'พาณิชย์' ผนึกแพลตฟอร์มยักษ์จัดการงานละเมิดลิขสิทธิ์

“พาณิชย์”เดินหน้าแก้ไขกฎหมายลิขสิทธิ์ เปิดทางเจ้าของลิขสิทธิ์แจ้งผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต นำงานละเมิดลิขสิทธิ์ออกจากระบบได้ทันที ไม่ต้องพึ่งกระบวนการทางศาล เพื่อแก้ปัญหาละเมิดออนไลน์ พร้อมเพิ่มบทลงโทษ

3 พ.ย. 2564 นายสินิตย์ เลิศไกร รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยว่า กระทรวงพาณิชย์ได้เดินหน้าปรับปรุงกฎหมายลิขสิทธิ์ เพื่อแก้ไขปัญหาการละเมิดลิขสิทธิ์บนอินเทอร์เน็ตได้อย่างรวดเร็ว โดยได้ปรับให้เจ้าของลิขสิทธิ์ใช้ช่องทางความร่วมมือกับผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต เช่น Facebook YouTube นำงานละเมิดลิขสิทธิ์ออกจากระบบทันทีเมื่อได้รับการแจ้งเตือน โดยไม่ต้องผ่านกระบวนการทางศาล ซึ่งมาตรการที่แก้ไขดังกล่าวจะช่วยให้สามารถระงับการละเมิดลิขสิทธิ์บนสื่อออนไลน์ได้อย่างทันท่วงที

“กฎหมายลิขสิทธิ์ในปัจจุบัน ยังไม่สามารถแก้ไขปัญหาการละเมิดลิขสิทธิ์บนอินเทอร์เน็ตได้อย่างรวดเร็วเพียงพอ เพราะหากพบการละเมิดลิขสิทธิ์บนสื่อออนไลน์ ต้องใช้กระบวนการทางศาล เพื่อระงับการเผยแพร่ และยังไม่มีบทกำหนดโทษแก่ผู้ผลิต ผู้ขายอุปกรณ์ที่ทำขึ้นเพื่อการละเมิดลิขสิทธิ์ แต่กฎหมายใหม่ ได้ปิดช่องว่างตรงนี้ และมั่นใจว่าจะดูแลปัญหาการละเมิดลิขสิทธิ์ได้ดีขึ้น โดยล่าสุดร่างกฎหมายดังกล่าวได้ผ่านการพิจารณาในชั้นคณะกรรมาธิการวิสามัญแล้ว และกำลังนำเข้าสู่ชั้นการพิจารณาของสภาผู้แทนราษฎรในวาระที่ 2 และ 3 ต่อไป”นายสินิตย์กล่าว

ทั้งนี้ การปรับปรุงแก้ไขกฎหมายลิขสิทธิ์ดังกล่าว ยังเป็นการรองรับการเข้าเป็นภาคีความตกลงสนธิสัญญาว่าด้วยลิขสิทธิ์ขององค์การทรัพย์สินทางปัญญาโลก (WCT) ที่เกี่ยวกับการคุ้มครองงานลิขสิทธิ์บนอินเทอร์เน็ต ส่งเสริมให้เกิดการสร้างสรรค์ผลงานลิขสิทธิ์ใหม่ ๆ โดยเฉพาะในอุตสาหกรรมดิจิทัลคอนเทนต์ที่ไทยมีศักยภาพ และช่วยดึงดูดให้นักลงทุนต่างประเทศมาลงทุนในอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องกับลิขสิทธิ์ในประเทศไทยมากขึ้น อีกทั้ง คาดหวังว่าจะส่งผลเชิงบวกที่จะทำให้ไทยหลุดจากบัญชีประเทศที่ต้องจับตามอง (WL) ภายใต้กฎหมายการค้าสหรัฐฯ มาตรา 301 พิเศษ (Special 301) ในการทบทวนรายงานประจำปี 2565

นายเกียรติ สิทธีอมร สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ พรรคประชาธิปัตย์ ในฐานะประธานคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่างพ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ (ฉบับที่. …) พ.ศ. … สภาผู้แทนราษฎร กล่าวว่า การแก้ไขปรับปรุงพ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ในครั้งนี้ ได้ทบทวนปัญหาที่เกิดขึ้นในการบังคับใช้ทั้งหมด มีการปรับปรุงบทบัญญัติของกฎหมายให้ทันสมัย สอดคล้องกับกติกาสากล การเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยี รวมทั้งพฤติกรรมของผู้ประกอบการและผู้บริโภคที่เปลี่ยนไป โดยเนื้อหาที่เป็นหลักเกณฑ์สำคัญ ได้มีการระบุให้ชัดเจนในตัวกฎหมาย แทนที่จะกำหนดอยู่ในกฎกระทรวงหรือประกาศกระทรวง

สำหรับการปรับปรุงที่เป็นสาระสำคัญ เช่น การแจ้งเตือนและเอาออก (Notice and Takedown) การกำหนดนิยามมาตรการทางเทคโนโลยีให้ชัดเจน เพิ่มบทลงโทษให้รวมถึงผู้ผลิตอุปกรณ์ที่ละเมิดมาตรการทางเทคโนโลยี เป็นต้น

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

DITP แนะเทรนด์แฟชั่นสิงคโปร์ ปี 67 ก่อนวางแผนผลิตสินค้าส่งออกไปขาย

กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ (DITP) เผยเทรนด์แฟชั่นสิงคโปร์ ปี 67 ผู้บริโภคสนใจสินค้าทำจากวัสดุเหลือใช้ แนวสตรีท สินค้าไม่ระบุเพศ ผ้าโปร่งสีขาว กางเกงยีนส์เอาต่ำ-สูง ผ้าลายดอก กระเป๋าทำจากวัสดุรีไซเคิล แนะผู้ส่งออกไทยศึกษาและวางแผนผลิตสินค้าไปขาย

ดีอี เผยศาลมีคำสั่งปิด ‘ลอตเตอรี่พลัส’ วันนี้

นายประเสริฐ จันทรรวงทอง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดีอี) กล่าวว่า วานนี้ (16 พฤษภาคม 2567 ) กระทรวงฯได้มีหนังสือขอปิดกั้นเว็บไซต์ "ลอตเตอรี่พลัส"

'พี่อ้วน' มีเงื่อนไข! หากต้องส่งข้าว 10 ปีให้กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ตรวจ

นายภูมิธรรม เวชยชัย รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ กล่าวภายหลังประชุมคณะรัฐมนตรีอย่างเป็นทางการนอกสถานที่ หรือ ครม.สัญจร ถึงการส่งหนังสือไปถึงกระทรวงสาธารณสุข เพื่อ

ข้องใจข้าว 10 ปีกินได้ สารตั้งต้นเอาคนหนีคุกกลับประเทศ?

ดร.เสรี วงษ์มณฑา นักวิชาการด้านการตลาดและการสื่อสารโพสต์ Facebook ว่า อาจารย์เคมีนำข้าว 10 ปีไปทำการพิสูจน์ตามหลักวิชาการ ได้ผลออกมาบอกว่าข้าว 10 ปี

คิดสั้นได้ไม่คุ้มเสีย! นำข้าวค้างโกดัง 10 ปี ส่งขายต่างประเทศ

นายชาญชัย อิสระเสนารักษ์  อดีตสส.นครนายก พรรคประชาธิปัตย์ (ปชป.)กล่าวถึงกรณีข้าวหอมมะลิเก่าค้างโกดังโครงการรับจำนำข้าว