ดีเวลลอปเมนท์ จำกัด (มหาชน)12. RH International (Singapore) Corporation PTE. LTD.13. Kumagai Gumi Co., LTd. และ14. บริษัท ซีเมนต์ โมบิลิตี้ จำกัด

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

'ดร.สามารถ' แพร่บทความ บทเรียนสูญ 1.3 แสนล้าน รถไฟฟ้าสายสีส้ม ต้องมีผู้รับผิดชอบ

ดร.สามารถ ราชพลสิทธิ์ อดีตรองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ได้โพสต์เฟซบุ๊กในหัวข้อ รถไฟฟ้าสายสีส้ม "บทเรียนที่ต้องเรียน" มีเนื้อหาดังนี้