‘คลัง’ ลุยเตือน 5 อันดับภัยการเงินแก๊งคอลเซ็นเตอร์-แชร์ลูกโซ่ป่วน

‘คลัง’ ลุยให้สร้างความรู้-ความเข้าใจ เรื่องการคุ้มครองเงินฝากและการคุ้มครองผู้ใช้บริการทางการเงิน เดินหน้าเตือน 5 อันดับภัยทางการเงิน ทั้งแก๊งคอลเซ็นเตอร์ การหลอกลวงผ่านโลกออนไลน์ แชร์ลูกโซ่ เงินกู้นอกระบบ และการรับจ้างเปิดบัญชี พร้อมแนะวิธีป้องกัน-รับมือ สามารถร้องเรียน ธปท. โดยตรงได้ที่สายด่วน 1213

7 ก.ค. 2565 – นายพรชัย ฐีระเวช ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) เปิดเผยผลการสัมมนาวิชาการสร้างความรู้ความเข้าใจ เรื่องการคุ้มครองเงินฝากและการคุ้มครองผู้ใช้บริการทางการเงิน หัวข้อ “คุ้มครองการเงินไทยในยุค Next Normal” ครั้งที่ 2/2565 ว่า วัตถุประสงค์เพื่อสร้างความรู้ ความเข้าใจ และสร้างความมั่นใจในประเด็นการคุ้มครองผู้ใช้บริการทางการเงิน ทั้งในด้านการคุ้มครองเงินฝาก การตรวจสอบข้อมูลเครดิต การคุ้มครองผู้ใช้บริการทางการเงิน และผลิตภัณฑ์การลงทุน เพื่อให้กลุ่มเป้าหมายสามารถบริหารจัดการทางการเงินได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด

สำหรับสาระสำคัญของการสัมมนา ประกอบด้วย1. นโยบายการคุ้มครองเงินฝากในภาพรวม อำนาจหน้าที่ พันธกิจ บทบาทของสถาบันคุ้มครองเงินฝาก (สคฝ.) ในการดำเนินนโยบายด้านการคุ้มครองเงินฝาก ผลิตภัณฑ์ที่ได้รับความคุ้มครอง สถานการณ์ภาพรวมของธนาคารพาณิชย์ไทย และในการจ่ายคืนเงินฝาก เป็นต้น โดย สคฝ. ซึ่งรับข้อมูลผู้ฝากเงินจากสถาบันการเงินที่อยู่ในความคุ้มครองจะจ่ายคืนผ่านทางพร้อมเพย์และเช็คทางไปรษณีย์ตามที่อยู่ในบัตรประชาชนให้แก่ผู้ฝาก

“ประชาชนควรผูกพร้อมเพย์ผ่านทางหมายเลขบัตรประชาชนเท่านั้น ซึ่งการจ่ายเงินผ่านทางพร้อมเพย์จะทำให้ได้รับเงินคืนรวดเร็วกว่า ทั้งนี้ หากมีเงินฝากเกิน 1 ล้านบาท สามารถแบ่งเงินส่วนที่เกินจาก 1 ล้านบาท ไปลงทุนในสินทรัพย์ต่าง ๆ เช่น ตราสาร โลหะมีค่า กองทุนรวม หรือนำไปฝากไว้ต่างธนาคาร เป็นต้น อย่างไรก็ตาม ปัจจุบันผลประกอบการธนาคารพาณิชย์อยู่ในเกณฑ์ที่มั่นคง จึงสามารถฝากไว้ในธนาคารเดียวกันได้” นายพรชัย กล่าว

2.การดำเนินงานและกลไกการกำกับดูแลของ บริษัท ข้อมูลเครดิตแห่งชาติ จำกัด โดยข้อมูลเครดิตที่จัดเก็บไว้ในฐานข้อมูลมี 2 ส่วน ประกอบด้วย ข้อมูลที่บ่งชี้ตัวตนของลูกค้า และข้อมูลเกี่ยวกับสินเชื่อที่ได้รับอนุมัติและประวัติการชำระสินเชื่อ โดยเก็บข้อมูลย้อนหลังไม่เกิน 3 ปี พร้อมทั้งแนะนำวิธีการตรวจสอบเครดิตบูโรด้วยตัวเองผ่านทางออนไลน์ เช่น แอปพลิเคชัน ‘‘ทางรัฐ’’ โมบายแอปธนาคาร หรือสามารถตรวจได้ด้วยตัวเองที่ตู้ตรวจเครดิตบูโร (ตู้คีออส) ส่วนกรณีรายงานข้อมูลเครดิตไม่ถูกต้อง สามารถติดต่อสถาบันการเงินที่นำส่งข้อมูล หรือ บริษัท ข้อมูลเครดิตแห่งชาติ จำกัด เพื่อประสานงานกับสถาบันการเงินที่นำส่งข้อมูลให้ต่อไป

3.การคุ้มครองผู้ใช้บริการทางการเงิน ซึ่งเกี่ยวกับบทบาทหน้าที่ของธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ในการดูแลความมั่นคงของระบบสถาบันการเงินและกระบวนการคุ้มครองผู้ใช้บริการทางการเงิน

ทั้งนี้ ภัยทางการเงินสูงสุด 5 อันดับแรก ได้แก่ กลโกงทางโทรศัพท์ในรูปแบบแก๊งคอลเซ็นเตอร์ การหลอกลวงผ่านโลกออนไลน์ การหลอกลวงให้ลงทุนในรูปแบบแชร์ลูกโซ่ เงินกู้นอกระบบ และการรับจ้างเปิดบัญชี พร้อมทั้งได้แนะนำวิธีป้องกันและรับมือกับภัยทางการเงินดังกล่าว เช่น การเช็คตัวตนและหน่วยงานโดยถามถึงหลักฐาน การปรึกษาหาคำแนะนำจากหน่วยงานหรือสถาบันการเงิน การติดต่อธนาคารเพื่อขอระงับธุรกรรม การปฏิเสธหรือร้องเรียนสถาบันการเงินเมื่อถูกบังคับให้ทำบัตรเอทีเอ็มพ่วงกับการขายประกัน เป็นต้น รวมทั้งสามารถร้องเรียน ธปท. โดยตรงได้ที่สายด่วน 1213

4. การลงทุนเพื่อความมั่นคงทางการเงิน เกี่ยวกับอำนาจหน้าที่ บทบาทของสำนักงานกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) ตลาดทุนไทยในภาพรวม ชี้ให้เห็นถึงความสำคัญของการลงทุน และหลักการเริ่มลงทุนด้วยหลัก 3 รู้ ได้แก่ 1. รู้เรา รู้ว่ารับความเสี่ยงจากการลงทุนได้ในระดับใด รู้เป้าหมายการเงิน 2. รู้เขา รู้จักผลิตภัณฑ์ที่จะเข้าไปลงทุนว่ามีการจ่ายผลตอบแทนและความเสี่ยงระดับใด และ 3. รู้ระวัง รู้จักวิธีปกป้องเงินออมจากภัยการเงิน และกลโกงต่าง ๆ เช่น แชร์ลูกโซ่ กลโกงสร้างโปรไฟล์ปลอมหลอกให้โอนเงิน การล้มกระดานซึ่งเป็นกลโกงที่พบได้บ่อยในสินทรัพย์ดิจิทัลโดยหลอกให้เหยื่อมาลงทุนและถอนเงินออกจนหมด กลโกงเว็บไซต์ปลอม กลโกงหลอกคลิกลิงก์ เป็นต้น โดยการลงทุนในทรัพย์สิน ควรกระจายความเสี่ยง เลือกลงทุนให้มีความหลากหลาย ไม่ทุ่มเทการลงทุนในทรัพย์สินประเภทเดียว รวมถึงต้องทราบว่าตนเองสามารถรับความเสี่ยงได้มากเพียงใด

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ธปท.จับตาแจกเงินเฟส2-3

“คลัง” ฟุ้งเศรษฐกิจไทยเดือน พ.ย.โตต่อเนื่อง อานิสงส์ส่งออก-ท่องเที่ยวหนุนเต็มพิกัด 

'คลัง' ยัน 'เศรษฐา-พิชัย' ไม่ได้ทำผิด พ.ร.บ. วินัยการเงินการคลังฯ

นายพรชัย ฐีระเวช ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง ในฐานะโฆษกกระทรวงการคลัง ขอชี้แจงกรณีข้อกล่าวหารัฐบาลปล่อยกู้โครงการสินเชื่อ IGNITE THAILAND และโครงการสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำ (สินเชื่อซอฟท์โลน) โดยใช้พระราชบัญญัติวินัยการเงินการคลังแห่งรัฐ พ.ศ. 2561 (พ.ร.บ.วินัยการเงินการคลังฯ) สองมาตรฐาน ถือเป็นการกระทำที่ผิดกฎหมาย

'คลัง' คลอดใบอนุญาตประกอบธุรกิจธนาคารพาณิชย์ไร้สาขา

ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการขอใบอนุญาตและการออกใบอนุญาตประกอบธุรกิจธนาคารพาณิชย์ไร้สาขา (Virtual Bank)

คลังโชว์ตัวเลขไตรมาส 1 รายได้ส่งคลังทะลุ 6.22 แสนล้าน

“คลัง” กางตัวเลขฐานะไตรมาส 1 ปีงบ 2567 รายได้นำส่งคลัง 6.22 แสนล้านบาท แผ่วกว่าช่วงเดียวกันปีก่อน 1.68 หมื่นล้านบาท โชว์เบิกจ่าย 9.63 แสนล้านบาท กู้ชดเชยขาดดุล 2 หมื่นล้านบาท ดันยอดเงินคงคลัง ณ สิ้นเดือน ธ.ค. 2566 แตะ 2.09 แสนล้านบาท

'คลัง' โอดเศรษฐกิจ ธ.ค.66 ชะลอตัวกำลังซื้อทรุด

“คลัง” โอดเศรษฐกิจไทยเดือน ธ.ค. 2566 ชะลอตัว หลังดัชนีอุตสาหกรรมดิ่ง จากกำลังซื้อประชาชนยังไม่ฟื้นตัวเต็มที่ การบริโภค-ลงทุนเอกชนชะลอ ปลื้มส่งออกโต 4.7% ขยายตัวต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 5

‘คลัง’ รับมึนเอกสารหลุดสั่งทำหนังสือชี้แจง ชี้จีดีพีไทยปีนี้โตแค่ 2.8%

“คลัง” ยันเศรษฐกิจไทยปี 2566 โตจริงที่ 1.8% แจงไตรมาส 4 แผ่วสุดที่ 1.4% ก่อนทยอยฟื้นตัวปี 2567 ที่ 2.8% รับมึนเคสเอกสารหลุด ระบุไม่รู้หลุดได้อย่างไร ด้าน “ปลัดคลัง” สั่งทำหนังสือชี้แจงข้อเท็จจริง