ค่าเงินบาทอ่อนค่าทะลุ 36.65 บาทแล้ว หนักสุดในรอบ 16 ปี จากแรงกดดันดอลลาร์แข็ง
17 ก.ค. 2565 – ผู้สื่อข่าว รายงานว่า ค่าเงินบาทเมื่อวันที่ 15 ก.ค. ที่ผ่านมา อ่อนค่าทะลุ 36.65 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐแล้ว โดยอยู่ที่ 36.675 บาท เป็นการอ่อนค่าสูงสุดในรอบ 16 ปี นับตั้งแต่ปี พ.ศ.2549 จากแรงกดดันดอลลาร์ที่แข็งค่ามาก หลังเงินเฟ้อสหรัฐออกมาเหนือกว่าที่ตลาดคาดไว้ ทำให้แทบทุกสินทรัพย์ถูกเทขาย เงินไหลเข้าดอลลาร์ ทำให้เงินบาทอ่อนค่ามาก ทำให้ตอนนี้แรงกดดันไปตกอยู่ที่ธนาคารแห่งประเทศไทย
ทั้งนี้ Krungthai GLOBAL MARKETS ธนาคารกรุงไทย มองแนวโน้มค่าเงินบาทยังผันผวนสูงในระยะนี้ และเสี่ยงอ่อนค่า ท่ามกลางปัจจัยกดดันจากการแข็งค่าของเงินเหรียญสหรัฐ รวมถึงความกังวลแนวโน้มทางการจีนอาจใช้มาตรการล็อกดาวน์เข้มงวด เพื่อควบคุมการระบาดโควิด-19 โดยแนวต้านใหม่ของเงินบาทจะเป็นโซน 36.70 บาทต่อดอลล่าร์สหรัฐดอลลาร์ยังทุบราคาทองคำโลกดิ่งลงเกือบ 30 ดอลลาร์ โดยสัญญาทองคำตลาดโคเม็กซ์ ส่งมอบเดือนสิงหาคม ร่วงลง 29.70 ดอลล่าร์ ปิดที่ 1,705.80 ดอลลาร์ต่อออนซ์ โดยดอลลาร์ที่แข็งค่าขึ้น ลดความน่าดึงดูดของ
สำหรับสาเหตุที่ค่าเงินบาทอ่อนค่าลงต่อเนื่องมาจาก
1.เงินดอลลาร์แข็งค่าอย่างต่อเนื่อง
2.เงินเฟ้อสหรัฐฯเดือนมิ.ย.ทะลุ 9.1% และเงินเฟ้อทั่วโลกอยู่ระดับสูง หลังเกิดสงครามการค้ารัสเซีย-ยูเครน
3.ตลาดคาดการณ์ว่าธนาคารกลางสหรัฐหรือเฟดจะปรับขึ้นดอกเบี้ยแรงเพื่อสกัดเงินเฟ้อ
4.นักลงทุนกังวลว่าเศรษฐกิจสหรัฐฯจะเกิดภาวะถดถอยหากเฟดขึ้นดอกเบี้ยแรง
5.ภาวะเศรษฐกิจยุโรปเปราะบางทำให้ค่าเงินยูโรอ่อนค่าลงหากเทียบกับดอลลาร์สหรัฐ กดให้ค่าเงินในภูมิภาคอ่อนค่าลงตามไปด้วย
6.ฟันด์โฟลว์ต่างชาติไหลออก โดยนักลงทุนต่างชาติเทขายหุ้นไทย ซึ่งตั้งแต่ต้นเดือนก.ค.-ปัจจุบันต่างชาติขายสุทธิหุ้นไทย 540 ล้านบาทและซื้อสุทธิพันธบัตร 750 ล้านบาท
7.การขาดดุลบัญชีเดินสะพัด ที่ถูกกดดันจากราคาสินค้าพลังงานที่อยู่ในระดับสูง รวมถึงปัญหา Supply Chain Disruption ขณะที่การท่องเที่ยวจากต่างชาติเพิ่งจะเริ่มเร่งตัวดีขึ้น
พร้อมกันนี้ ในวันที่ 16 กรกฎาคม 2565 ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) รายงานตัวเลขทุนสำรองทางการระหว่างประเทศรายสัปดาห์ ณ วันที่ 8 กรกฎาคม 2565 พบว่า หลังเงินบาทอ่อนค่าแตะ 36.75 บาทต่อดอลลาร์ ระดับทุนสำรองทางระหว่างประเทศทั้งสิ้น 2.18 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐ ลดลง 3 พันล้านดอลลาร์สหรัฐจากสัปดาห์ก่อน(1 ก.ค.65) และเป็นการลดลงต่ำกว่าระดับ 2.2 แสนล้านบาทเป็นครั้งแรกในรอบ 3 ปี
อย่างไรก็ตาม ระดับทุนสำรองของไทย ณ สิ้นปี 2564 เคยสูงที่ระดับ 2.42 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐ ก่อนที่จะปรับลดลง โดยล่าสุด ณ วันที่ 3 มิ.ย. 65 เงินทุนสำรองทางการเคยอยู่ที่ระดับ 2.29 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐ