“ธปท.” แจงเศรษฐกิจไทยฟื้นช้ากว่าเพื่อน ชี้พิษโควิด-19 ซัดท่องเที่ยวสุดสาหัส คาดฟื้นตัวใกล้ระดับก่อนไวรัสปะทุได้ช่วงไตรมาส 1/2566 รับขึ้นดอกเบี้ยกระทบกลุ่มเปราะบางอ่วม แต่มองผลเสียจากเงินเฟ้อหนักกว่า ย้ำบาทอ่อนจากปัจจัยภายนอก
11 ก.ค. 2565 – นายเศรษฐพุฒิ สุทธิวาทนฤพุฒิ ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) กล่าวในงานสัมมนา “ก้าวใหม่เศรษบกิจการเงินภาคใต้… ปรับกระบวนทัพรับกระแสโลก” ในหัวข้อ “ชีพจรเศรษฐกิจการเงินภาคใต้และความท้าทายที่ต้องก้าวข้าม” ว่า ประเทศไทยเจอผลกระทบจากโควิด-19 ร้ายแรงกว่าประเทศอื่นในภูมิภาค ส่งผลให้การฟื้นตัวของเศรษฐกิจไทยอาจจะช้ากว่าประเทศอื่น โดยการฟื้นตัวใกล้เคียงช่วงก่อนโควิด-19 จะอยู่ในช่วงไตรมาส 1/2566 เนื่องจากโควิด-19 กระทบกับจุดเปราะบางของไทย นั่นคือ ภาคการท่องเที่ยวซึ่งเศรษฐกิจไทยพึ่งพาส่วนนี้อย่างมาก โดยเฉพาะการท่องเที่ยวในภาคใต้ที่อาจจะฟื้นตัวช้ากว่าเศรษฐกิจประเทศ เพราะเศรษฐกิจภาคใต้พึ่งพาการท่องเที่ยวสูงเป็นพิเศษ
“ตอนนี้ต้องบอกว่าหลายอย่างดีขึ้น แม้ว่าจะมีบางความเสี่ยงที่เพิ่มขึ้นก็ตาม สิ่งแรกที่เห็นคือ การฟื้นตัวของเศรษฐกิจที่อาจจะล่าช้า ไม่ได้เร็วอย่างที่อยากจะเห็น แต่มันก็มา เห็นสัญญาณการฟื้นตัวที่ต่อเนื่อง สะท้อนจากตัวเลขจีดีพีในไตรมาส 1/2565 ขณะที่ไตรมาส 2/2565 ก็น่าจะออกมาดี จากการบริโภคในประเทศที่โตต่อเนื่อง กิจกรรมทางเศรษฐกิจดีขึ้นกว่าแต่ก่อน จากการผ่อนคลายมาตรการต่าง ๆ รายได้คนก็ดีขึ้น เมื่อเทียบกับปีก่อนที่ติดลบเยอะ แม้ว่ารายได้ที่โตขึ้นจากมาจากฐานต่ำ แต่เทรนด์ก็ดีขึ้น ช่วยให้การฟื้นตัวทางเศรษฐกิจด้านการบริโภคดีขึ้น โดยการฟื้นตัวขึ้นดังกล่าว ทำให้ ธปท. ปรับคาดการณ์จีดีพีในปีนี้โตที่ 3.3% และปีหน้า 4.2%” นายเศรษฐพุฒิ กล่าว
นายเศรษฐพุฒิ กล่าวอีกว่า ปัจจัยเสี่ยงที่ไม่ค่อยดีกับการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจ คืออัตราเงินเฟ้อที่สูงขึ้น โดยล่าสุดเดือน มิ.ย. อยู่ที่ 7.66% มาจากปัญหาสงครามของรัสเซียและยูเครน ส่งผลให้เงินเฟ้อวิ่งขึ้นไปสูง และมีผลข้างเคียงกับระบบเศรษฐกิจค่อนข้างเยอะ ทำให้เงินเฟ้อกลายเป็นโจทย์ใหญ่ของเศรษฐกิจไทย ดังนั้นบริบทของนโยบายการเงินในปัจจุบันจึงต้องเปลี่ยนมาให้ความสำคัญในการดูแลสถานการณ์เงินเฟ้อ จากช่วงโควิด-19 ที่นโยบายการเงินต้องให้ความสำคัญกับการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจ โดยกรอบเงินเฟ้อของไทยเป็นแบบยืดหยุ่นที่ 1-3% หมายความว่าเงินเฟ้อไม่ได้อยู่ในกรอบตลอดเวลา บางช่วงอาจจะหลุดกรอบไปบ้าง แต่ในระยะปานกลางถึงระยะยาวจะยังอยู่ภายใต้กรอบ
ทั้งนี้ มองว่า หน้าที่หลักของ ธปท. คือต้องทำให้มั่นใจว่าเครื่องยนต์เงินเฟ้อจะไม่ติด ทำให้คนคาดการณ์ว่าเงินเฟ้อจะไม่ไปต่อ เพราะถ้าคนคาดการณ์ว่าเงินเฟ้อจะไปต่อเนื่อง ทำให้เครื่องยนต์เงินเฟ้อติด เงินเฟ้อก็จะไปต่อเนื่อง ไม่ใช่ขึ้นแค่ช่วงเดียว และโอกาสจะกลับเข้ากรอบก็จะน้อย หากเงินเฟ้อหลุดไป การดึงกลับมาจะเหนื่อยมาก ซึ่งกลไกปกติ คือ การปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในยามจำเป็นเพื่อดูแลกรอบเงินเฟ้อ นี่เป็นเครื่องมือที่จะใช้ในการดำเนินการตรงนี้
“ขอย้ำว่าการดำเนินนโยบายการเงินในการดูแลอัตราดอกเบี้ย บริบทของ ธปท. ในปัจจุบันต่างกันโดยสิ้นเชิงกับบริบทของธนาคารกลางในประเทศที่พัฒนาแล้วอย่างสหรัฐฯ หรือยุโรป เพราะเศรษฐกิจของเขาฟื้นตัวเร็วและแรง ส่วนของไทยเศรษฐกิจเพิ่งเริ่มฟื้น โจทย์ของเราคือทำอย่างไรให้การฟื้นตัวไปได้ต่อเนื่อง ไม่สะดุด ดังนั้นการดำเนินนโยบายการเงินจึงต้องทำอย่างค่อยเป็นค่อยไป เราแค่ถอนคันเร่งน้อยลงจากที่ผ่านมาเราใช้นโยบายการเงินแบบผ่อนปรน ทำให้เราต้องถอนคันเร่ง ไม่ใช่เหยียบเบรก เพื่อให้เศรษฐกิจเข้าสู่ภาวะปกติ แต่ถ้านโยบายการเงินไม่มีการปรับบริบทเลย ผลข้างเคียงต่าง ๆ ที่เสียหายจะเกิดขึ้น เช่น ถ้าไม่ปรับนโยบายการเงิน ไม่ปรับดอกเบี้ยให้เข้าใกล้ภาวะปกติมากขึ้น เงินเฟ้อก็จะไป คนที่จะเดือดร้อนคือกลุ่มเปราะบาง ซึ่งผมไม่เถียงว่าไทยหากมีการปรับดอกเบี้ยขึ้น จะกระทบทั้งครัวเรือนและภาคธุรกิจ เพราะบ้านเราครัวเรือนหนี้สูง แต่ถ้าเงินเฟ้อเพิ่มกระทบเขาหนักกว่า ค่าครองชีพเพิ่มผลกระทบครัวเรือนหนักกว่าผลกระทบจากดอกเบี้ยและภาระหนี้ขึ้น” นายเศรษฐพุฒิ กล่าว
นายเศรษฐพุฒิ กล่าวอีกว่า ตอนนี้เงินบาทอ่อนค่าสุดในรอบ 7 ปี จึงเป็นข่าวและเป็นกระแสพอสมควร แต่การอ่อนค่าของเงินบาทหลัก ๆ มาจากปัจจัยภายนอก โดยเฉพาะการแข็งค่าของเงินดอลล่าร์ ซึ่งมีผลทำให้เงินบาทอ่อนค่าลง แต่เป็นการอ่อนค่าในระดับกลาง ๆ เมื่อเทียบกับเงินสกุลอื่น เช่น เยน วอน และเปโซ เป็นต้น ที่มีทิศทางการอ่อนค่ามากกว่าเงินบาท
“คำถามว่าภาพรวมเงินบาทอ่อนค่าผิดปกติ หลุด หรือผิดเพี้ยนจากชาวบ้านโดยสิ้นเชิงหรือไม่ คำตอบก็คือ ไม่! เงินบาทอ่อนค่าอยู่ในระดับกลาง ๆ ค่อนไปทางสูงด้วยซ้ำ โดยดอลล่าร์แข็งค่าประมาณ 11% ขณะที่เงินบาทอ่อนค่าประมาณ 7% บาทไม่ได้อ่อนเท่าเงินดอลล่าร์แข็ง สะท้อนว่ามันถูกขับเคลื่อนจากดอลล่าร์เป็นหลัก ทิศทางเป็นไปตามกลไกตลาด ดอลล่าร์แข็งเมื่อไหร่ แนวโน้มบาทก็จะอ่อนค่า ถ้าดอลล่าร์อ่อน แนวโน้มบาทก็จะแข็งค่า และ ธปท. ก็มีข้อจำกัดในการที่จะเข้าไปดำเนินการตรงนี้ แต่สิ่งที่ไม่อยากเห็น คือ การปรับที่เร็วเกินไป เพราะผู้ประกอบการในภาคนำเข้าและส่งออกจะลำบากในการปรับตัว เพราะบ้านเราสัดส่วนของผู้ประกอบการที่มีการบริหารความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยนอยู่ในระดับต่ำ โดยเฉพาะรายเล็ก” นายเศรษฐพุฒิ กล่าว
นอกจากนี้ ธปท. ยืนยันว่าประเด็นหลักที่เป็นตัวขับเคลื่อนทำให้เงินบาทอ่อนค่า ยังมาจากการแข็งค่าของเงินดอลล่าร์ โดยยังไม่เห็นเรื่องเงินทุนเคลื่อนย้ายที่มากมายมหาศาล ไม่ได้เห็นอะไรผิดปกติ หลัก ๆ เป็นเรื่องของค่าเงินดอลล่าร์ที่แข็งค่าขึ้น จนส่งผลให้เงินบาทอ่อนลง และมองไปในระยะข้างหน้าก็เป็นไปได้ที่ค่าเงินดอลล่าร์อาจจะกลับมาอ่อนค่าอีก หากตัวเลขเศรษฐกิจสหรัฐฯ เริ่มเปลี่ยน และธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ดำเนินการนอกเหนือจากที่ตลาดคาดการณ์
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
'เพื่อไทย' ไม่ฟังเสียงต้าน! ดันทุรังเข็น 'กิตติรัตน์' นั่งปธ.บอร์ดแบงก์ชาติ
รศ.หริรักษ์ สูตะบุตร อดีตรองอธิการบดีฝ่ายบริหารบุคคล มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กว่า เป็นที่รับรู้กันโดยทั่วไปว่า รัฐบาลที่มาจากพรรคเพื่อไทยตั้งแต่รัฐบาลนายเศรษฐา ทวีสิน
รมว.คลังนัดแบงก์ชาติถกกรอบเงินเฟ้อบ่ายนี้
รายงานข่าวระบุว่า ช่วงบ่ายวันนี้ นายพิชัย ชุณหวชิร รองนายกรัฐมนตรี และรมว.คลัง มีนัดหมายกับ นายเศรษฐพุฒิ สุทธิวาทนฤพุฒิ
ไทยพาณิชย์ปรับลดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้สูงสุด 0.25% เริ่ม 1 พ.ย.
ธนาคารไทยพาณิชย์ ประกาศปรับลดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้สูงสุด 0.25% ต่อปี เพื่อให้สอดคล้องกับทิศทางการปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายของคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.)
เวิลด์แบงก์คาดจีดีพีไทยปี 67 โต 2.4%
ธนาคารโลก (World Bank) คงคาดการณ์อัตราการเติบโตของเศรษฐกิจ (GDP) ไทยในปี 2567 จะอยู่ที่ 2.4% เร่งตัวขึ้นจาก 1.9% ในปี 66
'พิชัย' จ่อคุย 'ผู้ว่าแบงก์ชาติ' หลายเรื่อง
ที่ทำเนียบรัฐบาล นายพิชัย ชุณหวชิร รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง กล่าวถึงกรณีการนัดหารือกั